Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

ระบบ Automations VS. Triggers – แตกต่างกันอย่างไร?

หากเราพูดถึงฟังก์ชัน 2 ฟังก์ชันที่มีอยู่ใน Zendesk Support อันได้แก่ Automations และ Triggers ว่าทั้งสองฟังก์ชันนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร? และควรใช้เมื่อไหร่? เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะขอจำแนกความแตกต่างในการทำงานหลัก ๆ ออกเป็น 2 ด้าน อันได้แก่ Automations ทำงานเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลา (Time based) Triggers ทำงานเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำที่เกิด (Action based) 1. Automations Automations ภายใน Zendesk Support นั้นใช้พื้นฐานของเวลาเป็นหลัก คุณสามารถใช้มันเมื่อคุณต้องการให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลาที่คุณได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ให้ครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว automations ค่อยทำงาน สำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Automations แบบง่าย ๆ แนะนำให้คุณทำการระบุข้อกำหนดด้านการบริการขององค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเวลาโดยเฉพาะเจาะจงในขั้นตอนต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น องค์กรของคุณต้องการให้ระบบทำการส่งแบบสำรวจความพึงพอใจไปให้ลูกค้าเมื่อครบ 24 ช.ม. ภายหลังจากการแก้ปัญหาให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้ว และ Ticket นั้น ๆ ได้ถูก Solved แล้ว หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่รอการตอบกลับจากลูกค้านานเกิน 3 วัน ให้ระบบ Automations ทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้า เป็นต้น วิธีการตั้งค่าระบบ Automations ระบบ Automation ใน Zendesk Support จะมาด้วยการตั้งค่าเริ่มต้น หากต้องการปรับแต่งการตั้งค่าให้คลิกที่ไอคอน Admin ที่แถบด้านข้าง > เลื่อนไปที่หัวข้อ Business rules > คลิกที่ Automations เพื่อดูการตั้งค่า  2. Triggers Triggers ภายใน Zendesk Support นั้นใช้พื้นฐานของการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นหลัก คุณสามารถใช้มันเมื่อคุณต้องการให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่คุณได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ให้มีการกระทำหนึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้ว triggers ค่อยทำงาน สำหรับการออกแบบ...

Continue reading

ภาพรวมฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ Zendesk Chat

Zendesk Chat คือ ระบบไลฟ์แชทแพลตฟอร์ม (Live Chat platform) หรือพูดง่าย ๆ ก็คือกล่องแชทบนหน้าเว็บไซต์ที่จะทำให้คุณและผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ (Visitors) สามารถสื่อสารกันได้ในแบบเรียลไทม์ (real-time) อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของลูกค้าทั้งหมดบนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ โดยในอดีตจะรู้จักกันดีในชื่อ “Zopim” และต่อมาได้ถูก Zendesk พัฒนาขึ้นเป็น Zendesk Chat ในที่สุด ซึ่ง Zendesk Chat จะมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้เป็น Leads ด้วยการปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชมผ่านทางไลฟ์แชทบนหน้าเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นช่องทางในการซัพพอร์ตลูกค้าบนหน้าเว็บไซต์ผ่านฟีเจอร์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้ 1. ทริกเกอร์ (Triggers) กลไกส่งข้อความอัตโนมัติไปยังเป้าหมายที่ตั้งค่าไว้โดยอิงจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า ช่วยให้ลูกค้ามีโอกาสซื้อสำเร็จได้ง่ายขึ้นจากการส่งข้อความผ่านทางแชทอัตโนมัติ Zendesk Chat triggers 2. แบบฟอร์มก่อนการแชทและแบบฟอร์มออฟไลน์ (Pre-chat forms) การใช้แบบฟอร์มก่อนการแชทเพื่อสอบถามข้อมูลการติดต่อจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ก่อนเริ่มต้นการแชทกับเอเจนต์ จะช่วยให้คุณสามารถแยกประเภทการติดต่อและจัดลำดับความสำคัญของคำขอรับการสนับสนุนของลูกค้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าเป็นแบบฟอร์มออฟไลน์เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าจะสามารถติดต่อคุณได้แม้นอกเวลาทำการ และที่สำคัญ Pre-chat forms สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของคุณ Zendesk Chat pre-chat forms 3. รายชื่อผู้เยี่ยมชม (Visitor list) สามารถติดตามและตรวจสอบผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์รวมถึงหน้าเว็บที่พวกเขากำลังเรียกดูอยู่ วิธีนี้จะช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายผู้ใช้ได้เฉพาะเจาะจงและให้การบริการได้ตรงจุดโดยการพุ่งเป้าไปยังผู้ใช้แต่ละรายและเสนอความช่วยเหลือได้เมื่อพวกเขาต้องการ สามารถเลือกให้โชว์ได้ 2 แบบ 3.1 List View Zendesk Chat visitor list view 3.2 Visual View Zendesk Chat visitor visual view นอกจากนี้ยังสามารถเลือกดูข้อมูลตามกลุ่มต่าง ๆ ได้ Zendesk Chat visitor group 4. การให้คะแนนการแชท (Chat ratings) ลูกค้าสามารถให้คะแนนความพึงพอใจในการติดต่อผ่านช่องทางการแชท ทำให้คุณสามารถรวบรวมคะแนนความคิดเห็นและนำไปปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไปได้ Zendesk Chat ratings 5. การส่งไฟล์...

