Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

Customer Experience Trends 2021 ปรับให้ทัน ก่อนตกยุค

ไม่เพียงแต่โควิด19 จะเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต ไลฟ์สไตล์ หรือการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันของเราเท่านั้น ภาวะทางเศรษฐกิจหรือแม้แต่การเข้าสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงคุณค่าของตัวเองมากขึ้น ความคาดหวังที่มีต่อฝ่ายบริการก็เพิ่มพูนมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน Zendesk บริษัท Customer Service Software ที่โด่งดังเรื่องการสร้าง Customer Experience จึงได้ทำการสำรวจลูกค้า เจ้าหน้าที่ หัวหน้าฝ่ายบริการลูกค้าและผู้จัดซื้อเทคโนโลยีกว่า 90,000 องค์กร จากทั้งหมด 175 ประเทศทั่วโลก นำมาสรุปเป็นเทรนด์ประสบการณ์ลูกค้าสำหรับปี 2021  ผลสำรวจได้ความว่าอะไรบ้าง มาดูกัน TREND 1 : Spotlight on CX วิกฤตไวรัสที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกกลายเป็นตัวเร่งให้ลูกค้าหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น จากรายงานของ Mckinsey พบว่ายอดขายอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นถึง 30% ลูกค้าคาดหวังการบริการที่ดีกว่ามาตรฐานเดิมที่เคยเป็นมา 80% ของลูกค้าเห็นด้วยว่าจะเปลี่ยนไปใช้บริษัทคู่แข่งทันทีที่ได้รับประสบการณ์ย่ำแย่แม้เพียงครั้งเดียว 65% ต้องการซื้อสินค้าจากบริษัทที่เสนอธุรกรรมออนไลน์ที่สะดวกรวดเร็ว 75% ยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นถ้าบริษัทเสนอ CX ที่ดี TREND 2 : A more conversational world เทียบกับช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการโทรหรืออีเมลแล้ว Messaging เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงขั้นที่ว่าประมาณการณ์ผู้ใช้งานต่อเดือนทั้งหมดทั่วโลกได้ถึง 2.77 พันล้านคนเลยทีเดียว ลูกค้าหลายคนเลือกติดต่อกับบริษัทผ่าน Messaging ในเว็บไซต์หรือในแอป แต่แอปส่งข้อความในโซเชียลมีเดียก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน คำร้องของลูกค้าที่เข้ามาทางแอปอย่าง WhatsApp หรือใน Facebook Messenger ทะยานสูงในช่วงวิกฤตไวรัสระบาดนี้ 64% ของลูกค้าเริ่มมองหาและใช้ช่องทางบริการใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้มากขึ้น 45% เลือกใช้งานระบบ Messaging บนหน้าเว็บไซต์ เช่น Live Chat 31% เลือกส่งข้อความผ่านแอปโซเชียลมีเดีย TREND 3 : Emphasis on agility เมื่อต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องด้านเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการเองก็ต้องหาหนทางปรับให้รับกับความต้องการใหม่ ๆ ของลูกค้า ระบบซัพพอร์ตที่ยืดหยุ่น บริการที่รวดเร็วฉับไวถือเป็นอีกกุญแจสำคัญที่ขาดไม่ได้ 85% ของเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลว่าโควิด19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านการบริการลูกค้า กว่า 60% ของเจ้าหน้าที่มองว่าการบริการที่รวดเร็วเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด...

