Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

Google Workspace Beyond the Future Growth: ส่องเทรนด์เปลี่ยนโลกสร้างธุรกิจแห่งอนาคต 2024

Beyond the Future Growth ส่องเทรนด์เปลี่ยนโลกสร้างธุรกิจแห่งอนาคต 2024 มาร่วมถอดรหัสเทรนด์ ปลดล็อกศักยภาพ เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในยุคแห่ง AI ด้วยการใช้เทคโนโลยีให้ถูก ใช้ให้เป็น ใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจและเทรนด์โลก ลงทะเบียนเข้าร่วมงานนี้แล้วคุณจะได้พบกับ ✅ เทรนด์การทำงานและเทรนด์เทคโนโลยีปี 2024 ยืนยันโดย Forbes✅ ทำความรู้จักเครื่องมือเทคโนโลยีที่ Google พัฒนาขึ้นเพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบโจทย์เทรนด์ต่าง ๆ ของโลกได้ ด้วย Generative AI และ Collaboration Tools✅ เห็นภาพรวมของการนำโซลูชันจาก Google มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจให้เติบโตแบบไร้ขีดจำกัด✅ เรียนรู้จาก Case studies ‘Adapt or Die’ ปรับตัวหรือไม่เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดในโลกที่เปลี่ยนแปลง อย่าพลาดโอกาสในการเรียนรู้และเตรียมพร้อมธุรกิจสำหรับอนาคต ! งานสัมมนาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนขอสิทธิ์เข้าร่วมสัมมนา *สัมมนาพิเศษสำหรับผู้ได้รับการยืนยันเท่านั้น Dr. Varanyu Suchivoraphanpong Founder & CEO of Demeter ICT Anucha Jaemjaeng Head of Collaboration Technologies Chutimon Phattaraworadech Senior Solution Consultant วันที่ เวลา สถานที่ 13 มีนาคม 2024 13.30 – 17.00 น. Glowfish Sathorn Agenda 13.30 – 14.00 น. 14.00 – 14.05 น. 14.05 – 14.35 น. 14.35 – 15.25 น. 15.25 – 15.45 น....

Continue reading

Google Workspace ขึ้นแท่นอันดับ 1 ในหมวดหมู่ Business Operation

นักสำรวจได้คาดการณ์ว่า Google Workspace มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นสูงถึง 23% รวมเป็น 40% ในปี 2024 ซึ่งคว้าอันดับ 1 ทั้งในปีนี้และปีหน้า! จากผลสำรวจของ Thailand’s Martech Report 2024 จำนวน 127 ตัวอย่าง ได้ระบุว่าคนไทยจำนวนมากนิยมใช้งานแพลตฟอร์มสำหรับการจัดการภายในองค์กรโดยอ้างอิงข้อมูลจากปี 2023 ดังนี้ อันดับ 1 Google Workspace ที่ 53% อันดับ 2 Microsoft 365 ที่ 44% อันดับ 3 Zoho ที่ 3% จากรูปด้านบนจะเห็นได้ว่าถึงแม้จำนวนตัวอย่างที่ใช้ทดสอบจะมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น Google Workspace ยังคงเป็นอันดับ 1 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก เพราะ Google Workspace เป็นแพลตฟอร์มที่เรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานสำหรับการทำงานบนคลาวด์ ช่วยต่อยอดธุรกิจให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น ไม่เพียงเท่านี้ Google Forms ซึ่งเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันของ Google Workspace ยังคว้าอันดับ 1 ในหมวดหมู่ Forms & Survey อีกด้วย  อันดับ 1 Google Forms ที่ 66% อันดับ 2 Microsoft Forms ที่ 20% อันดับ 3 Survey Monkey ที่ 15% Google Workspace ตอบโจทย์ Business Operation ได้หลากหลายด้าน อีกทั้งยังซัพพอร์ตเรื่องการทำงานแบบ Online Conllaboration ได้ครบจบแบบ All in One Place !...

