เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! สำหรับ Asana Package Personal และ Basic Group tasks by date fields: จัดกลุ่มงานโดยใช้ช่องวันที่ในโปรเจกต์และใน “งานของฉัน (My tasks)” เพื่อการจัดระเบียบโปรเจกต์และการติดตามกระบวนการทำงาน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Board view with no task limits: สามารถมองเห็นและจัดกลุ่มงานในโปรเจกต์หรือในบอร์ด “งานของฉัน (My tasks)” ได้ ไม่ว่าจะมีงานมากแค่ไหนก็ตาม Improved customization in board view: สามารถจัดกลุ่มตามผู้รับผิดชอบ เรียงลำดับ และซ่อนกลุ่มที่ไม่มีงานในมุมมองบอร์ดของโปรเจกต์ได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Enhancements to project overview in iOS: ติดตามความคืบหน้าของทีมได้ง่าย ๆ บนมือถือ IOS ด้วยการรวมข้อมูลเชิงลึกของโปรเจกต์ไว้ในที่เดียว อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Granular email notification settings: ปรับแต่งการแจ้งเตือนทางอีเมลได้ตามใจ ด้วยตัวเลือกที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นสำหรับการรับการแจ้งเตือน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Tab management improvement: ตั้งค่าแท็บใดก็ได้ให้เป็นค่าเริ่มต้นในโปรเจกต์, พอร์ตโฟลิโอและทีม สำหรับ Asana Package Starter และ Premium Custom sorting in Gantt view: จัดกลุ่มงานในมุมมองแบบ Gantt ให้เหมาะสมที่สุดกับความต้องการของโปรเจกต์ของคุณ https://www.dmit.co.th/wp-content/uploads/2025/01/Gantt-View-Feature-update.mp4#t=1 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ สำหรับ Asana Package Advanced และ Business Portfolio saved views: ปรับแต่งและบันทึกมุมมองพอร์ตโฟลิโอเพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายทุกเมื่อวิธีสร้างมุมมองพอร์ตโฟลิโอ: ใช้การเรียงลำดับและตัวกรองกับพอร์ตโฟลิโอของคุณ คลิก Save view เพื่อบันทึกมุมมองนี้เป็นแท็บรายการเริ่มต้นสำหรับทุกคน...
Continue readingอัปเดต 10 Marketing Trends สำหรับปี 2025 มีอะไรบ้าง?
นับตั้งแต่ยุคโฆษณาในหนังสือพิมพ์มาจนถึงปัจจุบันที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทรนด์การตลาดมีการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภค นั่นหมายความว่านักการตลาดไม่สามารถเลือกใช้วิธีการเดิม ๆ ที่เคยได้ผลในอดีตมาใช้ตลอดเวลาได้ ฉะนั้นการมองหาแนวโน้มหรือเทรนด์ใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ธุรกิจรักษาความได้เปรียบและวางแผนกลยุทธ์การตลาดให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ในปี 2025 นี้ เราได้ทำการสรุป 10 เทรนด์การตลาดสำคัญ โดยมีทั้งที่ยังเป็นเทรนด์ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้วและเทรนด์การตลาดใหม่ ๆ ที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในปี 2025 นี้ จะมีอะไรบ้าง? เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! 1. AI in Marketing เทรนด์การตลาดกับ AI ยังไปต่อด้วยกันยาว ๆ ด้วยการเปิดตัวเครื่องมือ AI ของแบรนด์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ChatGPT, Gemini, Asana AI, BrazeAI™ หรือ Zendesk AI แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กำลังเติบโตและเปลี่ยนแปลงอนาคตของการตลาดอย่างชัดเจน ในปี 2025 นี้ นักการตลาดจะยังคงปรับตัวกับการใช้เทคโนโลยี AI ในกระบวนการทำงานหลายส่วน ๆ และเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจของคุณ มาดูกันว่านักการตลาดสามารถทำงานร่วมกับ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านไหนกันได้บ้าง? วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและคาดการณ์แนวโน้ม (Data Analysis) จากผลวิจัยของ The Work Innovation Lab พบว่า 30% ของพนักงานใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่แล้ว และจำนวนกว่าสองเท่า (62%) ต้องการใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริโภคและลูกค้า เพราะพวกเขาเชื่อว่าข้อมูลที่ได้จาก AI และ Machine Learning สามารถช่วยให้นักการตลาดเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการโฆษณาที่ชาญฉลาดและตรงกลุ่มเป้าหมาย ไม่เสียเงินไปกับกลุ่มที่ไม่ใช่ลูกค้าของเรา วางแผนได้ดีขึ้น ด้วยการการคาดการณ์แนวโน้มที่แม่นยำ เข้าใจพฤติกรรมของผู้ซื้อได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มอัตราการรักษาลูกค้าและความภักดี โดยการส่งคอนเทนต์ที่เฉพาะตัวกับแต่ละคน (Personalization) ภาพจาก Report: The State of AI at Work...