Continue reading

UX / UI คืออะไร?

UX = ประสบการณ์ของผู้ใช้UI = ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้องค์ประกอบทั้งสองนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งแม้จะมีความคล้ายคลึงกันและมีความสัมพันธ์ทางวิชาชีพ แต่บทบาทของ UX / UI นั้นมีความแตกต่างกันและมีเส้นกั้นของความเป็นเหตุเป็นผลกันอยู่ ทำให้หลายคนสงสัยและเกิดความเข้าใจผิดกันอยู่ว่า UX / UI แท้จริงแล้วคืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นในบทความนี้ Demeter ICT จะขอแนะนำให้ท่านรู้จักกับ UX / UI มากยิ่งขึ้น UX หรือ User Experience คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งานในด้านความรู้สึกที่ตอบสนองต่อการใช้งานผลิตภัณฑ์ หรือระบบต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย ความสนุกสนาน จนเกิดเป็นความพึงพอใจสูงสุดหรือเกิดประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งานนั่นเอง ฉะนั้นในอีกแง่นึง User experience หรือ UX มีการพัฒนามาจากผลของการปรับปรุง UI เมื่อมีบางอย่างให้ผู้ใช้ได้โต้ตอบกับประสบการณ์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นแง่บวก ลบ หรือเป็นกลาง สามารถเปลี่ยนวิธีที่ผู้ใช้รู้สึกเกี่ยวกับการโต้ตอบเหล่านั้น UX จึงเป็นจุดที่ต้องพยายามศึกษาและทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร แบบไหน พอใจไหม กลุ่มเป้าหมายมีใครบ้าง มีอะไรน่าสนใจบ้าง อย่างละเอียด เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานมากที่สุด ฉะนั้นอาจเปรียบได้ว่า UX คือ “ศาสตร์แห่งความพยายามเข้าใจผู้อื่นเพื่อประโยชน์อันสูงสุด” UI หรือ User Interface คือ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน หรือ ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน กล่าวคือ ส่วนที่ให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของหน้าตา การออกแบบ และการดีไซน์ ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอ แพลตฟอร์ม เมนู ฟอร์มต่าง ๆ การวางภาพ ขนาดตัวอักษร ปุ่ม แป้นพิมพ์ เสียง หรือแม้แต่แสงไฟ เป็นต้น สิ่งสำคัญสำหรับ UI ก็คือดีไซน์ที่ดูสะอาด สวยงาม ดึงดูดใจ อีกทั้งต้องเข้าใจง่าย ใช้งานง่าย มีมาตรฐานและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังต้องมีฟังก์ชันที่น่าสนใจ มีภาษาภาพที่ทำให้คนเกิดความรู้สึกอยากจะใช้งาน และที่สำคัญจะต้องมีความเป็นเอกลักษณ์...