Continue reading
tiktok shop

เชื่อมต่อ TikTok Shop (US Seller) กับ Zendesk เพิ่มยอดขาย มอบบริการที่ดีเลิศไปพร้อมกัน

ในเวลานี้คงไม่มีโซเชียลมีเดียตัวไหนที่เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงเท่า TikTok อีกแล้ว หลายคนอาจรู้จัก TikTok ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มสร้างความบันเทิง แต่ทราบหรือไม่? จริง ๆ แล้ว TikTok ยังมีอีกฟีเจอร์หนึ่งที่แยกออกมาสำหรับร้านค้าออนไลน์โดยเฉพาะ นั่นก็คือ TikTok Shop ยาวไปอยากเลือกอ่าน คลิกเลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย TikTok Shop คืออะไร? Source: TikTok TikTok Shop นั้นเป็นตัวช่วยในการสร้างการรู้จักและขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม TikTok โดยช่วยให้ผู้ใช้งาน TikTok สามารถค้นพบและซื้อสินค้าได้เลยภายในแอป ซึ่ง TikTok Shop ก็มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจหลายอย่างที่ช่วยสนับสนุนการขาย ไม่ว่าจะเป็น Live Shopping ช็อปได้โดยตรงผ่าน Live เพียงกดที่สินค้าที่ได้รับการปักหมุดอยู่หรือกดรูปตะกร้าสินค้า Shoppable Videos ช็อปโดยตรงผ่าน Shoppable in-feed video โดยกดที่ลิ้งก์สินค้าหรือตะกร้าสินค้า Product Showcase ช็อปโดยตรงผ่านหน้าบัญชีของครีเอเตอร์ ซึ่งจะมีแท็ปหน้าต่างข้าง ๆ ที่ช่วยให้เข้าถึงสินค้าได้อย่างง่ายดาย Shop Tab แท็ปสำหรับช็อปปิ้งได้เฉพาะ ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูสินค้าและโปรโมชันต่าง ๆ ในที่เดียว อ้างอิงจากสถิติแล้ว ผู้ใช้งาน TikTok ถึง 1 ใน 4 ส่วนสนใจซื้อสินค้าผ่าน Live เพราะช่วยให้พวกเขาได้เห็นสินค้าของจริงที่นอกเหนือจากเห็นแค่รูปถ่ายเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ในช่วงทดสอบระบบของ TikTok Shop นั้น มีแบรนด์เข้าร่วมมากถึง 200,000 ราย รวมถึงแบรนด์ที่เรารู้จักกันดีอย่าง L’oreal และ Maybelline ทั้งยังมี Influencer อีก 100,000 กว่ารายที่เข้ามามีส่วนร่วมซึ่งแสดงถึงกระแสความน่าสนใจในตัวเครื่องมือนี้ได้เป็นอย่างดี มีสถิติว่า 70% ของผู้ใช้งานค้นพบและได้รู้จักแบรนด์ใหม่ ๆ ผ่าน TikTok และ 83% ของผู้ใช้กล่าวว่า TikTok มีอิทธิพลในการช่วยให้พวกเขาตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า เมื่อยอดขายเพิ่มพูน มีลูกค้ามากขึ้น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องของการบริการลูกค้า จุดนี้เองที่...