Continue readingKENDO ขยายธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Asana
ทีม KENDO ต้องทำงานด้วยความซับซ้อนในการสนับสนุนการเติบโตของแบรนด์ และการจัดการงานภายในองค์กร ซึ่งการนำ Asana มาใช้งาน ทำให้องค์กรมีระบบศูนย์กลางข้อมูลที่ทุกคนสามารถจัดลำดับความสำคัญและสร้างความรับผิดชอบในการทำงานที่สำคัญ พร้อมทั้งดำเนินกระบวนการที่สามารถนำไปใช้กับทุกคนในองค์กรได้ และส่งเสริมการสื่อสารภายในที่รวดเร็วและเชื่อมโยงกันทั่วทั้งบริษัท สรุปประเด็นสำคัญในการใช้ Asana ของ KENDO ปัญหาของ KENDO ที่เกิดขึ้น พนักงานของ KENDO ใช้เครื่องมือหลากหลายในการจัดการงาน ทำให้ยากต่อการมองเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด ส่งผลให้ทีมทำงานแบบแยกส่วนและผู้บริหารขาดข้อมูลที่สำคัญในการทำงาน KENDO กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่การจัดการงานผ่านอีเมลและสเปรดชีตไม่สามารถรองรับการทำงานของพนักงานได้ การขาดกระบวนการที่บูรณาการกันส่งผลให้เกิดกระบวนการทำงานที่ไม่เชื่อมโยงกัน ไม่มีเส้นตายในการทำงานชัดเจน และงานสำคัญและเร่งด่วนมักจะถูกมองข้าม โซลูชันของ Asana KENDO ใช้ Asana เป็นระบบศูนย์กลางข้อมูลที่พนักงานทุกระดับสามารถมองเห็นได้ว่าใครทำอะไรและเมื่อไหร่ ด้วยการขยายตัวของธุรกิจที่รวดเร็ว ระบบข้อมูลแบบรวมศูนย์นี้ช่วยให้ทีมจัดลำดับความสำคัญของงานที่สำคัญที่สุดเพื่อขยายธุรกิจของแบรนด์ได้ ทีมสามารถปรับปรุงกระบวนการ เช่น การสร้างปฏิทินการตลาดและการทำให้คำร้อง (Ticket request) ของ IT เป็นอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถทำงานสำคัญได้เร็วขึ้น ผู้บริหารสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาตามความรับผิดชอบให้กับทีมได้รวดเร็ว เพราะผู้บริหารมีข้อมูลอัปเดตและคำขออนุมัติที่มองเห็นได้ ผลลัพธ์ที่ได้ ประหยัดเวลาถึง 87 วันทำการ: KENDO ประหยัดเวลาไปได้ประมาณสามเดือนจากการประสานงานงานเมื่อเปรียบเทียบกับระบบก่อนหน้านี้ เพิ่มประสิทธิภาพ 58%: การเพิ่มจำนวนพนักงานที่ใช้ Asana ช่วยให้ KENDO ประหยัดเวลามากขึ้นถึง 58% ในปีเดียว สร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งขึ้น: ด้วยการสร้างโปรเจกต์ (Project) ใน Asana ทีมการตลาดสามารถมองเห็นภาพรวมของแคมเปญได้ทั้งหมด ทำให้สื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มโอกาสในการสร้างผลกระทบ และเชื่อมต่อกับลูกค้าได้ดีขึ้น “เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจที่ท้าทาย เราต้องทำงานอย่างรวดเร็ว แต่เราไม่สามารถทำได้หากไม่มีขั้นตอนที่ชัดเจนในการทำงาน ผมเชื่อว่าการนำกระบวนการต่างๆ เช่นที่เราสร้างใน Asana มาใช้ จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้” Romain Ehrhard CIO การประสานงานกับลูกค้าโดยตรงแบบดิจิทัล การทำงานร่วมกันในการปรับแต่งเนื้อหาและข้อความระหว่างทีมและช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะ การเปิดตัวสินค้าใหม่และแคมเปญส่งเสริมการขาย ที่ต้องทำงานประสานงานกันผ่านช่องทางดิจิทัล ทีมดิจิทัลของ KENDO ใช้ Asana ในการเชื่อมโยงทุกกิจกรรมบนเว็บไซต์ การตลาดแบบเน้น Performance และระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ทำให้ทีมงานสามารถทำงานร่วมกันและปรับกระบวนการทำงานให้คล่องตัวขึ้น เพิ่มผลกระทบของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ...
