Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

SUPALAI ทรานฟอร์มการทำงานไร้อุปสรรคด้วย Google Workspace

About Supalai บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ้าน ทาวน์โฮม คอนโดมิเนียม และอื่น ๆ ในปัจจุบันบริษัท ศุภาลัยก้าวขึ้นมาเป็น Top 5 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ๆ โดยมีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ดังนี้ บ้าน ศุภาลัย ออกแบบรองรับทุกไลฟ์สไตล์ของคนในครอบครัว สบายใจด้วยวัสดุได้มาตรฐานสากลและระบบรักษาความปลอดภัย ทาวน์โฮม ศุภาลัย บ้านฟังก์ชันครบ ทำเลเดินทางสะดวก พื้นที่พักผ่อนปรับเปลี่ยนได้ พร้อมห้องครัวที่รองรับทั้งครัวหนักและเบา อุ่นใจด้วยกล้องวงจรปิด กับสภาพแวดล้อมและสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกบ้านศุภาลัย คอนโดมิเนียม ศุภาลัย นิยามใหม่ของชีวิต Urban Living คอนโดฯ พื้นที่กว้างฟังก์ชันลงตัวกับทำเลคุ้มค่าน่าอยู่ น่าลงทุน เชื่อมต่อทุกการเดินทาง รายล้อมด้วยความสะดวกโดยรอบ  ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัย ทำเลดี สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทำให้ในปัจจุบันบริษัท ศุภาลัยกลายมาเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานหลายสิบปี Experience with Google Workspace ความต้องการความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นจุดริเริ่มที่ทำให้บริษัท ศุภาลัยตัดสินใจใช้งาน Google Workspace ซึ่งเรียกได้ว่า “นี่เป็นการตัดสินใจอย่างถูกต้อง” เพราะ Google Workspace ช่วยให้บริษัทไม่ต้องลงทุนด้าน Security, Infastructure, System, Network เพิ่มเติม และที่สำคัญ Google Workspace เปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของพนักงานในบริษัท ศุภาลัยได้อย่างลงตัว เพราะพนักงานสามารถทำงานได้จากทุกสถานที่และ Collaborate ร่วมกันได้อย่างสะดวก ทำให้ในปัจจุบัน Google Workspace กลายเป็นเครื่องมือและปัจจัยหลักที่ช่วยให้พนักงานในบริษัทศุภาลัยสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการใช้งานแอปพลิเคชันใน Google Workspace พนักงานมีการใช้แอปพลิเคชัน Gmail, Google Meet, Google Forms, และ Google Drive อยู่เป็นประจำ ซึ่งแอปพลิเคชันเหล่านี้ตอบโจทย์ในการทำงานได้แบบครบวงจร สะดวกสบายในการเก็บข้อมูล ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ไร้กังวลเรื่องไฟล์หมดอายุ และหมดปัญหาเรื่องการทำงานแบบยึดติดสถานที่และความปลอดภัยต่าง ๆ  Supalai...

Continue reading

ทำความรู้จักกับ No Code Platform คืออะไร? ทำไมถึงได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้