Continue reading

รู้จัก Zero-Party Data กลยุทธ์เก็บข้อมูลลูกค้าด้วยความเต็มใจ

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Zero-Party Data คืออะไร? Zero-Party Data คือ ข้อมูลที่ลูกค้าหรือผู้ใช้งานจงใจและเต็มใจแบ่งปันให้กับธุรกิจหรือแบรนด์โดยตรง ทาง Forrester ให้คำจำกัดความไว้แบบนี้ ซึ่งในบางกรณีลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากธุรกิจหรือแบรนด์เพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยนกัน ข้อมูลเหล่านี้สามารถเก็บได้จากการทำแบบสำรวจต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ การทำแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ หรืออาจเป็นคำตอบจากลูกค้าที่ตอบมาเพื่อเล่นเกมที่ธุรกิจหรือแบรนด์นั้น ๆ จัดขึ้น ภาพจาก stackadapt ความสำคัญของ Zero-Party Data ด้วยความที่ในปัจจุบันมีกฏหมายหรือข้อบังคับมากมายเกี่ยวกับการป้องกันหรือความปลอดภัยของข้อมูล เช่น GDPR, CCPA หรือที่ในบ้านเรารู้จักกันในชื่อ PDPA ข้อบังคับเหล่านี้ทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้ามีความยุ่งยากกว่าเมื่อก่อน หรือถ้าคุณต้องการมองหาข้อมูลจากบุคคลที่สามก็ทำให้มีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้หลาย ๆ ธุรกิจ เริ่มหันมาทำ Zero-Party Data กันมากยิ่งขึ้น Zero-Party Data ไม่เพียงแต่จะสร้างความปลอดภัยทางด้านข้อมูลให้กับธุรกิจหรือแบรนด์เท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความภักดีให้กับลูกค้าของคุณอีกด้วย เพราะพวกเขาเชื่อใจได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นสิ่งที่พวกเขาอนุญาตและเต็มใจที่มอบให้คุณแล้ว เพื่อให้คุณมอบประสบการณ์ที่ Personalized กับพวกเขาได้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิด Conversion หรือการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับลูกค้าไปพร้อม ๆ กันได้อีกด้วย ประโยชน์ของ Zero-Party Data มีอะไรบ้าง? 1. ประสบการณ์ที่เฉพาะตัวขั้นสูง (Hyper-Personalized Experiences) จากข้อมูล Zero-Party Data แบรนด์สามารถนำข้อมูลมาต่อยอดในการสร้าง Personalized Marketing โดยปรับแต่งคำแนะนำของสินค้า ข้อความทางการตลาด หรือแม้แต่เนื้อหาต่าง ๆ ให้มีความเฉพาะตัวและเหมาะกับลูกค้าแต่ละคน 2. แคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Effective Marketing Campaigns) เมื่อคุณทำความรู้จักลูกค้าและมีข้อมูลที่เชิงลึกมากขึ้น ช่วยให้คุณสามารถสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้มีผลลัพธ์และมี Conversion ที่สูงขึ้นตามไปด้วย 3. การมีส่วนร่วมของลูกค้าที่ดีขึ้น (Improve Customer Engagement) จากผลสำรวจพบว่า หากแคมเปญการตลาดหรือเนื้อหาของคุณมีความเฉพาะตัวและตรงใจกับลูกค้า ทำให้ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมหรือแบ่งปันข้อมูลให้กับแบรนด์ของคุณมากขึ้นเช่นกัน จุดเด่นของ Zero-Party Data คืออะไร? อยู่บนพื้นฐานความยินยอม (Consent Based) ลูกค้าเต็มใจให้ข้อมูลนี้แก่แบรนด์ของคุณ โดยมักจะคาดหวังถึงประสบการณ์ที่ดีขึ้นหรือผลประโยชน์ส่วนบุคคล มีความแม่นยำสูง...

Continue reading

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน Demeter Dives into the Clouds: Unlocking Business Outcomes through Tech Trends 2024 

ปิดลงทะเบียนแล้ว Chaitavat Yaopromsiri Vice President, Products Department Kittipong Oomjindasup Head of Implementation Service & Support Krisana Wongjumpa Head of Sales, CSM Anucha Jaemjeang Head of Collaboration Technologies ต้อนรับศักราชใหม่ด้วยงานสัมมนาบนแพลตฟอร์มออนไลน์สุด Exclusive เพื่อลูกค้าทุกท่านของ Demeter ICT มาร่วมค้นหาเทรนด์ที่เหมาะ โซลูชันที่ใช่ให้กับองค์กรของคุณในปี 2024 ในงาน Demeter Dives into the Clouds: Unlocking Business Outcomes through Tech Trends 2024 ที่จะพาทุกท่านไปเจาะลึกเทรนด์เทคโนโลยีและโซลูชันบนคลาวด์เพื่อการจัดการและบริการในองค์กร ด้วยเนื้อหาครอบคลุมทั้งในด้าน Collaboration, Customer Experience และ Employee Experience ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถ สร้างความแตกต่างให้องค์กรและเป็นที่หนึ่งในโลกธุรกิจ  “เพราะเทคโนโลยีที่ดีที่สุด คือเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์และเหมาะสมกับองค์กรของคุณ” Demeter Dives into the Clouds: Unlocking Business Outcomes through Tech Trends 2024 15 กุมภาพันธ์ 2567 |  10:00 – 11:30 น.สัมมนาออนไลน์ผ่าน Google Meet พบกับเทรนด์เทคโนโลยีมากมายที่องค์กรต้องมีในปี 2024 แล้วเทรนด์ใดที่ใช่สำหรับองค์กรคุณ? โค้งสุดท้าย! ปิดลงทะเบียนแล้ว เข้าร่วมงานสัมมนาฟรี !*สงวนสิทธิ์เฉพาะลูกค้า Demeter ICT เท่านั้น*หลังจากลงทะเบียนรับสิทธิ์เข้าร่วม โปรดรอ Confirmation Email  ปิดรับลงทะเบียน 14 กุมภาพันธ์ 2567...