Continue readingAsana AI ผู้ช่วยอัจฉริยะในการบริหารงานและโปรเจกต์ของคุณ
ยินดีต้อนรับสู่ Asana AI ผู้ช่วยอัจฉริยะที่ออกแบบมาเพื่อยกระดับประสบการณ์การจัดการงานและโปรเจกต์ของคุณ ช่วยให้คุณทำงานได้อย่างชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น ทั้งการทำงานอัตโนมัติและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโปรเจกต์ของคุณ บทความนี้จะแนะนำภาพรวมเกี่ยวกับฟีเจอร์และสิ่งที่ Asana AI สามารถทำได้ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน! เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Asana AI คืออะไร? Asana AI คือ เครื่องมือผู้ช่วยอัจฉริยะที่ผสานเข้ากับแพลตฟอร์ม Asana เพื่อช่วยให้คุณจัดการงานและโปรเจกต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ Asana AI จึงสามารถทำให้งานประจำเป็นงานอัตโนมัติ ช่วยในการสร้างและแก้ไขงาน และจัดทำสรุปข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับโปรเจกต์ของคุณได้ ฟีเจอร์ของ Asana AI มีอะไรบ้าง? 1. สถานะอัจฉริยะ (Smart Status) รับข้อมูลพร้อมอัปเดตสถานะของโปรเจกต์และงานของคุณได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ติดตามข้อมูลได้ง่ายโดยไม่ต้องค้นหาข้อมูลทั้งหมดเอง 2. แชทอัจฉริยะ (Smart Chat) รับคำตอบที่มาจาก AI สำหรับคำถามเกี่ยวกับการจัดการโปรเจกต์ของคุณ ช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีข้อมูลครบถ้วน 3. ฟิลด์อัจฉริยะ (Smart Fields) ใช้ AI ในการกรอกข้อมูลสำคัญให้อัตโนมัติ เพื่อให้แน่ใจว่ารายละเอียดงานของคุณจะครบถ้วนและอัปเดตอยู่เสมอ 4. สรุปอัจฉริยะ (Smart Summaries) รับสรุปรายงานของโปรเจกต์ งาน และพอร์ตโฟลิโอของคุณแบบกระชับ ช่วยให้เข้าใจประเด็นสำคัญโดยไม่ต้องอ่านรายละเอียดยาว ๆ 5. ตัวแก้ไขอัจฉริยะ (Smart Editor) ปรับปรุงกระบวนการสร้างและแก้ไขงานด้วยคำแนะนำจาก AI ช่วยให้เขียนคำอธิบายงานได้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 6. โปรแกรมสร้างกฎอัจฉริยะ (Smart Rule Creator) สร้างรูปแบบ Workflow การทำงานของคุณให้เป็นอัตโนมัติ ด้วยกฎที่ปรับแต่งเองและขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการทำงานประจำวันได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 7. เป้าหมายอัจฉริยะ (Smart Goals) ปรับปรุงประสิทธิภาพและทำให้การตั้งเป้าหมายมีมาตรฐานยิ่งขึ้นด้วย Smart Goals ที่วิเคราะห์เป้าหมายปัจจุบันและเสนอแนวทางการพัฒนา เช่น การเพิ่มเกณฑ์ความสำเร็จ สรุปผลกระทบ ระบุเป้าหมายหลัก สนับสนุนเป้าหมายย่อย และกำหนดทีมที่รับผิดชอบ 8. โปรเจกต์อัจฉริยะ (Smart Project)...