Continue reading

5 รูปแบบ สร้างระบบ Self Service บนเว็บไซต์ของคุณ

การบริการลูกค้าแบบ “บริการตนเอง หรือ Self Service” นั้นไม่ใช่เทรนด์อีกต่อไปแล้ว แต่เป็นความคาดหวังจากลูกค้าในปัจจุบันที่ทุก ๆ บริษัทควรมีไว้รองรับลูกค้าที่ไม่ชอบรอหรือชอบหาคำตอบด้วยตนเอง วันนี้ Demeter ICT ได้นำคำแนะนำดี ๆ จาก Zendesk มาเพื่อคุณจะได้เรียนรู้วิธีการสร้างระบบ Self Service บนเว็บไซต์ของคุณ เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience หรือ CX) และความพึงพอใจของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น แน่นอนว่าการบริการลูกค้าหลัก ๆ ที่หลายคนคิดนั้น คือ การที่มีพื้นที่ให้ลูกค้าสอบถามหรือบอกปัญหาพร้อมกับทีมที่คอยตอบและให้ข้อมูลกับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา แต่หลาย ๆ ครั้งทางออกที่ดีที่สุดกับเป็นการที่ให้ลูกค้าหาข้อมูลหรือคำตอบนั้นด้วยตัวเองบนเว็บไซต์ ซึ่งมันก็คือส่วนหนึ่งของการบริการตนเอง หรือ Self Service แล้วการบริการลูกค้าแบบ Self Service บนเว็บไซต์คืออะไร? คือ การสร้างประสบการณ์ลูกค้า (CX) ที่ดีอีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะช่วยตอบคำถาม รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของบทความ วิดีโอและอื่น ๆ บนเว็บไซต์ของคุณ โดยผลสำรวจจาก Zendesk Customer Experience Trends Report 2020 พบว่า 69% ของลูกค้าชอบแก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อนที่จะติดต่อทีมซัพพอร์ต ซึ่งการบริการแบบ Self Service บนเว็บไซต์ไม่ได้สร้างประสบการณ์ที่ดี (CX) ให้กับลูกค้าเพียงเท่านั้น ยังช่วยทีมซัพพอร์ตของคุณเช่นกัน เพราะลูกค้ากว่า 69% ที่ชอบการบริการตนเองนั้นจะเปลี่ยนไปใช้ช่องทาง Self Service ที่เรามีแทน ทำให้ทีมซัพพอร์ตลูกค้าของคุณมีเวลามากขึ้นในการดูแลลูกค้าคนอื่น ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริง รู้ข้อดีกันไปแล้ว ตอนนี้ถึงเวลาแนะนำรูปแบบการบริการลูกค้าแบบ Self Service ทั้ง 5 รูปแบบกันแล้ว ซึ่งแต่ละประเภทธุรกิจก็อาจจะเหมาะกับการบริการแบบ Self Service ที่ต่างกัน แต่วันนี้เราจะยกตัวอย่างประเภทที่หลาย ๆ ธุรกิจนิยมใช้กัน 1. Knowledge Base หรือ ฐานข้อมูล...

Continue reading

SaaS (Software as a Service) คืออะไร? ทำไมใคร ๆ ก็ใช้ SaaS?

เชื่อว่าหลายคนที่ติดตามข่าวสารเทรนด์ธุรกิจหรือแม้แต่คนทั่วไปในชีวิตประจำวันเองคงจะได้ยินคำว่า ‘SaaS’ หรือ ‘Software as a Service’ มาบ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ที่เร่งให้หลายองค์กรต้องปรับตัวเพื่อรองรับการทำงานทางไกลมากขึ้น SaaS ถือเป็นอีกหนึ่งตลาดที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีปริมาณความต้องการสูงขึ้นมาก  โลกยุคดิจิทัล หันไปทางไหนใคร ๆ ก็ใช้ SaaS ทว่า SaaS แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ สำคัญมากแค่ไหนยังคงเป็นเรื่องที่หลายคนตั้งคำถาม ดังนั้นในบทความนี้ เราจะมาคลายข้อสงสัยนี้กัน SaaS คืออะไร? SaaS หรือ Software as a Service แปลตรงตัวได้ว่า การให้บริการในด้านซอฟต์แวร์ ในที่นี้คือการให้บริการระบบซอฟต์แวร์รูปแบบหนึ่งที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันในอีกนามว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ระบบ Cloud นั่นเอง ตัวอย่างของ SaaS ที่คุ้นเคยกันดีก็อย่างเช่นอีเมล ที่เราสามารถเชื่อมต่อเน็ตแล้วคลิกเข้าไปรับส่งอีเมลได้เลยโดยไม่ต้องโหลดโปรแกรม หากขยับการใช้งานให้หลากหลายมากขึ้นก็จะพบ Dropbox, Google Workspace, Zendesk ที่ล้วนเป็น SaaS ที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน  ข้อได้เปรียบของ SaaS ที่แตกต่างจากการใช้งานเดิม ๆ ก็คือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องลงทุนในการซื้อ Hardware เช่น Server หรือ Harddisk เพื่อใช้ในการประมวลผล จัดเก็บข้อมูลเลยแม้แต่น้อย ไม่ต้องคอย Backup อัปเกรดระบบหรือพัฒนาระบบเอง เพราะทุกข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้โดยผู้ให้บริการผ่านระบบ Cloud ลักษณะของการซื้อซอฟต์แวร์ SaaS จึงอยู่ในรูปแบบของการซื้อ License คล้ายกับการเช่าใช้ โดยคิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งานจริง เช่น จำนวนผู้ใช้งาน ระยะเวลาการใช้ ซึ่งถือว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการติดตั้งและดูแลระบบไปได้มหาศาล เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เราจะมาแตกแยกกันไปทีละข้อกันว่า SaaS มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง คุ้มค่าแค่ไหนที่จะลงทุน ข้อดีของ SaaS ใช้ต้นทุนต่ำ เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับการติดตั้งบำรุงรักษา อัปเดตระบบ หรือการจัดเก็บข้อมูล สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลาเพียงแค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต SaaS ไม่จำกัดประเภทของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะใช้ Window หรือ Mac ก็สามารถใช้งานได้ หรือใช้งานผ่านอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น...