Continue reading

เทรนด์การทำงานแบบ Online Collaboration คืออะไร ? ทำอย่างไรถึงจะได้ผล ?

Online คือ การเชื่อมต่อผ่านระบบคอมพิวเตอร์/ อินเทอร์เน็ตCollaboration คือ การทำบางสิ่งบางอย่างร่วมกันหรือการร่วมมือกัน เมื่อมีการนำคำเหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับการทำงานในองค์กรจึงหมายถึงการทำงานร่วมกันผ่านอินเทอร์เน็ตหรือแบบออนไลน์นั่นเอง (Online Collaboration) แอปพลิเคชันแรกที่เรียกได้ว่าเป็นใบเบิกทางสู่การเริ่มต้นการทำงานแบบนี้ คือ Google Docs ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Google Docs นั้นเป็นแอปพลิเคชันที่นักเรียน นักศึกษา และองค์กรหลายแห่งนิยมใช้กันสูงมาก ๆ เนื่องจากเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถทำงานได้แบบออนไลน์ ทำให้ทุกคนทำงานด้วยกันได้ถึงแม้จะอยู่ต่างสถานที่กัน อีกทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ก็ดูทันสมัยและใช้งานง่ายอีกด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนยุคใหม่จึงคุ้นชินกับการทำงานแบบ Online Collaboration เพราะ Google Docs ได้ทำให้ผู้คนตระหนักรู้ว่า การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์นั้นสะดวกสบายและมีประโยชน์มากมาย จึงทำให้การทำงานแบบนี้กลายเป็นเทรนด์ยุคใหม่ที่กระตุ้นให้หลาย ๆ องค์กรต่างก็พากันให้ความสนใจเพื่อหาโซลูชันให้ตอบโจทย์ต่อการทำงานมากที่สุด นอกจาก Google Docs แล้ว คุณเคยใช้แอปพลิเคชันอื่นอีกบ้างไหม ?……..Google Meet ? Google Sheets ? หรือว่าจะเป็น Google Slides ? Demeter ICT เชื่อว่าคุณต้องเคยเห็นหรือเคยใช้แอปพลิเคชันเหล่านี้มาบ้างแน่ ๆ ซึ่งแอปเหล่านี้เองก็เป็นหนึ่งในแอปเพื่อการทำงานร่วมกันของ Google ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า ‘Google Workspace’ ที่เป็นแพลตฟอร์มสนับสนุนการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ที่โด่งดังที่สุดในขณะนี้ มีผู้ใช้บริการรวมแล้วกว่า 3 พันล้านบัญชีทั่วโลก 3 กุญแจสำคัญที่ทำให้การทำงานแบบ Online Collaboration ประสบความสำเร็จและได้ผลจริง 1. People แน่นอนว่าหากต้องร่วมมือกันทำงาน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรกคือ Team Member ปัจจัยหลักที่ทำให้การ Collaboration สมบูรณ์มากที่สุด หากคนในทีมขาดความรู้และความสามารถในการใช้เครื่องมือ ก็อาจส่งผลให้การทำงานร่วมกันนี้ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น คนในทีมของคุณรู้ว่าซอฟต์แวร์ที่ทีมกำลังใช้งานอยู่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างหลากหลาย แต่ทว่าคนในทีมส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีการใช้งานซอฟต์แวร์ตัวนี้เลย ทำให้ทีมเสียโอกาสในการใช้ความสามารถของเครื่องมือ Collaboration platform มาต่อยอดธุรกิจของตนนั่นเอง 2. Process เพื่อให้การเริ่มต้นการใช้งาน Collaboration platform เป็นไปอย่างราบรื่น ทีมควรที่จะวางแผนกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้ชัดเจน อีกทั้งหัวหน้าทีมยังจำเป็นที่จะต้องสื่อสารกับคนในทีมสำหรับจุดประสงค์ของการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ เพื่อให้ทีมได้รับรู้ถึงสาเหตุและความสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ...