Continue readingรู้จัก Kanban Boards คืออะไร? เครื่องมือสร้าง Work Management อย่างมีประสิทธิภาพ
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Kanban Boards คืออะไร? Kanban Boards คือ เครื่องมือที่ช่วยจัดการงานทั้งหมดของโปรเจกต์หรือของบุคคลนั้น ๆ เป็นเหมือนกระดานที่แบ่งออกเป็นคอลัมน์ เพื่อแสดงขั้นตอนการทำงานของแต่ละงาน โดยแต่ละงานจะถูกแสดงเป็นการ์ด (Card) ที่ระบุรายละเอียดของงาน เช่น ชื่องาน ผู้รับผิดชอบ กำหนดเวลา เป็นต้น ช่วยให้ทีมมองเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด ระบุคอขวดที่กำลังเป็นอุปสรรค และจัดลำดับความสำคัญของงาน การ์ดเหล่านี้จะถูกย้ายไปตามคอลัมน์ต่าง ๆ เพื่อแสดงสถานะของงานว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนใด เช่น To Do: งานที่ยังไม่ได้ทำ In Progress: งานที่กำลังดำเนินการอยู่ Done: งานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ที่มาของ Kanban Boards จากสายการผลิตสู่การจัดการโปรเจกต์ Kanban Boards มีต้นกำเนิดมาจากระบบการผลิตของบริษัท Toyota ในช่วงทศวรรษที่ 1940 โดย Taiichi Ohno ซึ่งเป็นวิศวกรชาวญี่ปุ่น ได้คิดค้นระบบนี้ขึ้นมาเพื่อใช้ในการจัดการสายการผลิต เพื่อควบคุมและจัดการงานและสินค้าคงคลังในทุกขั้นตอนของการผลิตอย่างเหมาะสมที่สุด ซึ่ง Kanban (คัมบัง) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่าการ์ด (Card) หรือก็คือ Card Board นั่นเอง แนวคิดหลักของ Kanban คือ การใช้บัตร (Card) หรือการ์ดขนาดเล็กเพื่อแสดงถึงปริมาณงานที่แต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตสามารถดำเนินการได้ เมื่องานหนึ่งเสร็จสิ้น บัตรนั้นจะถูกย้ายไปยังขั้นตอนต่อไป ทำให้ผู้ผลิตสามารถเห็นภาพรวมของกระบวนการผลิตทั้งหมดได้อย่างชัดเจน และช่วยให้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาแนวคิดของ Kanban ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการโปรเจกต์ (Project Management) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ เนื่องจาก Kanban สามารถช่วยให้ทีมงานเห็นภาพรวมของโครงการได้อย่างชัดเจน และช่วยให้ทีมงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องมือ Kanban Boards เหมาะกับใคร? Kanban Boards เป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้หลากหลายและมีประโยชน์ต่อบุคคลและทีมงานในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือเล็ก หรือแม้แต่บุคคลทั่วไปที่ต้องการจัดการงานส่วนตัว แต่ถ้าพูดถึง First Priority สำหรับทีมหรือคนที่ต้องมีไว้ใช้งาน เช่น ทีมที่ทำงานแบบ Agile: Kanban เป็นหนึ่งในวิธีการทำงานแบบ Agile...