Continue reading

เคล็ด(ไม่)ลับ การบริการลูกค้าบน Facebook ที่ดีต้องทำอย่างไร?

ปัจจุบัน Facebook เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 1.79 พันล้านคนที่วนเวียนเข้าสู่ระบบทุกวัน โดย Facebook เป็นสื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่สุดในตอนนี้ คนทั่วโลกใช้บัญชี Facebook ในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครอบครัว และ การมีส่วนร่วมกับแบรนด์ต่าง ๆ ที่พวกเขาสนใจ และในตอนนี้หลาย ๆ ธุรกิจต้องกลับมาคิดถึงเรื่องการบริการลูกค้าบนช่องทางออนไลน์ของพวกเขาแล้วว่า มันส่งผลต่อ ประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience หรือ CX) อย่างไร? การมีบัญชี Facebook เอาไว้เพื่อสื่อสารกับลูกค้าแบบเดิม ๆ อาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Facebook Page และ Messenger ของคุณกลายเป็นศูนย์รวมข้อมูลที่ลูกค้าเข้ามาหาข้อมูลหรือแจ้งปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าและแบรนด์ โดยผู้ใช้ Facebook ส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบการสื่อสารแบบโทรศัพท์หรือคุยกันเพื่อได้ยินเสียงสักเท่าไหร่ หลาย ๆ ครั้งเวลามีปัญหาหรือต้องการสอบถามข้อมูลจึงมักจะติดต่อมาทาง Inbox หรือ Messenger เป็นส่วนมาก แต่พวกเขาก็จะคาดหวังถึงความรวดเร็วในการตอบกลับจากร้านค้าเหมือนกับเวลาที่เขาพูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวของเขา 52% จากผู้ที่ถูกสำรวจโดย The Manifest พบว่า Facebook เป็นสื่อทางสังคมออนไลน์ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) มากที่สุด ดังนั้น Facebook Page ของคุณจึงมีความสำคัญอย่างมาก ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Facebook ตอนนี้จึงได้มีการวิจัยมากมายที่ช่วยให้ทีมบริการลูกค้าสามารถบริการบนสื่อช่องทางออนไลน์ได้ดีมากยิ่งขึ้นทั้งในส่วนของ Inbox หรือ Messenger เราได้รวบรวมคำแนะนำเกี่ยวกับการ ซัพพอร์ตลูกค้าบนช่องทาง Facebook มาดังนี้ ช่วยทีมบริการลูกค้าด้วยข้อมูลซัพพอร์ตลูกค้าที่โพสต์บนหน้าเพจของคุณ ซัพพอร์ตลูกค้าด้วยฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น Page Insight, Chatbots และ Facebook Messenger เพิ่มตัวช่วยการซัพพอร์ตช่องทางออนไลน์ และช่องทางคำติชมของลูกค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงมากขึ้น โดยหากคุณเป็นธุรกิจที่มี Facebook Page หลาย ๆ เพจ ทำให้ต้องมี Messenger หลายแบรนด์ หรือรวมไปถึงมีทีมบริการและซัพพอร์ตลูกค้าหลายคน คุณคิดว่าจะเกิดความสับสนและผิดพลาดมากแค่ไหนกัน จะดีกว่าไหมที่จะมีตัวช่วยในการ Track ถึงที่มาของลูกค้า...