Continue reading

มาดูกันว่า Harris Farm Markets ใช้ Zendesk ในการรับฟังและตอบกลับลูกค้าอย่างไร?

Customers /Year 11 Million Number of Full Time Agents 7 Employees 1,000 Customer Service Channels 4 Products Used Harris Farm Markets เป็นหนึ่งในเครือข่ายร้านขายของชำอิสระที่เติบโตเร็วที่สุดของออสเตรเลีย ด้วยร้านค้า 25 ร้าน และลูกค้า 11 ล้านคนในแต่ละปี รวมไปถึงธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ที่เฟื่องฟู ทำให้บริษัทกำลังมองหาอนาคตและหัวใจของการเติบโตของบริษัท และสิ่งนั้นก็คือ “การได้รับความรักจากลูกค้า” Harris Farm Markets เป็นธุรกิจที่ดำเนินการโดยครอบครัว Harris ซึ่งเริ่มกิจการขึ้นในปี 1971 เมื่อ David และ Cathy Harris เปิดร้านแรกในวิลาวูดรัฐนิวเซาท์เวลส์ จนถึงปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการอยู่โดยทั้งคู่ เป็นเวลามากกว่า 40 ปีที่ Harris Farm Markets ได้ส่งมอบผลผลิตสดใหม่ให้กับครอบครัวชาวออสเตรเลียด้วยคุณค่าและความเชื่อหลัก ๆ ที่ว่า ครอบครัวชาวออสเตรเลียควรมีผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่และดีที่สุด สำหรับพวกเขา Harris Farm Markets เป็นบ้านของพนักงานมากกว่า 1,000 คน ที่ตั้งใจทำงานเพื่อส่งมอบผลผลิตที่ดีให้กับลูกค้า 11 ล้านคน ที่เดินผ่านประตูเข้ามาในแต่ละปี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้ลูกค้าชาวออสเตรเลียสามารถเลี้ยงครอบครัวด้วยอาหารรสชาติดี สดใหม่ และสะอาด คือสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าเข้ามาอุดหนุนเลือกซื้อสินค้าจนถึงทุกวันนี้ “เราต้องการรับฟังลูกค้าเมื่อลูกค้าพูดกับเรา และเราเลือกใช้ Zendesk Support เพื่อการเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักและดำเนินการในระดับท้องถิ่น ไม่ใช่แค่ผ่านสำนักงานใหญ่ของเราเพียงที่เดียว และเมื่อเราทบทวนกลยุทธ์ในระยะยาวของเรา เราตัดสินใจว่าเราต้องการได้รับความรักจากลูกค้าของเรา ดังนั้นประสบการณ์ของลูกค้าและการบริการจึงกลายเป็นปัจจัยผลักดันสำหรับธุรกิจของเรา และเพื่อที่จะได้รับความรักนั้น เราต้องเรียนรู้ถึงการปฏิสัมพันธ์ที่จะนำไปสู่ความสุขของลูกค้า” – James Kerridge (online operations manager) กล่าว Kerridge อธิบายต่อว่า Harris Farm Markets มีช่องทางการให้บริการลูกค้าอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งช่องทางเหล่านั้นเดินทางไปยังสถานที่ที่แตกต่างกัน นอกเหนือจากร้านค้าหลายแห่งในนิวเซาธ์เวลส์แล้ว บริษัทยังมีศูนย์การติดต่อซึ่งตั้งอยู่ในสำนักงานใหญ่ซึ่งใช้ทั้งการโทรติดต่อ อีเมล...