Continue reading

Google Meet: มัดรวมฟีเจอร์เด่นๆ เน้นเพิ่มประสิทธิภาพให้ทุกการประชุม Vol.1

อัปเดต Google Meet รอบนี้ขอยกทัพฟีเจอร์เด่นๆที่น่าสนใจ ตั้งแต่ช่วงปีหลัง 2023 – ปัจจุบัน มาดูซิว่าฟีเจอร์ไหนที่คุณยังไม่เคยลองเล่นบ้าง ขอบอกว่าอัปเดตที่ผ่านมา Google Meet ก็ได้นำเทคโนโลยี AI มากมายเข้ามาช่วยพัฒนาคุณภาพการประชุมให้ราบรื่นและดียิ่งขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย… 1. ฟีเจอร์ Raise your hand ยกมือผ่านกล้องได้เลย ก่อนหน้านี้ Google Meet ไ้ด้มีฟีเจอร์ Raise your hand มาให้ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถยกมือถามเพิ่มเติมระหว่างการประชุมด้วยการคลิกที่ปุ่มไอคอนรูปมือ (Rise your hand) เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ไปยังผู้พูดและผู้เข้าร่วมอื่นๆ  แต่ตอนนี้เราสามารถใช้ฟีเจอร์ Raise your hand ได้ด้วยการโบกมือจริงๆผ่านกล้องได้แล้ว หากต้องการนำมือลงก็ให้คลิกที่ปุ่มไอคอน Rise your hand ซึ่งข้อดีก็คือช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมมากขึ้นและสัมผัสได้เหมือนว่าอยู่ในห้องประชุมจริงๆ  วิธีเปิดการใช้งานฟีเจอร์ 1. ไปที่ Google Meet 2. ไปที่ More options > Setting > General 3. ที่ Raise your hand automatically ให้คลิก เปิดใช้งาน หมายเหตุ : ฟีเจอร์นี้ใช้ได้เฉพาะผู้ใช้งานแพ็กเกจ Google Workspace Business Plus, Business Standard, Enterprise Essentials, Enterprise Plus, Enterprise Standard , Enterprise Starter, Education Plus, Teaching and Learning Upgrade และ Google Workspace Individual เท่านั้น  2. คอลแบบ 1:1 ผ่านแอป Meet บนมือถือ...

Continue reading

รวมฟีเจอร์ Google Workspace อัปเดตปี 2023 – 2024

ในแต่ละปี Google Workspace ก็จะมีการพัฒนาและปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ๆ ออกมาให้เราได้ใช้งานและตื่นตาตื่นใจกันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งปีที่ผ่านมาก็เรียกได้ว่าน่าสนใจมาก ๆ เลยทีเดียว เพราะมีการอัปเดตฟีเจอร์หลายตัวและแต่ละฟีเจอร์ก็ตอบโจทย์ต่อการใช้งานได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นทาง Demeter ICT จึงได้รวบรวมบทความอัปเดตฟีเจอร์ของเราตั้งแต่ปี 2023 ตลอดจนถึงช่วงต้นปี 2024 นี้เลย มาดูกันว่ามีฟีเจอร์อะไรบ้าง !  Duet AI Duet AI เป็นผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นที่จับตามองมากที่สุดในขณะนี้ เพราะ Duet AI นั้นใช้เทคโนโลยี  Generative AI ที่จะสามารถช่วงสร้างสรรค์ผลงานและช่วยจัดการงานต่าง ๆ ในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากคุณใช้ Google Workspace อยู่แล้ว การใช้ Duet AI เข้ามาช่วยในการทำงานก็ยิ่งส่งผลดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คุณสามารถทำความรู้จัก Duet AI เบื้องต้นได้ที่บทความของเราด้านล่างนี้ Gmail ฟีเจอร์นัดหมายใน Gmail วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่น่าสนใจและสะดวกมาก ๆ เพราะคุณสามารถนัดหมายผ่าน Gmail ได้เลยทันที ไม่ต้องคอยนัดหมายผ่าน Google Calendar หรือ Google Meet แล้วส่งอีเมลแยกอีกต่อไป หากต้องการนัดหมายก็เพียงแค่ทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย ! ฟีเจอร์ส่งอีเมลถึงผู้รับหลายคนแบบระบุชื่อรายคน แน่นอนว่าคุณอาจจะกำลังใช้ Dear Customer หรือ Dear AII อยู่ เพราะหากจะให้ระบุชื่อรายคน คุณได้พิมพ์จนนิ้วล็อคแน่ ๆ ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้คุณไม่ต้องพิมพ์ระบุชื่อรายคนด้วยตัวเอง เพียงแค่ใช้ @ ใน Gmail เท่านั้น ประหยัดเวลามาก ๆ Google Drive ฟีเจอร์สแกนเอกสารด้วยโทรศัพท์ ไม่นานมานี้หลาย ๆ คนก็คงมีการทำงานผ่านโทรศัพท์กันอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะการอัปโหลดไฟล์ที่อยู่ในโทรศัพท์ ซึ่งตอนนี้คุณสามารถสแกนเอกสารและบันทึกลงใน Google Drive ได้เลยทันที ไม่ต้องคอยหาแอปสแกนหรือถ่ายรูปลงอย่างเดิมอีกต่อไปแล้ว ลดขั้นตอนการทำงานได้อย่างรวดเร็ว Google Chat Google...