Continue reading

Zendesk Sell เครื่องมือขาย เพื่อฝ่ายขาย ที่ตอบโจทย์ ‘มากกว่า’ การขาย

หากว่าคุณเป็นพนักงานขายที่กำลังหัวหมุนอยู่กับการจดข้อมูลลูกค้าล่ะก็ ‘เราเข้าใจคุณ’ หากว่าคุณเป็นหัวหน้าฝ่ายขายที่ไม่รู้จะอัปเดต Sales Pipeline ของพนักงานคนอื่นอย่างไร ‘เราก็เข้าใจคุณเหมือนกัน’ และหากว่าคุณกำลังอ่านบรรทัดนี้ด้วยความต้องการที่จะตามหาเครื่องมืออะไรสักอย่างให้เรื่องยุ่งยากทั้งหมดมันง่ายขึ้นล่ะก็ ‘คุณมาถูกทางแล้ว’ จากแบบสำรวจ 80% ขององค์กรทั้งหมด เห็นตรงกันว่า Zendesk Sell ทำให้ฝ่ายขายทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และนี่ก็คือเหตุผลใน 4 มุมมองว่าทำไมองค์กรของคุณถึงต้องใช้ Zendesk Sell 📌Zendesk Sell รวมทุกอย่างที่พนักงานขายต้องการ ขึ้นชื่อว่าพนักงานขายก็หัวหมุนพออยู่แล้ว ไหนลูกค้าจะโทรเข้ามา ไหนจะจดบันทึก ไหนจะส่งอีเมล กว่าจะปิดดีลได้ก็ไม่รู้ว่าเผลอละเลยใครไปบ้างหรือเปล่า  หมดยุคที่พนักงานขายจะต้องจดบันทึกลงสมุดโน๊ตที่แสนจะเสี่ยงต่อการทำข้อมูลสูญหายทั้งยังเหนื่อยอย่างไม่จำเป็น ระบบของ Zendesk Sell ให้พนักงานขายสามารถทำงานร่วมกันในหน้าแพลตฟอร์มเดียวแบบเรียลไทม์ ช่วยซัพพอร์ตพนักงานขายอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหน้าข้อมูลลูกค้าที่จัดระเบียบได้ทั้งหมดว่าลูกค้าคนนี้เป็นใคร มาจากไหน ต้องการอะไร นอกจากเรื่องจัดเก็บข้อมูลแล้ว Zendesk Sell ก็ช่วยลดงานที่ไม่จำเป็นได้มหาศาล พนักงานขายไม่ต้องเสียเวลาสลับหน้าจอไปมาระหว่าง CRM กับ Inbox เลยแม้แต่น้อย เพียงกดซิงค์อีเมลก็รับส่งอีเมลจาก Zendesk Sell ได้เลย พร้อม Tracking จำนวนครั้งที่ลูกค้าเปิดหรือคลิกอีเมลเสร็จสรรพ ในเรื่องของการนัดหมายก็ทำได้ง่ายแสนง่าย ติดตั้งแอปพลิเคชัน Zendesk Sell ลงโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้า Google Map ไปหาลูกค้าได้ทันใจ หรือหากต้องการโทรสายหาก็เพียงกดคลิกเดียวจบก็ทำได้แล้ว ไร้กังวลว่าต้องมาคอยรายงานหัวหน้าหรือจดบันทึกไม่ทัน เพราะ Zendesk Sell ช่วยลดการซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูล ทุกอย่างจะถูกบันทึกไว้แม้ในโทรศัพท์โดยอัตโนมัติ ‘86% ของพนักงานยขาย ใช้เวลากับงานซ้ำซ้อนน้อยลงเพราะ Zendesk Sell’ 📌Zendesk Sell ทำให้หัวหน้าเห็นภาพรวมทุกอย่าง เพราะเป็นหัวหน้า พนักงานขายดีลกับลูกค้าถึงไหน วัน ๆ หนึ่งคุยกับใครบ้าง ไปที่ไหน หรือแม้แต่จะประมาณการณ์ยอดขายอย่างไรย่อมเป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้ ถึงอย่างนั้นการจะอัปเดตสถานะการขายกลับเป็นเรื่องยาก Sales Stage ของพนักงานแต่ละคนกลับไม่มีมาตรฐานตรงกันเสียเลย จะออกรีพอร์ตก็ยากไปหมด Zendesk Sell ทำให้ทุกคนในฝ่ายร่วมกันกำหนด Sales Pipeline เป็นมาตรฐานเดียวกัน พร้อมระบุตัวเลขระดับขั้นของ Sales Stage ให้ดูได้ง่าย...