Continue reading

เป็น Call Center บริการอย่างไร? ให้ได้ใจลูกค้า

รอยยิ้มอย่าอายที่จะยิ้มออกมาจริง ๆ เวลาที่คุณพูดคุยกับลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ เพราะถึงแม้ว่าลูกค้าจะไม่สามารถเห็นได้ว่าคุณยิ้มอยู่ก็ตาม แต่รอยยิ้มนั้นสามารถส่งผ่านทางโทรศัพท์ได้ในรูปแบบของอารมณ์และน้ำเสียง การยิ้มไปด้วยขณะที่คุณพูดคุยกับลูกค้าจะทำให้น้ำเสียงของคุณดูเป็นมิตรและอบอุ่น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรยิ้มให้กับลูกค้าที่กำลังโกรธหรือหงุดหงิด แต่ให้ยิ้มในเวลาที่เหมาะสมก็เพียงพอ เป็นกระจกสะท้อนลูกค้าคิดในมุมมองของลูกค้า หากคุณกำลังประสบปัญหาเดียวกันกับลูกค้า สิ่งที่คุณต้องการมากที่สุดคืออะไร ขณะเดียวกันก็พยายามจับอารมณ์และน้ำเสียงของลูกค้าไปด้วยว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร เพื่อสะท้อนออกมาเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างตรงใจ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เมื่อลูกค้ากำลังอารมณ์เสียหรือหงุดหงิด ลูกค้ามักจะไม่เปิดรับสิ่งที่คุณพูดสักเท่าไหร่ถึงแม้ว่าคุณจะตอบในคำตอบที่ถูกต้องก็ตาม ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ การตั้งใจฟังในสิ่งที่ลูกค้าต้องการพูดให้จบก่อน วิธีนี้จะช่วยทำให้ลูกค้าสงบลงและมีแนวโน้มที่จะเปิดกว้างและรับฟังวิธีแก้ปัญหาที่คุณเสนอมากยิ่งขึ้น รับทราบบอกลูกค้าว่าคุณเข้าใจปัญหาและเหตุผลในการโทรเข้ามาของลูกค้า และตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับฟังสิ่งที่คุณพูด ให้เวลากับลูกค้าเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ระบายถึงปัญหาต่าง ๆ ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถเข้าใจปัญหาเหล่านั้นได้ในทันทีก็ตาม เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักต้องการอธิบายหรือแสดงความรู้สึกในแบบของตนเองให้เสร็จก่อนที่จะพร้อมเปิดรับการดำเนินการในขั้นต่อไป สรุปมีการทบทวนซ้ำอีกครั้งถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องการให้คุณซัพพอร์ต สิ่งนี้จะช่วยแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าคุณเข้าใจในปัญหาของพวกเขาจริง ๆ แจ้งเสมอเมื่อต้องการพักสาย ก่อนที่คุณจะพักสายของลูกค้า คุณควรแจ้งลูกค้าและควรได้รับการตกลงยินยอมเสียก่อน นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้ลูกค้ารอนานเกิน 2 นาที โดยไม่มีการตอบกลับถึงแม้ว่าคุณจะต้องใช้เวลามากกว่านั้นก็ตาม แต่หากคุณรู้ว่าการแก้ปัญหาจะต้องใช้เวลาในการพักสายนานพอสมควร คุณควรเสนอให้โทรกลับหากลูกค้าต้องการแทน สนใจทดลองใช้ Zendesk ฟรี หรือสอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371  095-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณพิม)  support@dmit.co.th Official LINE...