ทำความรู้จักกับ No Code Platform คืออะไร? และทำไมถึงได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บวกกับการแข่งขันด้านความไวของธุรกิจที่มีมากขึ้น ทำให้หลายธุรกิจมองเห็นถึงความสำคัญในการนำโซลูชันมาช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานหรือพัฒนาธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ ระบบต่างๆ หรือแอปพลิเคชัน ซึ่งในการพัฒนาแต่ละครั้งมักจะมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก จำเป็นต้องพัฒนาด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายส่วน เช่น การออกแบบ process การเขียนโค้ดด้วยภาษาต่างๆ หรือการออกแบบ UX/UI ที่ต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งาน ล้วนแล้วแต่ใช้ระยะเวลาแทบทั้งสิ้น และหากองค์กรที่ไม่มีนักพัฒนาโปรแกรม หรือไม่มีความรู้ในการเขียนโปรแกรมเลยล่ะ …. พอจะมีตัวช่วยอะไรบ้าง?… No-Code Platform คืออะไร ด้วยปัญหามากมายเหล่านั้น เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์มากมาย ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประเภท “No-Code Platform” ขึ้นมา ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ Graphical User Interface (GUI) ในลักษณะที่เป็นการคลิก ลาก วาง ปุ่มหรือเทมเพลต ด้วยเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์กับบุคคลหรือองค์กรที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน ให้สามารถพัฒนาโปรแกรมได้ด้วยตนเอง หรือแม้แต่องค์กรที่มีโปรแกรมเมอร์ ก็ยังเลือกใช้ No-Code Platform มาต่อยอดเพื่อช่วยทุ่นแรง เนื่องจากต้องการย่นระยะเวลา เพิ่มความสะดวก และยังช่วยลดต้นทุนของทรัพยากรด้านต่างๆ ได้อีกด้วย ตัวอย่างซอฟต์แวร์ ที่เป็น No-Code Platform ตัวอย่างแพลตฟอร์มแบบไม่ต้องเขียนโค้ด ที่นักพัฒนาสร้างขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์ในโซลูชันที่แตกต่างกันไปมีมากมายหลายประเภทให้เลือกใช้ เช่น Website– สร้างเว็บไซต์ที่ไม่ต้องเขียนโค้ด ลักษณะการทำงานแบบ Drag and Drop สามารถปรับแต่ง element ต่างๆได้ตามต้องการ: WordPress, Webflow เป็นต้นEmail automation– เครื่องมือการส่งอีเมลแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติ สามารถปรับรูปแบบและหน้าตาในการสร้างอีเมลนั้นๆได้ เป็นลักษณะ Drag and drop เช่นกัน ตัวอย่างเช่นการส่งแจ้งเตือน welcome email, order confirmations, shipping confirmations และอื่นๆ:  Mailchimp, Mailerlite, Active Campaign เป็นต้นChat automation– จัดการการตอบแชทอัตโนมัติ หรือป้อนข้อมูลเป็น auto chat...

Continue reading

The Fastest Workflow App for Smart Enterprises: ยกระดับการทำงานรูปแบบอัตโนมัติด้วยนวัตกรรมการสร้างแอปไร้โค้ดจาก AppSheet

คุณอยากมีแอปพลิเคชันเป็นขององค์กรไหม? แอปพลิเคชันที่คุณสามารถสร้างเองได้ ออกแบบฟังก์ชันเองได้ ไม่ต้องรอโปรแกรมเมอร์อีกต่อไป เตรียมพบกับงานอีเวนต์ครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งแรกในประเทศไทย กับงาน “The Fastest Workflow App for Smart Enterprises: ยกระดับการทำงานรูปแบบอัตโนมัติด้วยนวัตกรรมการสร้างแอปไร้โค้ดจาก AppSheet” by Demeter ICT, Official Certified Partner in Thailand รับประกันเนื้อหาเกี่ยวกับ AppSheet เน้น ๆ จัดหนัก จัดเต็มแน่นอน ห้ามพลาด ! โดยในงานนี้ Demeter ICT ได้ยกทัพเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้าน AppSheet มาให้ความรู้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็น การแนะนำเกี่ยวกับ AppSheet แพลตฟอร์มยอดฮิตที่กำลังมาแรงแซงทางโค้งทั้งในตลาดไทยและต่างประเทศ  การนำ AppSheet มาสร้างแอปพลิเคชันโดยเริ่มจากการวิเคราะห์กระบวนการภายในองค์กรสู่วิธีการสร้างแอปจริงแบบ Step by Step การใช้ประโยชน์จาก Google AI สร้าง Chatbot ด้วย AppSheet โดยที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มแต่อย่างใด สร้างจาก AppSheet ได้เลย ฟรี ! ผลลัพธ์ของการใช้งาน AppSheet จากกรณีศึกษาจากลูกค้าผู้ใช้งานจริงของเรา พร้อมโปรโมชันสุดพิเศษสำหรับผู้ที่มาร่วมงานอีเวนต์นี้เท่านั้น ! และเพื่อตอกย้ำคุณประโยชน์และความสำเร็จของ AppSheet มากขึ้นไปอีก เราได้นำบทพิสูจน์จากบริษัทชื่อดังระดับโลกอย่าง Globe Telecom มายืนยันผลลัพธ์ของ AppSheet อีกเสียงว่าช่วยพัฒนาองค์กรได้จริง พนักงานสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้มากกว่า ไม่จำกัดจำนวนแอปพลิเคชัน สร้างได้แบบ Unlimited 200 แอป ลดระยะเวลาการประมวลผลจากการสร้างแอปแบบดั้งเดิมได้ 79.8 % องค์กรสามารถลดต้นทุนได้สูงสุดถึง 6.7 ล้านดอลลาร์ ไม่เพียงแค่นี้ AppSheet ยังช่วยพัฒนาส่วนต่าง ๆ ขององค์กรของคุณได้อีกมากมาย  หากคุณอยากทำความรู้จัก AppSheet เพิ่มเติม อยากรู้ว่า AppSheet พัฒนาการทำงานได้อย่างไร ให้ผลดีแค่ไหน...