Continue reading

4 สิ่งสำคัญ สุดปัง! ในการให้บริการเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดี(CX)ให้กับลูกค้า มีอะไรบ้าง? มาดูกัน!

หากย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน กลยุทธ์ในการขายอาจเป็นเพียงการพัฒนาสินค้า/บริการให้โดดเด่น หรือ มีการให้โปรโมชันส่วนลด ซึ่งการสร้างกลยุทธ์เพียงเท่านี้ก็ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้อย่างง่ายดาย  แต่ปัจจุบัน การแข่งขันในตลาดมีสูงมาก การสร้างกลยุทธ์สำหรับสินค้าและราคาอาจยังไม่พอ! ในหลาย ๆ องค์กร มีการปรับตัวและสร้างความแตกต่าง ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดี(Customer Experience หรือ CX) ให้กับลูกค้า แล้วการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าทำได้อย่างไร? การสร้างประสบการณ์ที่ดีระหว่างคุณกับลูกค้า ส่วนใหญ่จะเป็นการดูแลและการให้บริการลูกค้าที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า จนทำให้เกิดการใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาและงานวิจัยมากมายพบว่า ประสบการณ์ที่ดี(CX) ของลูกค้า มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมาก เช่น งานวิจัยของ PWC รายงานว่า ลูกค้ายินดีที่จะใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับสินค้า/บริการที่มีราคาสูงกว่าปกติ หากได้รับประสบการณ์หรือบริการที่ยอดเยี่ยม ตอนนี้หลาย ๆ ท่าน คงพอจะทราบแล้วว่า สำหรับการสร้างประสบการณ์ที่ดี(CX) ให้กับลูกค้านั้นมีความสำคัญอย่างไร เดี๋ยวเรามาดู 4 สิ่งสำคัญในการให้บริการ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีนั้น มีอะไรบ้าง ผู้เขียนสรุปมาให้แบบสั้น ๆ ดังนี้ ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อเข้ามาจากช่องทางไหนก็ตาม ทั้งการติดต่อผ่านพนักงาน, self-service หรือแชทบอท ลูกค้าคาดหวัง จะได้คำตอบที่ครบถ้วนจากการติดต่อเข้ามาตั้งแต่ในครั้งแรกเลย ลูกค้าส่วนใหญ่ที่ติดต่อฝ่ายบริการ นั่นหมายถึงลูกค้าต้องมีเรื่องที่ทำให้กำลังเดือดเนื้อร้อนใจ หรือไม่สบายใจอยู่ หากต้องรอคอยเป็นเวลานาน ไม่เป็นการส่งผลดีกับองค์กรอย่างยิ่ง หากลูกค้ากำลังเจอปัญหา เช่น ได้รับสินค้าที่ไม่ตรงกับที่สั่งซื้อไป มีการติดต่อฝ่ายบริการแต่ต้องเล่าเรื่องซ้ำกันถึง 3 รอบกับพนักงาน 3 คน เนื่องจากมีการโอนเรื่อง/โอนสายไปยังพนักงานผู้รับผิดชอบคนนั้น ๆ ทำให้ต้องเล่าเรื่องที่ไม่พอใจซ้ำ ๆ อารมณ์โกรธ/โมโห จะทวีคูณมากขนาดไหน เพราะฉะนั้นคุณควรหาวิธีแก้ปัญหา เช่น ต้องมีแหล่งเก็บข้อมูลของลูกค้าที่ไม่ว่าใครก็จะเห็นข้อมูลลูกค้าชุดเดียวกันได้ เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการช่วยเหลือลูกค้ามากที่สุด ควรเปิดช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับองค์กรได้หลากหลายช่องทาง และในแต่ละช่องทางนั้น ต้องสามารถติดต่อได้อย่างสะดวกและง่ายดาย อาทิเช่น Instant Messaging ยอดนิยม อย่าง Line OA, Facebook Messenger เป็นต้น โดย 4 สิ่งสำคัญนี้ หากมีเครื่องมือหรือตัวช่วยในการจัดการก็จะทำให้การบริการสมบูรณ์แบบมากขึ้นไปอีก โดยมีตัวช่วยที่ชื่อว่า Zendesk เป็น Customer Service Software ที่จะช่วยให้คุณสามารถสร้าง 4...