ถึงเวลาแล้วหรือยัง? สำหรับการบริการลูกค้าแบบ omnichannel

Omnichannel เป็นคำศัพท์ใหม่ในอุตสาหกรรมการบริการลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่หลาย ๆ ธุรกิจให้ความสนใจที่จะทำอะไรสักอย่างกับกระแสการบริการในรูปแแบบใหม่นี้ หากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ omnichannel solution คือ การรวมช่องทางการบริการลูกค้าทั้งหมดของคุณไว้ในที่เดียวกัน เพื่อเก็บรวบรวมและรักษาบทสนทนาทั้งหมดของลูกค้าเอาไว้ ซึ่งช่วยให้ทีม customer service สามารถเข้าถึงข้อมูลอ้างอิงของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ลูกค้าเป็นใคร? เคยติดต่อเข้ามาผ่านช่องทางใด? เคยได้มีการสนทนาอะไรกับเจ้าหน้าที่คนไหน? และเคยได้ซื้อผลิตภัณฑ์ใดบ้าง? เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการจบปัญหาต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นจากการแยกช่องทางการบริการลูกค้าหลายช่องทางออกจากกันโดยไม่มีจุดเชื่อมโยงกันอย่างสิ้นเชิง แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาที่ธุรกิจควรปรับเปลี่ยนการบริการลูกค้าแบบเดิมไปสู่การบริการลูกค้าแบบทุกช่องทาง (omnichannel customer service) หากคุณกำลังต้องการคำตอบสำหรับคำถามนี้อยู่ ลองอ่านและพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้: เจ้าหน้าที่หนึ่งคนรับงานหนักเกินไป ปริมาณ ticket เพิ่มขึ้นจนเป็นเหตุให้จำนวน ticket ไม่สัมพันธ์กับจำนวนเจ้าหน้าที่หรือไม่? เจ้าหน้าที่ของคุณรู้สึกทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเครียดหรือไม่? ไม่ว่าพนักงานของคุณจะมีความสามารถมากแค่ไหน แต่เมื่อต้องเจอกับปริมาณ อีเมล โทรศัพท์ และคำถามที่เข้ามาจากช่องทางต่าง ๆ มากเกินไปจนรู้สึกรับมือไม่ไหว จัดการได้ไม่ทันใจลูกค้า อาจทำให้เจ้าหน้าที่รู้สึกเครียดเกินไป เพราะในโลกของการบริการลูกค้า ไม่มีอะไรที่จะเครียดไปกว่าจำนวน ticket ค้างที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากขาดทรัพยากรเข้ามาช่วยแบ่งเบางาน ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของคุณไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสื่อสารหรือทำงานร่วมกันในแบบเรียลไทม์ได้ ถือเป็นการขาดประสิทธิภาพในการซัพพอร์ตลูกค้าขั้นพื้นฐานที่จะส่งผลกระทบถึงค่า CSAT และ ASAT ได้ การบริการไม่สอดคล้องกันในทุกช่องทาง หากทีมของคุณให้การซัพพอร์ตลูกค้าข้ามช่องทางโดยไม่สอดคล้องกัน หากจะให้ยกตัวอย่างเคสง่าย ๆ คงหนีไม่พ้นการให้ลูกค้าต้องเล่าซ้ำ ๆ ถึงปัญหาของพวกเขาเมื่อมีการโอนสายไปยังเจ้าหน้าที่ท่านอื่น หรือ วันนี้ลูกค้าโทรหาคุณโดยที่คุณไม่เคยรู้เลยว่าลูกค้าคนเดียวกันนี้เคยส่งอีเมลมาหาคุณแล้ว เป็นต้น การทำให้ลูกค้ารู้สึกสับสนว่าช่องทางไหนบ้างที่สามารถไว้วางใจได้อาจส่งผลกระทบถึงความไม่ไว้วางใจในบริษัทไปด้วย ถือเป็นข้อผิดพลาดที่ไม่ควรมองข้าม การบริการและการสื่อสารข้ามช่องทางที่ไม่สอดคล้องกันนี้ยังรวมไปถึงบริบทต่าง ๆ ของลูกค้าที่อาจสูญหายไป และ ticket อาจมีการตกหล่นอีกด้วย ซึ่งส่งผลให้การสนทนากับลูกค้ามีความยืดเยื้อ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหานานกว่าเดิม และเกิดเป็น ticket คงค้างมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบให้ได้รับค่าความพึงพอใจของลูกค้าในระดับต่ำ อีกทั้งพนักงานของคุณจะรู้สึกหงุดหงิดเนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการหาข้อมูลและทำงานร่วมกัน ฉะนั้นอย่าปล่อยให้ทีมซัพพอร์ตของคุณต้องใช้เวลาถึง 20 นาทีในการโทรหาแผนกอื่นเพื่อหาคำตอบให้กับลูกค้าของคุณ เจ้าหน้าที่แอดมินต้องพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่ง report ประสบการณ์ของลูกค้าถือเป็นสิ่งสำคัญ ทุกธุรกิจควรมีการตั้งเป้าหมายและมีตัวชี้วัดในด้านประสบการณ์ของลูกค้า (customer experience) ซึ่งหากเจ้าหน้าที่แอดมินหรือผู้ดูแลระบบของคุณต้องหัวหมุนและดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งการรายงานผลต่าง ๆ...