Continue reading

ส่องกรณีศึกษาจาก TaylorMade กับการยกระดับ IT Support ด้วย Freshservice

หากใครเคยเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้าโดยเฉพาะโซนอุปกรณ์กีฬา เชื่อว่าคงจะคุ้นหูคุ้นตากับแบรนด์ TaylorMade อยู่ไม่น้อย ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะ TaylorMade เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ผลิตอุปกรณ์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว เมื่อถึงจุดหนึ่งที่กระบวนการทำงานภายในองค์กรล้าสมัยและถึงคราวต้องปรับเปลี่ยน TaylorMade ก็ได้ยกระดับการจัดการบริการด้านไอที นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่สามารถลดระยะเวลาการตอบกลับได้ถึงครึ่งหนึ่ง แม้ปริมาณการสอบถามจะเพิ่มขึ้นถึง 250% เลยก็ตาม TaylorMade ทำได้อย่างไร? เบื้องหลังของตัวเลขนี้มีความเป็นมาอย่างไรกันนะ? ในบทความนี้ Demeter ICT จะเล่าให้คุณฟัง ใช้ระบบออโตเมชันเข้าช่วยในงานที่จำเจ “พันธกิจของแผนกไอทีเราคือต้องลด Downtime ให้น้อย และเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงที่สุด ระบบอัตโนมัติเป็นปัจจัยสำคัญเลยที่ทำให้เราเลือก Freshservice ฟีเจอร์และโมดูลของ Freshservice ทำให้เราเริ่มต้นใช้งานได้รวดเร็ว สำหรับเราที่จะบรรลุเป้าหมาย เราต้องมี Workflow และกระบวนการมหาศาลสำหรับเจ้าหน้าที่ 100 คนของเรา” – Ali Chitsaz, Senior Manager of Client Experience กล่าว ตัวอย่างฟีเจอร์เด่นของ Freshservice ที่ TaylorMade ใช้งาน Workflow Automation : ระบบสำหรับสื่อสารอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ทั้งพิกัดของผู้ร้องขอ (Requester) ผู้อนุมัติ และอื่น ๆ และยังสามารถแท็ก Back-end ทำให้การค้นหาบทความที่เหมาะสมเป็นเรื่องง่าย ซึ่ง TaylorMade ก็ได้ใช้งานระบบอัตโนมัติอย่าง Workflow สำหรับรีเซ็ตพาสเวิร์ดและใช้งาน Workflow ในการส่งต่อเรื่องไปยังบุคคลที่สาม Project Module : TaylorMade นำกระบวนการทางไอทีทั้งหมดรวมอยู่ในที่เดียว ทำให้เห็นภาพรวมโปรเจกต์ได้ชัดเจนขึ้น เจ้าหน้าที่สามารถใส่รายละเอียดเพิ่มเติม เปลี่ยนสถานะ ลำดับความสำคัญ และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทำให้โปรเจคมีการอัปเดตล่าสุดตลอดเวลา Asset Management : โมดูลนี้ของ Freshservice ช่วยให้ TaylorMade สามารถติดตามและบริหารจัดการทรัพย์สินทางไอที เจ้าหน้าที่สามารถจัดการกับ Ticket ที่เพิ่มขึ้นได้โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาวิธีแก้ไข ผู้ที่สอบถามเองก็สามารถเข้าถึงบทความโซลูชันสำหรับผู้ใช้งานกว่า 50 บทความได้อย่างรวดเร็ว Analytics & Reporting : สำหรับ...

Continue reading