Continue reading

ปรับโฉมฟีเจอร์ Location picker ช่วยจัดการย้ายไฟล์บนไดร์ฟให้เร็วกว่าเดิม

ปรับโฉมฟีเจอร์ Location picker จัดการย้ายไฟล์บนไดร์ฟให้เร็วกว่าเดิม มาแล้ว! location picker หรือ เครื่องมือเลือกตำแหน่งการย้ายไฟล์ โฉมใหม่! ของ Google Drive เป็นการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ UI บนเบราว์เซอร์  ที่จะช่วยให้คุณเลือกจัดการไฟล์หรือโฟล์เดอร์ไปยังตำแหน่งปลายทางที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่ารูปแบบเดิม รูปแบบ location picker ใหม่เป็นอย่างไร? แถบบนของหน้าต่าง location picker จะมี 3 หัวข้อให้คุณเลือก นั่นคือ Suggestion (แนะนำ), Starred (ที่ติดดาว) และ All location (พื้นที่ทั้งหมด) เพื่อให้คุณเข้าถึงโฟล์เดอร์ที่ต้องการจะย้ายได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น แสดงรายละเอียดเส้นทางของไฟล์ไปยังโฟล์เดอร์ที่ย้าย และหากโฟล์เดอร์ที่คุณเลือกนั้นเป็นโฟล์เดอร์ว่าง จะปรากฎด้วยรูปภาพโฟล์เดอร์ว่างเปล่า หรือหากคุณอยากจะสร้างโฟล์เดอร์ใหม่ก็ทำได้เช่นเดียวกัน หากในแถบ Suggestion ได้แสดงโฟล์เดอร์ที่คุณคาดว่าไม่น่าเกี่ยวข้อง คุณสามารถทำการลบโฟล์เดอร์นั้นออกจากการแนะนำได้เลย เมื่อเสร็จสิ้นการย้ายไฟล์ จะแสดงรายละเอียดที่แถบสีดำด้านล่างซ้าย ว่าคุณได้ย้ายไฟล์ไปที่โฟล์เดอร์นั้นเรียบร้อยแล้ว หากไฟล์ที่คุณมีเป็นไฟล์ชนิด “view only (สำหรับดูเท่านั้น)” จะไม่สามารถทำการจัดการย้ายไฟล์ได้ เนื่องจากคุณไม่ได้เป็นเจ้าของไฟล์ดังกล่าว วิธีการโอนย้ายไฟล์ ด้วย location picker รูปแบบใหม่ ใน 3 ขั้นตอน คลิกขวาที่ไฟล์ที่ต้องการจะโอนย้าย เลือก > Move to 2. เลือกที่แถบ Suggestion, Starred, หรือ All location ได้ตามต้องการ แล้วเลือกโฟล์เดอร์ปลายทางที่ต้องการจะย้ายไฟล์   3. คลิก Move เป็นอันเสร็จสิ้นการย้ายไฟล์ และ จะแสดงรายละเอียดที่แถบสีดำด้านล่างซ้าย ว่าคุณได้ย้ายไฟล์ไปที่โฟล์เดอร์นั้นเรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่า สำหรับการอัปเดตของ location picker ซึ่งการใช้งานก็จะคล้ายๆกับรูปแบบเดิมเลย เพียงแต่มีแถบ  Suggestion, Starred, และ All location เพิ่มขึ้นมา โดย Google บอกอีกว่าการพัฒนานี้ก็เพื่อให้เข้าถึงไฟล์นั้นๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว...

Continue reading

สรุป CX Trends 2023 ที่ธุรกิจไม่ควรพลาด มีอะไรบ้าง มาดูกัน!