Continue reading

อยากซื้อ Zendesk กับ Demeter ICT ต้องทำอย่างไร?

ในประเทศไทย Zendesk ถือว่ากำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากคนเริ่มรู้จักบวกกับบริษัทหลาย ๆ แห่งได้มีการนำ Zendesk มาใช้งานแล้ว (คลิกดูลูกค้า DMIT ที่ใช้งาน Zendesk) ซึ่งอาจเกิดเป็นคำถามสำหรับหลาย ๆ ท่านที่สนใจ Zendesk ว่าการจะซื้อหรือนำ Zendesk ไปใช้งานนั้นต้องทำอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไร บทความนี้จึงจะขอแนะแนวทางให้ทุกท่านได้ทราบคร่าว ๆ กัน 1. ศึกษารายละเอียดเบื้องต้นหากคุณยังไม่ทราบรายละเอียดชัดเจนว่า Zendesk คืออะไร? Zendesk จะตอบโจทย์กับการใช้งานในบริษัทคุณหรือไม่ คุณสามารถสอบถามรายละเอียดเข้ามาได้ตามช่องทางการติดต่อที่แนบไว้ด้านล่าง หรือจะลองทดลองใช้ฟรีก่อน 30 วันก็ได้ไม่ว่ากัน (คลิกลงทะเบียนทดลองใช้ฟรี) LINE: @dmitOffice: 02-675-9371Sales: 095-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณเล็ก)Email: support@dmit.co.th 2. นัดเข้าไปนำเสนอ (present) ผลิตภัณฑ์หลังการศึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเบื้องต้น หากคุณสนใจและต้องการให้เราเข้าไปนำเสนอตัวผลิตภัณฑ์เพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น ก็สามารถติดต่อเข้ามานัดวันให้เราเข้าไปนำเสนอได้ทั้ง 2 แบบ คือ ให้เราเข้าไปนำเสนอที่บริษัทของคุณ ในกรณีที่บริษัทของคุณอยู่ต่างจังหวัด หรือนอกเหนือจากกรุงเทพฯ สามารถนำเสนอผ่าน Video Conference ได้ 3. พิจารณา/ประเมินราคาหลังจากการนำเสนอ ถามคำถามเบื้องต้น อย่างเช่น คุณต้องการนำ Zendesk ไปใช้ในด้านใด ไปใช้กับแผนกหรือทีมใด บริษัทของคุณมีระบบการดำเนินงานอย่างไร มีเจ้าหน้าที่ที่ต้องใช้งานจำนวนเท่าไหร่ เพื่อประเมินราคาเบื้องต้น ซึ่งหากคุณต้องการให้เรา implement ให้ด้วย จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่ม ความแตกต่างระหว่างซื้อ/ไม่ซื้อ implementซื้อ: ทาง DMIT จะทำการ setting ระบบตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงมีการ training ให้กับพนักงานหรือผู้เกี่ยวข้องที่ต้องใช้งานระบบ Zendesk และหากเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่น เกิด bug หรือ software มีการ upgrade หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตและรับประกันให้ 1 ปี...

