กู้วิกฤตเป็นโอกาส COVID-19 ดันกระแส E-commerce เฟื่องฟู

พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส COVID-19 ดันยอดขายออนไลน์ไทยโต 80%

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก จนหลายประเทศต้องออกมาตรการคุมเข้ม ยกเลิกกิจกรรมที่มีคนมารวมตัวกันจำนวนมาก ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด แม้กระทั่งขอให้ประชาชนอย่าออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น เป็นเหตุให้ธุรกิจในหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างกระทบกันไปตามๆ กัน 

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน

แต่ภายใต้วิกฤตก็ยังมีอีกช่องทางธุรกิจที่ได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกที่จะหลีกเลี่ยงแหล่งการชอปปิ้งที่มีผู้คนแออัด และหันมาสั่งซื้อของผ่านออนไลน์แทน

“ผู้บริโภคเปลี่ยนจากการซื้อของแบบออฟไลน์เป็นออนไลน์ และต่อให้วิกฤตครั้งนี้สิ้นสุดลงพฤติกรรมนี้ก็จะไม่เปลี่ยนไป”

“ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมธุรกิจอีคอมเมิรซ์”

Zhong Zhenshan, Vice-president of emerging technology research, IDC.

นอสตร้า โลจิสติกส์ เผยสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ “โควิด-19” ดันยอดสั่งสินค้าออนไลน์ในประเทศโตสวนกระแสถึง 80% ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคหลีกเลี่ยงแหล่งช้อปปิ้งแออัด หันไปเลือกสั่งสินค้าออนไลน์แทน

ที่มา : Bangkokbiznews

“ภายใต้วิกฤตดังกล่าวที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อปัจจัยบวกที่ถือว่าเป็นโอกาสต่อวงการโลจิสติกส์และการขนส่ง จากพฤติกรรมผู้บริโภคหันไปเลือกสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ การบริการจัดส่งด่วนมีแนวโน้มกลายเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นมาก นับเป็นโอกาสและความท้าทายของทั้งผู้ค้ารายใหญ่ รายย่อย และธุรกิจขนส่งที่จะเตรียมความพร้อมรับมือทั้งในเรื่องปริมาณการจัดส่งสินค้าจากระบบออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการรับบริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง และปลอดภัย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งสินค้าจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือในการจัดการและวางแผนการจัดส่งสินค้าที่ดี เพื่อให้การกระจายสินค้าในแต่ละวันเป็นไปอย่างราบรื่น” -นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด กล่าว

สิ่งที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับผลสำรวจของ กสทช. ซึ่งเปิดเผยว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้งาน แอปพลิเคชันของสำนักงานกสทช. จำนวน 2,554 คน พบว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประชาชนมีการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนมกราคม 2563 เกินกว่า 80% โดยสัดส่วนที่โตขึ้นมาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น

ตลาดอีคอมเมิรซ์เติบโตหนักในวิกฤต

ซึ่งก็ไม่เพียงแต่ที่ไทยเท่านั้น ที่ COVID-19 ทำคนแห่ช๊อปออนไลน์ ล่าสุด Amazon เร่งจ้างพนักงานส่งของเพิ่มหนึ่งแสนอัตรา พร้อมเพิ่มค่าแรงพิเศษ

  • อเมซอน บริษัทเว็บไซต์ขายของอีคอมเมิรซ์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ประกาศจ้างงานพนักงานส่งของและพนักงานดูแลคลังสินค้าเพิ่มอีกราว 1 แสนอัตรา เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่รองรับปริมาณคำสั่งซื้อขนาดมหาศาลของผู้บริโภคในประเทศ ในขณะที่สาขาภูมิภาคอื่นก็มีการปรับเพิ่มค่าแรงพิเศษให้แก่พนักงานเช่นกัน

หากแต่สำหรับธุรกิจที่เน้นค้าปลีกก็ต้องปรับระบบยกใหญ่ ย้อนกลับไปในช่วงที่ COVID-19 แพร่ระบาดอย่างหนักในจีน ผู้ประกอบการทั้งเอกชน และประชาชนจีนต่างต้องปรับตัว โดยใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอรม์ดิจิตัลต่างๆ มาเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจและชีวิตประจำวัน