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 บริษัท Demeter ICT ร่วมกับ Zendesk ได้จัดงาน CX Trends 2023 ขึ้นที่โรงแรม Bangkok Marriot Marquis Queen’s Park เป็นการเผยแพร่การสำรวจของ Zendesk ที่ทำเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้นับเป็นปีแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย  โดย Zendesk ได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าและธุรกิจมากกว่า 8,400 ราย พร้อม benchmark ข้อมูลลูกค้ากว่า 100,000 องค์กร เกี่ยวกับความคิดเห็นและเทรนด์ของ Customer Experience (CX) ในปีนี้ เทรนด์ทั้ง 5 ที่กำลังมาแรงในปีนี้จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ในบทความนี้เราจะมาสรุปให้ทุกคนได้อ่านกัน เทรนด์ที่ 1 : การนำ AI / BOT มาเพิ่มประสบการณ์ลูกค้า 65% ของผู้นำธุรกิจเชื่อว่าเทคโนโลยี AI ที่ใช้อยู่แสดงผลลัพธ์ที่มีความเป็นธรรมชาติและเหมือนมนุษย์มากขึ้น 77% ของผู้บริโภคกล่าวว่า BOT มีประโยชน์ในการตอบคำถามง่าย ๆ  71% ของผู้บริโภคเชื่อว่า BOT ช่วยให้ได้รับการตอบกลับที่เร็วขึ้น และ 67% ของผู้บริโภคเชื่อว่า BOT มักจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง การนำ AI หรือ BOT มาเพิ่มประสบการณ์ลูกค้า เกิดจากความคาดหวังของลูกค้าที่ต้องการบริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง และเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ลูกค้าคุ้นเคยกับการเข้าถึงช่องทางออนไลน์ในช่วง Lockdown ที่ผ่านมา  ในส่วนของแบรนด์เองก็สามารถนำ AI มาช่วยในการสร้างการทำงานแบบอัตโนมัติ อย่างการแนะนำลูกค้า การนำ BOT มาช่วยในการตอบคำถามที่พบบ่อย ซึ่งจะช่วยลดภาระงานของพนักงานให้ไปจัดการในเรื่องที่ซับซ้อนกว่าได้ เทรนด์ที่ 2 : เรื่องของประสบการณ์การสนทนากำลังมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ ในใจของผู้บริโภค 70% ของผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ที่สามารถให้ประสบการณ์แบบต่อเนื่อง (Seamless Experience)...

Continue reading

เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ในองค์กร ด้วย “Annoucement Only” จาก Google Chat

เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ในองค์กร ด้วยฟีเจอร์ “Annoucement Only” จาก Google Chat สำหรับองค์กรที่ใช้งาน Google Workspace อยู่ฟังทางนี้ ล่าสุด! Google ได้พัฒนาและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ “Announcement Only (การประกาศเท่านั้น)” ใน Google Chat เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่มีจุดประสงค์“สื่อสารรูปแบบระบบทางเดียว (one-way communication)” ซึ่งอาจประยุกต์การใช้งานเป็นลักษณะการประกาศข่าวสารหรือประชาสัมพันธ์ข้อมูลภายในองค์กร ที่สามารถต่อยอดการใช้งานได้หลายฝ่าย ตัวอย่างเช่น แผนก HR แผนก IT เป็นต้น  ฟีเจอร์ Announcement Only คืออะไร? ประกาศล่าสุดสำหรับเดือนเมษายนนี้ Google ได้ทำการพัฒนาฟังก์ชั่นการกำหนดค่าการใช้งานเพิ่มเติม สำหรับ Spaces ใน Google Chat นั่นก็คือ “Annoucement only (การประกาศเท่านั้น)” ผู้ใช้งานสามารถกำหนดให้แต่ละ space นั้นเป็นรูปแบบ “การสื่อสารรูปแบบระบบทางเดียว” เป็นการสื่อสารในลักษณะที่ผู้ส่งเป็นผู้ให้ข่าว และมีอิทธิพลต่อผู้รับเพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถสื่อสารโต้ตอบได้ การกำหนดค่าให้ space เป็น Announcement only นั้นสามารถทำได้โดย Space Manager เท่านั้น ที่มีสิทธิ์กระทำได้ มีดังนี้  กำหนดค่า space นั้นๆ ให้เป็นสิทธิ์ของ  Space Manager ที่สามารถกระทำได้ฝ่ายเดียว การโพสต์ การตอบกลับ (reply) การเพิ่มไฟล์ มอบหมายสิทธิ์ในการโพสต์หรือการกระทำอื่นๆให้กับสมาชิกใน space ได้ การตั้งค่าเปิดใช้งานฟีเจอร์ Announcement Only การกำหนดค่าเป็น Announcement only สามารถทำได้ตั้งแต่การสร้าง space ใหม่ขึ้นมา และทำเครื่องหมายที่ check box “only Space Managers can post.” ด้านล่างของหน้าต่าง create a space...