Continue reading

มารู้จักสำนักงานใหญ่ภาคพื้นเอเชียของ Zendesk กัน

วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักพาร์ทเนอร์ของ Demeter ICT ที่มีสำนักงาน APAC ที่อาคารนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ อาคารนี้มียาหม่องตราเสือเป็นเจ้าของตึก แต่พาร์ทเนอร์เราไม่ได้ทำยาหม่องขายนะครับ แต่เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่เติบโตเร็วมาก เริ่มต้นมาจากผู้ก่อตั้งสามคนทำงานพัฒนาระบบในห้องครัวที่เดนมาร์ก จนมาจดทะเบียนระดมทุนในตลาดหลัทรัพย์ NYSE ทำงานด้วยกันมาสองปีกว่าเพิ่งได้มาเยี่ยมเยียนเพื่อนร่วมงานกันนี่ล่ะครับ เฉลยนะครับ พาร์ทเนอร์ของเราก็คือ Zendesk เป็น Multi-Channel Customer Service Solution อันดับหนึ่งของโลก โดยเริ่มจาก Founders คนทำงานพัฒนาระบบ Customer Service ในห้องครัวที่เดนมาร์ก ด้วยคอนเซปว่าลูกค้าจะ Happy ต้องทำให้ทีมงานของเราที่ให้บริการลูกค้า Happy ด้วย การออกแบบซอฟต์แวร์ใช้คอนเซปของ Customer Experience คือออกแบบเครื่องมือที่ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีเท่าเทียมกันทุกช่องทาง โดยเริ่มธุรกิจในปี 2007 ปัจจุบันทั่วโลกมีพนักงาน 2,000 คน เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ NYSE ในปี 2014 ปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการกว่า 1 แสนบริษัท ใน 150 ประเทศ ถ้าถามหาว่าใครเป็นลูกค้าบ้าง นับนิ้วแทบไม่ไหว มีตั้งแต่ AirBNB, Agoda, Uber, Grab, aCommerce, LINE Mobile, Minor Group, Kerry Express, Booking, GoJek, Lazada ฯลฯ เรียกว่าเยอะมากๆ ที่โด่งดังในองค์กรที่ให้ความสำคัญของบริการแบบ Multi-Channel Customer Service การเริ่มธุรกิจของ Zendesk คือการแก้ Pain Points ของการที่ Agent ที่ให้บริการต้องแก้ปัญหาให้ลูกค้าโดยเร็วที่สุด และประทับใจ ปัญหาของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาในหลายที่คือ ต้องเล่าความเจ็บปวดของตัวเองที่ได้รับจากการบริการแบบซ้ำๆ ทุกครั้งที่วางสายไป หรือติดต่อเข้ามาอีกช่องทาง ไม่เชื่อลองไป complain อะไรกับธนาคารหรือบริษัทที่ให้บริการหรือขายสินค้าอะไรที่ไหนสักแห่งผ่าน Call Center แล้วไปตามเรื่องผ่าน Facebook Chat หรือ Email...

Continue reading

Big Fish Games ลดเวลารอของผู้เล่นได้ถึง 16% ด้วย Zendesk

Customer Since 2016 Self-Service Ticket Deflection 40% Reduction in Avg. Wait Time 16% Gain in Agent Productivity 5.15% Products Used “คุณจะเปลี่ยนเวลาในการให้บริการลูกค้าจาก 30 นาที เป็น 30 วินาที ได้อย่างไร?” นี่คือคำถามจาก Jeremy Fair (Manager of Operations Business Systems) จากบริษัท Big Fish Games ในฐานะที่เขามีประสบการณ์ถึง 11 ปี ในบริษัท เขาได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ ticket ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งเมื่อเวลาผ่านไปธุรกิจก็เปลี่ยนไปจากเกมบนเดสก์ท็อปเริ่มกลายเป็นเกมบนมือถือ ซึ่งเป็นผลให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสนับสนุนลูกค้า Big Fish Games ประกอบด้วย 29 แบรนด์ที่นำเสนอเกมมากกว่า 5,000 เกม ด้วยความต้องการมอบประสบการณ์การเล่นเกมที่ดีที่สุดและเพื่อเพิ่มช่องทางในการบริการตนเอง (self-service) ให้กับผู้เล่น Big Fish Games จึงต้องการ support software ที่มีคุณลักษณะที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของบริษัทเกมได้ ทีมงานและผู้ผลิตเกมจึงช่วยกันประเมินและเลือกโซลูชันใหม่ให้กับทีมและเลือกใช้ Zendesk ในที่สุด เนื่องจากมีฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น Zendesk Support SDK (software development kit), SLA feature และความสามารถในการตั้งค่า help centers ได้แบบ multiple brands พวกเขายอมรับได้ทันทีว่าด้วยฟีเจอร์เหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจและทีมงานสามารถเพิ่มการสนับสนุนกับเกมและลูกค้าใหม่ ๆ ได้อย่างง่ายดาย หลังจากการติดตั้งระบบ Zendesk บริษัท Big Fish Games ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว...

Continue reading