  • สตาร์บัคที่จีนปิดสาขาชั่วคราว 2,000 กว่าสาขา และได้เปลี่ยนไปให้บริการสั่งซื้อเครื่องดื่ม อาหารผ่านช่องทางออนไลน์ 
  • Louise Vuitton กับ Chanel สองแบรนด์หรูต่างปรับตัว โดยให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่าน Wechat ได้ และจัดส่งสินค้าให้ตามที่หมายที่ระบุ ในขณะที่ Gucci เดิมทียังไม่เปิดช่องทางขายแบบออนไลน์ ก็เน้นด้านการพัฒนาคอนเท้นต์ และสื่อสารออนไลน์ไปทางลูกค้าว่า กำลังพัฒนาช่องทางดิจิตัล เพื่อที่จะสามารถซื้อขายผ่านทางออนไลน์ได้ด้วยเช่นกัน

สั่งอาหารเดลิเวรี่ มอบความสะดวกในสถานการณ์โควิด-19

ไม่เพียงแต่ธุรกิจออนไลน์ที่เฟื่องฟู เพราะธุรกิจอาหารเดลิเวรี่ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

  • FoodPanda ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวรียอดนิยมของไทยก็ได้ประกาศเชิญชวนพ่อค้าแม่ค้า ร้านอาหาร ให้มาเข้าร่วมเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการค้าขายด้วยกัน ทั้งยังผนึกกำลังกับ AIS ที่ได้ตอกย้ำความเป็นบริษัทเครือข่ายชั้นนำที่เข้าใจทุกเจเนเรชัน พร้อมให้ลูกค้าอุ่นใจทุกช่วงเวลา อำนวยความสะดวกในการสั่งอาหาร และมีสิทธิพิเศษออกใหม่ออกมามากมาย

เห็นได้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ทำให้กระแสสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก การรู้จักใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ในการโปรโมทธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ 

ท้ายสุดนี้เราก็มีเครื่องมือในการบริหารจัดการคำสั่งซื้อที่มาจากหลายช่องทางมาแนะนำ

FoodPanda บริษัทจัดส่งอาหารออนไลน์ระดับโลก จัดการกับการสอบถามข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดผ่าน Zendesk Support และ Zendesk Chat ซอฟต์แวร์ Customer Service ชั้นนำของโลกที่รวมทุกช่องทางการติดต่อจากลูกค้าในหน้าแพลตฟอรม์เดียว ทำให้ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อผ่านโซเชียลมีเดียไหน เจ้าหน้าที่ก็จะสามารถประสานงานและรับเรื่องไว้ได้ร่วมกันอย่างทันท่วงที

คำร้องขอความช่วยเหลือของลูกค้าส่วนใหญ่มักจะเข้ามาในช่วงเวลาอาหาร อย่างช่วงกลางวันและช่วงเย็น 80% ของคำร้องขอส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากลูกค้าสั่งซื้ออาหารเสร็จแล้ว แต่มีความกังวลว่าอาหารของพวกเขาจะมาถึงไม่ทันเวลา เนื่องจากทาง Foodpanda ไม่สามารถรู้กระบวนการของคำสั่งซื้อได้ ทำให้เจ้าหน้าที่จำเป็นที่จะต้องสื่อสารกับร้านอาหารที่เป็นพันธมิตรและผู้ขับขี่ทุกครั้งเมื่อมีคำถามเกี่ยวกับสถานะการสั่งซื้อเข้ามา นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ live chat เข้ามามีบทบาทสำคัญ

Live Chat เป็นช่องทางที่ง่ายและรวดเร็วที่สุดสำหรับลูกค้าในการติดต่อกับเรา ทุกครั้งที่ลูกค้ามีปัญหา เจ้าหน้าที่สามารถแชทตอบกลับลูกค้าได้หลายรายพร้อมกัน ดังนั้นเวลารอของลูกค้าจะลดลงและลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น”

Zendesk Chat ช่วยให้เราสามารถรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้า (CSAT) ไว้ได้ถึง 90% ลูกค้าจึงมีความสุข”

– Jorge Vernetta, Global Operaions Manager at Foodpanda

และนี่ก็เป็นแค่อีกหนึ่งตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มจุดแข็ง ล้างข้อบกพร่อง Zendesk ยังมีฟีเจอร์เด่นๆ ที่ตอบโจทย์การบริการลูกค้าอีกมากมาย ที่ช่วยให้องค์กรรับมือกับคำสั่งซื้อง่ายๆ จากทุกช่องทาง และสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้าในช่วงเวลาวิกฤตนี้

  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02-030-0066
  • 096-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณเล็ก), 092-262-0475 (คุณตอง)
  • support@dmit.co.th

Official LINE