Continue reading

สรุป AppSheet คืออะไร ? ทำอะไรได้บ้าง ? (ฉบับเข้าใจง่าย)

AppSheet ถือได้ว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพูดถึงและกำลังมาแรงแซงทางโค้งอย่างมากในประเทศไทยของเรา เพราะเพียงแค่เดือนเดียว Keyword คำว่า “AppSheet” ถูกค้นหาไปมากกว่า 3 หมื่นครั้ง  แล้วทำไม AppSheet ถึงกำลังได้รับความนิยมมากขนาดนี้กันนะ ? วันนี้ Demeter ICT จึงได้ทำสรุปฉบับเข้าใจง่าย ที่ไม่ว่าจะมือใหม่หัดใช้หรือคนที่ต้องการทำความรู้จักเพิ่มเติมว่า AppSheet จริง ๆ แล้วคืออะไร หน้าตาเป็นอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้ท่านได้เข้าใจและเห็นภาพรวมกันชัด ๆ ไปเลย ! AppSheet คืออะไร ? AppSheet คือ เครื่องมือสร้างแอปพลิเคชันแบบเร็วที่สุดโดยที่คุณไม่ต้องมีทักษะการเขียนโค้ดแต่อย่างใด เพราะ AppSheet นั้นคือ No-Code Platform แบบ 100% เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่จากค่าย Google ที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว AppSheet ทำอะไรได้บ้าง ? AppSheet สามารถสร้างแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลที่คุณจะต้องนำมาใช้งานก็มาจาก Google Sheets ที่คุณใช้อยู่ทุกวันนั่นแหละ เพียงแต่ว่าคุณนำข้อมูลเหล่านี้มาสร้างกระบวนการการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำงานของคุณง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดย AppSheet สามารถรองรับได้ทั้ง Desktop version และ Mobile version เลย Demeter ICT สรุปให้สั้นๆ ว่า AppSheet สามารถ สร้างแอปพลิเคชันได้ สร้าง Workflow Automation ได้ สร้าง SMS, Bot, Push notifications อัตโนมัติได้ เชื่อมต่อกับข้อมูลได้หลากหลายประเภท เช่น Excel, Dropbox, Box, และ Saleforce.com ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น Google Sheets เท่านั้น บันทึกข้อมูลจาก Google Forms Barcode ลายเซ็น...

Continue reading

สรุปสาระสำคัญจากงานสัมมนา Harnessing The Power of Collaboration by Google Workspace

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา บริษัท Demeter ICT ได้มีโอกาสจัดงานสัมมนาสุดพิเศษ ณ ออฟฟิศ Google Thailand ซึ่งได้รับความสนใจอย่างล้นหลามเลยทีเดียว เรียกได้ว่างานดีๆ แบบนี้ไม่ได้มีมาบ่อยๆ แต่มีอีกแน่นอน! สำหรับงานสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นในหัวข้อ “Harnessing The Power of Collaboration: สร้างวิถีการทำงานให้ชาญฉลาด ไร้อุปสรรคจาก Silo ด้วย Google Workspace” เพื่อส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ภายในองค์กรไม่ว่าจะระดับใดก็ตาม ทั้งผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือพนักงานทั่วไป อีกทั้งการ Collaboration นี้ยังสามารถช่วยลดต้นทุนจากการลงทุนหลายระบบแบบ Silo มาอยู่ในระบบเดียวกับ Google Workspace ได้อีกด้วย ไม่เพียงแค่นั้น ภายในงานสัมมนา Demeter ICT ได้มีการนำ AppSheet หนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ Google ที่ดีมีเตอร์ ไอซีที ของเราได้ให้บริการมาสาธิตวิธีการต่อยอดการทำงานจาก Google Workspace ให้ทุกท่านสามารถสร้างสรรค์กระบวนการทำงานในองค์กรให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่าง Process การทำงานที่นำ Google Workspace + AppSheet + Looker Studio มาประยุกต์ใช้เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1. ทำงานประจำวันด้วย Google Workspace Google Docs – สร้างสรรค์เอกสาร Google Forms – เก็บข้อมูล Google Sheets – นำข้อมูลออกมาแสดงผลในรูปแบบตาราง 2. ต่อยอดการทำงานด้วยการสร้าง Application สำหรับการทำงานที่เป็นอัตโนมัติด้วย AppSheet Idea → Application (ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด เพราะ AppSheet เป็น No-code...