Continue reading5 เคล็ดลับ ปรับองค์กรให้พร้อมรับมือกับยุค AI
“AI จะมาแย่งงานของคนจริงหรือไม่?” เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนถกเถียงและสงสัยกันมาอย่างยาวนาน แต่จากที่ข่าวสารและสิ่งที่ทุกท่านเห็นกันมาคงบอกได้แน่ ๆ ว่า AI เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในปัจจุบัน ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงการทำงาน แต่ก็ยังมีหลายองค์กร ยิ่งในประเทศไทยเอง ยังไม่ได้มีแผนการรับมือหรือการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการมาถึงของ AI ขนาดนั้น ซึ่งถ้าองค์กรของคุณกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง AI แต่ยังไม่รู้วิธีว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร? บทความนี้ช่วยคุณได้อย่างแน่นอน ในบทความนี้เราได้นำเนื้อหามาจาก Report ของทาง Asana ที่มีชื่อว่า ‘The State of AI at Work’ โดยที่จะมาพูดถึงเคล็ดลับในการเตรียมตัวรับมือกับ AI จากบริษัทชั้นนำด้าน AI กันอย่างเจาะลึก จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย! เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! 1. ยกระดับความเข้าใจใน AI ในองค์กร ลงทุนในด้านการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาทักษะ เพื่อให้องค์กรของคุณสามารถนำ AI มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานจำเป็นจะต้องมีความรู้ และทักษะในการใช้งานเพื่อดึงศักยภาพและประโยชน์จาก AI ออกมาให้มากที่สุด ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่สามารถสำเร็จได้ในครั้งเดียว แต่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เข้าใจถึงความสามารถของ AI ได้อย่างลึกซึ้ง 56% ของพนักงานในองค์กร กำลังเรียนรู้ และทดลองใช้งาน Generative AI ด้วยตนเอง จากการวิจัยของ Asana พบว่า 56% ของพนักงานกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับ Generative AI ด้วยตนเอง โดยที่ไม่มีการฝึกอบรมการใช้งานอย่างเป็นทางการ องค์กรควรที่จะต้องสนับสนุนพนักงานที่มีแรงจูงใจด้านนี้ ให้ขึ้นสู่การเป็นผู้นำในการขับเคลื่อน AI มาใช้ภายในองค์กร และยังสามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน พร้อมกับเป็นแรงผลักดันให้ทั่วทั้งองค์กรหันมาสนใจการใช้งาน AI มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม..การพัฒนาทักษะด้าน AI ไม่ควรตกอยู่ที่พนักงานเพียงฝ่ายเดียว องค์กรควรที่จะต้องสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับพนักงานของคุณด้วย เช่น การจัดหาระบบ AI ต่าง ๆ มาให้ใช้งาน การฝึกอบรม (Training) และการออกแบบโครงสร้างหรือกระบวนการทำงานที่สนับสนุนการใช้งาน AI ภายในองค์กรด้วย เมื่อทีมของคุณได้ใช้งาน AI ในหลาย ๆ...
Continue readingSpotify สตรีมมิ่งเพลงอันดับ 1 ที่ขับเคลื่อนโปรแกรมให้เติบโตด้วย Asana
ผลลัพธ์จากใช้งาน เพิ่มขึ้น 50% การผลิตแคมเปญโฆษณาให้กับลูกค้าทั่วโลก เพิ่มขึ้น 50% ต่อเดือน ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2 เท่า ประสิทธิภาพของ Project Manager ในองค์กรเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ด้วยกระบวนการสร้างแคมเปญโฆษณาที่กระชับมากยิ่งขึ้น ลดการทำงานแบบ Manual ลดการทำงานแบบ Manual ผ่านกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ การแจ้งเตือน และแบบฟอร์ม บริหาร Asana แบบอัตโนมัติ การบริหารผู้ใช้งาน Asana แบบอัตโนมัติ มอบสิทธิ์การเข้าถึง และการถอนสิทธิ์โดยอิงจากข้อมูลประจำตัวได้ง่าย ๆ Spotify บริษัทสตรีมมิ่งเพลงยักษ์ใหญ่ที่เปิดตัวในปี 2008 (พ.