Continue reading

เบื้องหลังความสำเร็จของ Carsales เว็ปไซต์ขายรถยนตร์ออนไลน์จากออสเตรเลีย

พวกเราอยู่ในยุคที่ช่องทางออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของทุกคนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อเสื้อผ้า รองเท้า การสั่งอาหาร การชำระค่าบริการต่างๆ ที่มีให้เลือกตามความสะดวกของแต่ละคน แต่ “การซื้อรถ” นับว่าเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ สำหรับหลายๆคนใช่ไหมล่ะ? ลูกค้ามักจะเริ่มค้นหาข้อมูลรายละเอียดต่างๆของรถยนตร์ที่พวกเขาหมายตาเป็นอันดับแรกก่อน ดังนั้น Carsales จึงได้เริ่มพัฒนาระบบขายรถยนต์ในเครือ ผ่านทางเว็บไซต์ออนไลน์ขึ้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถจองหรือดูรายละเอียดรถได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น  สำหรับ “Carsales.com.au” ใช้แนวคิดง่ายๆที่ว่า “เส้นทางการซื้อรถของลูกค้า ควรเป็นไปอย่างราบรื่น” สิ่งที่ลูกค้าควรได้ คืออำนวยความสะดวกให้มากที่สุด ไร้รอยต่อ ลดความซับซ้อน ประหยัดเวลาให้เราและลูกค้า ยิ่งได้รับประสบการณ์ที่ดี ลูกค้าพึงพอใจ ก็จะซื้อสินค้าหรือบริการเราได้มากขึ้น  Carsales มีแบรนด์รถชั้นนำมากกว่า 15 แบรนด์ให้บริการทั่วทั้งออสเตรเลีย นอกเหนือจากการขายรถยนตร์ผ่านเว็ปไซต์ในเครือ บริษัทก็ยังมีธุรกิจซื้อ-ขาย เรือ, จักรยาน, อุปกรณ์ตั้งแคมป์ ไปจนถึงเครื่องจักรในฟาร์มอีกด้วย และฐานลูกค้าของ Carsales มีทั้งผู้บริโภคทั่วไปจนไปถึงตัวแทนจำหน่ายรถและสินค้าต่างๆ ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ และพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ทาง Carsales จึงประสบกับปัญหาสำคัญด้วยกัน 3 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ ช่องทางการสื่อสารระหว่าง Carsales กับลูกค้าที่มีหลากหลายยิ่งกว่าแต่ก่อน (เช่น Email, Facebook, Twitter, Live Chat, โทรศัพท์ เป็นต้น) ซึ่งบริหารจัดการได้ยาก มีสิทธิที่จะพลาดโอกาสการซื้อขายได้ จึงต้องการรวบรวมคำถามทุกช่องทาง “ทั้งหมด” มาไว้ที่เดียว Carsales มีระบบที่ต้องเข้าไปทำงานหลายระบบ จึงอยากให้มีพื้นที่ที่ทำงานหลักของทีมออนไลน์อยู่บนระบบใดระบบหนึ่งไปเลย ไม่สามารถดูรายงาน (Report) ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการขาย และข้อมูลการทำงานของเจ้าหน้าที่แต่ละคน จึงทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก การติดตามการทำงานหรือการแก้ไขปัญหาใดๆ ทำได้ยากลำบาก ยิ่งพูดถึงการบริหารจัดการในเชิงการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพ ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยเพราะไม่มีตัวเลขชี้วัดใดๆ Carsales จึงเลือกใช้ Zendesk ผู้ให้บริการโซลูชัน Omnichannel ระดับโลก เป็นทางออกที่สามารถช่วยแก้ปัญหาข้างต้น ด้วยประสิทธิ์ภาพที่เพิ่มขึ้น และ ระยะเวลาในการให้บริการที่ลดลง ทำให้ Carsales กลายเป็นเว็ปไซต์ขายรถยนต์ออนไลน์อันดับ 1 ของออสเตรเลีย ในปัจจุบัน Zendesk ช่วยทำให้สามารถจัดการคำร้องที่มีถึง 37,000...

Continue reading