Continue reading

อัปเกรด Customer Journey ด้วย Sunshine Conversations จาก Zendesk

คุณอาจจะเคยได้ยินมาว่าการทำธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้ บริษัทไหนที่สามารถมอบการบริการสุดประทับใจหรือสร้างประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมายให้กับลูกค้าได้ (Customer Experience) จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการขายและนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น ถึงอย่างนั้นเรื่องเหล่านี้ก็ไม่ใช่อะไรที่แค่คิดแล้วออกแบบ Customer Journey ก็จะทำให้เกิดขึ้นจริงได้ในทันที ตรงกันข้าม คุณจะพบว่ามีแต่จุดที่หาทางลงไม่ได้อยู่เต็มไปหมด แล้วจะดีกว่าไหม หากว่าคุณสามารถยกระดับ Customer Journey ของคุณให้สามารถสร้างกิจกรรมทางการตลาด ปิดการขาย ไปจนถึงการซัพพอร์ตและรับเรื่องเวลาลูกค้ามีปัญหาทั้งในและนอกเวลาทำการได้ โดยที่ทุกระบบทุกข้อมูลต่างเชื่อมต่อกันอย่างครบวงจร ในบทความนี้ เราจะมายกตัวอย่าง Customer Journey ตลอดจนแนะนำโซลูชันใหม่ล่าสุดของ Zendesk ที่จะช่วยทลายข้อจำกัดที่องค์กรเกือบร้อยทั้งร้อยต้องเผชิญ เรียกได้ว่าแบรนด์ไหนอยากอัปเกรด Customer Journey ห้ามพลาด! เริ่มด้วยตัวอย่าง Customer Journey ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซแห่งหนึ่ง 1. สมมติว่าแบรนด์ A ได้ออกแบบ Customer Journey โดยเริ่ม Touchpoint แรกด้วยการยิงโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดียไปยังลูกค้ากลุ่มหมายเป้าหมาย และคุณสมชายที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ได้เห็นจึงสนใจ 2. คุณสมชายจึงกดแชทบนโฆษณาเข้ามาขอคุยกับแบรนด์ผ่าน Facebook Messenger หรือ LINE OA 3. ทีม Customer Service สามารถตอบกลับได้ทันทีแบบไม่ต้องถามว่า คุณสมชายสนใจโปรโมชันที่มาจากโฆษณาที่กดมาใช่หรือไม่ 4. คุยไปคุยมา คุณสมชายขอคิดดูก่อน แต่ในระหว่างคิดสองสัปดาห์ก็มีข้อความและรูปภาพสวย ๆ จากระบบ Marketing Automation ไปกระตุ้นความอยากซื้อของคุณสมชายบน LINE OA จนในที่สุดคุณสมชายก็ได้ติดต่อกลับมาอีกครั้ง 5. แบรนด์ปิดการขายกับคุณสมชายได้ด้วยทีม Customer Service ส่งรูปภาพ Carousel สวย ๆ ให้คุณสมชายกดเข้าไปดูได้จากภายในแชท โดยไม่จำเป็นต้องออกจากแพลตฟอร์มเดิมเลยแม้แต่น้อย 6. คุณสมชายกดสั่งซื้อพร้อมชำระเงิน ด้วยระบบที่ลิงก์กับเว็บอีคอมเมิร์ซจากภายในแชท  7. ระบบอีคอมเมิร์ซส่งข้อความยืนยันไปที่แชทของคุณสมชายถึงรายการที่สั่งซื้อแล้ว 8. ระหว่างคุณสมชายรอสินค้าจัดส่ง ก็จะมีข้อความยิงจากระบบโลจิสติกส์หรือระบบขนส่งของแบรนด์ไปแจ้งสถานะการจัดส่ง โดยที่คุณสมชายไม่ต้องถาม จนคุณสมชายได้รับสินค้า 9. คุณสมชายเปิดกล่องมาดูปรากฏว่าสินค้าชำรุด ต้องการคืนสินค้าหรือเปลี่ยนสินค้า จึงเข้าไปหน้าเว็บอีคอมเมิร์ซเพื่อติดต่อ แต่ไม่อยากคุยโทรศัพท์ จึงกดปุ่มแชทที่หน้าเว็บไซต์แทน ณ...

Continue reading