ศ. 2551) ครองอันดับ 1 ในด้านการสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมเพลงในปัจจุบัน ด้วยฐานผู้ฟังกว่า 456 ล้านคน ที่ช่วยผลักดันให้มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับศิลปินหลายล้านคน บริษัทมุ่งเน้นการสร้างรายได้ผ่านช่องทางหลัก อย่างการร่วมมือกับแบรนด์โฆษณาต่าง ๆ และการสมัครสมาชิก Spotify Premium นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในโปรเจกต์ใหม่ ๆ เช่น แพลตฟอร์มพอดแคสต์ชั้นนำ หนังสือเสียง และคอนเทนต์ต้นฉบับต่าง ๆ มากมาย พนักงานจำนวนมากของ Spotify ใช้ Asana เพื่อจัดการงานต่าง ๆ และเพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัท ซึ่งรวมถึงทีมสร้างรายได้ที่คอยผลิตแคมเปญโฆษณาสำหรับลูกค้าและพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ ไปจนถึงทีมไอทีที่คอยดูแลและมองหาโซลูชันให้พนักงานมีเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม Asana ช่วยให้พวกเขาทำงานร่วมกับเอเจนซี่ได้ง่ายยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยาก และช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมความคืบหน้าของโปรเจกต์ทั้งหมดเทียบกับเป้าหมายของบริษัท ทั้งนี้ Asana เป็นระบบ Project Management แบบมีศูนย์กลาง ที่มาพร้อมการจัดสรรทรัพยากรบุคคลแบบอัตโนมัติ เพื่อสนับสนุนทีมงานที่ทำงานจากระยะไกลทั่วโลก ในขณะที่พวกเขายังคงปฏิวัติวงการสตรีมมิ่งผ่านเสียงต่อไป “Asana ช่วยให้เราขยายการผลิตแคมเปญโฆษณาสำหรับ Spotify และรายงานผลกระทบของทีมที่นำไปใช้ประเมินผลการทำงานของทีมได้อย่างชัดเจน” Blair Wilson Senior Manager, Project Managment การบริหาร Asana แบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงแรมใน Milan...
Continue reading4 เคล็ดลับ ใช้งาน Asana ร่วมกับ Email อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
เครื่องมือสื่อสารภายในองค์กรนั้นมีอยู่มากมาย แต่เมื่อพูดถึงเรื่องการทำงาน อีเมลมักเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับทุกองค์กร วันนี้เราจะมาช่วยให้คุณทำงานร่วมกันได้อย่างชาญฉลาดมากยิ่งขึ้นโดยการผสมผสานระหว่างแพลตฟอร์ม Asana เข้ากับระบบอีเมลของคุณ ซึ่งจะมี 4 เคล็ดลับง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ 1. การอัปเดตข้อมูลผ่าน Email บน Asana ในแบบของคุณ คุณสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและจัดการโปรเจกต์บน Asana ได้ตามต้องการโดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบ Asana เพียงใช้การแจ้งเตือนผ่านทางอีเมล เพื่อติดตามงานและการอัปเดตที่สำคัญ โดยคุณสามารถเลือกความถี่และประเภทของการอัปเดตทางอีเมลที่คุณได้รับจาก Asana ได้ด้วยตัวเองดังนี้ การอัปเดตกิจกรรม (Activity updates) รับอีเมลเกี่ยวกับทุกการ @mention งานใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้คุณทำและการอัปเดตความคืบหน้าสำหรับงานที่คุณเกี่ยวข้อง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการอัปเดตข้อมูลงานใน Asana บ่อย ๆ การกล่าวถึง (Mentions only) คุณจะได้รับอีเมลทุกครั้งที่ถูก @กล่าวถึงในงานหรือการแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ระบบจะแจ้งเตือนเมื่อคุณได้รับข้อความหรือมีการมอบหมายงาน การสรุปรายวัน (Daily summaries) ได้รับภาพรวมประจำวันของงานที่คุณได้รับมอบหมายและวันครบกำหนดที่ใกล้จะถึง คุณจะเห็นการอัปเดตทั้งหมดเหล่านี้รวมอยู่ในอีเมลฉบับเดียว การรายงานรายสัปดาห์ (Weekly reports) หากคุณต้องการการอัปเดตที่ไม่ถี่จนเกินไป สามารถเลือกรับอีเมลแบบรายสัปดาห์ ที่มีรายงานสถานะเกี่ยวกับโปรเจกต์ใน Portfolio ของคุณ การอัปเดตเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะในวันที่คุณไม่มีเวลาเข้ามาใน Asana มากนัก และอยากบอกว่าข้อมูลทั้งหมดที่เราส่งแจ้งเตือนไปยังอีเมลของคุณนั้น ยังสามารถดูในกล่องข้อความของ Asana ได้ด้วยเช่นกัน 2. สร้างงานผ่าน Email ไปที่ My Tasks โดยตรง เป็นเรื่องง่ายมากที่จะพลาดอีเมลสำคัญไม่ว่าจะเป็นไฟล์ การแจ้งเตือน การอัปเดตโปรเจกต์ หรืออะไรก็ตาม หากคุณไม่มีวิธีเตือนความจำที่ง่ายดายในการย้อนกลับมาดูอีเมลอีกครั้ง อาจทำให้บางสิ่งที่สำคัญหลุดรอดไปได้ การสร้าง Tasks (งาน) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบันทึกรายการงานเหล่านั้น เพื่อให้คุณทราบว่าอะไรบ้างที่ต้องทำให้เสร็จเมื่อใดและใครเป็นผู้รับผิดชอบ Asana ช่วยให้คุณสร้าง Tasks งานใหม่ได้ง่าย ๆ ผ่านอีเมลของคุณได้ดังนี้ ส่งต่ออีเมลไปที่ x@mail.asana.com สิ่งนี้จะสร้างงาน (มอบหมายให้คุณ) ในพื้นที่ทำงานบน Asana ที่เชื่อมโยงกับที่อยู่อีเมลของคุณ คุณยังสามารถสร้างอีเมลใหม่และเปลี่ยนให้เป็นงานได้ โดยหัวเรื่องของคุณจะกลายเป็นชื่องาน ในขณะที่เนื้อหาอีเมลจะกลายเป็นคำอธิบายงาน และส่งไปที่ x@mail.asana.com...
Continue readingใช้งาน Asana แบบ Free VS Asana แบบ Premium ต่างกันอย่างไร?
Asana เป็นเครื่องมือ Project Management อันดับ 1 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับธุรกิจทุกขนาดและความต้องการที่หลากหลาย ซึ่งความแตกต่างระหว่าง Asana แบบ Free กับ แบบ Premium (คือ เสียเงินค่า License ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่) จะสัมพันธ์กับฟีเจอร์ในการทำงาน ความสามารถในการจัดการทีมและการจัดการโปรเจกต์ของคุณ หากคุณกำลังไม่แน่ใจว่า ระหว่างการใช้งาน Asana แบบ Free กับแบบ Premium แบบไหนจะเหมาะกับทีมหรือองค์กรของคุณมากกว่ากัน บทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการใช้งานทั้งสองแบบกันอย่างชัด ๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้งาน Asana ตัดสินใจกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! 1. User Limits (จำนวนผู้ใช้งาน) Asana Free เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ฟรีแลนซ์และธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) มีสมาชิกภายในทีมไม่เกิน 10 คน ที่ต้องการใช้งาน Asana เพื่อที่จะจัดการงานส่วนตัวหรือเริ่มต้นจัดการโปรเจกต์ภายในทีม Asana Premium เหมาะสำหรับทีมและองค์กรขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ พร้อมแพ็กเกจที่หลากหลาย เพื่อให้คุณสามารถเลือกแพ็กเกจที่เหมาะสมและตรงกับองค์กรของคุณมากที่สุด 2. Features (ฟีเจอร์การใช้งาน) Asana Free การจัดการงาน (Task Management) สามารถสร้าง Task งาน มอบหมายงานให้กับสมาชิกภายในทีมและกำหนดวันเสร็จสิ้นของงานหรือโปรเจกต์ของคุณได้ มุมมองโปรเจกต์ (Project Views) สามารถเห็นภาพรวมของโปรเจกต์ ตารางปฏิทินและลิสต์งานต่าง ๆ ได้ เครื่องมือการทำงานร่วมกัน (Collaboration Tools) สามารถแสดงความคิดเห็น ตอบกลับเกี่ยวกับงานและสามารถแนบไฟล์ได้ (จำกัดขนาดไว้ที่ 100MB ต่อไฟล์) รายงานแดชบอร์ด (Reporting Dashboard) มองเห็นรายงานแดชบอร์ดพื้นฐานและภาพรวมความคืบหน้าของโปรเจกต์ การเชื่อมต่อเบื้องต้น (Integration) สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ของบริษัทได้อย่างเช่น Slack, Google Workspace และ Microsoft Teams แต่เนื่องจากข้อจำกัดของฟีเจอร์แบบฟรี...
Continue reading