ถอดกลยุทธ์ของ TRUE Corp เบื้องหลังความสำเร็จด้านการบริการที่ “ไร้ขีดจำกัด” ในช่องทางออนไลน์

“TRUE เองเวลาเราจะทำอะไรทีหนึ่ง เราจะมีความเร่งด่วนตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเราต้องหาอะไรที่ค่อนข้างพร้อมใช้ Zendesk เลยกลายเป็นตัวเลือกแทบจะเป็นอันดับหนึ่งเลยที่มาถึงปุ๊บ ปลั๊คได้เลย ใช้ได้เลย” ณิชารีย์ ชินวงศ์ Associate Director แผนก E-commerce & Retail Business – บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) https://www.youtube.com/watch?v=Q95E9lTfaNw หากเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้าสักแห่งในประเทศไทย ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเจอร้านค้าดีไซน์ทันสมัย ติดป้ายแถบสีแดงตัวอักษรสีขาวเป็นคำว่า “TRUE” อยู่ด้านบน TRUE Corporation หรือกลุ่มทรู เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 32 ปีแล้ว TRUE ได้มุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จนเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเครือข่ายที่ดีที่สุดในไทย การันตีความสำเร็จด้วยผลรางวัลทั้งด้านความเป็นเลิศทางธุรกิจ ด้านแบรนด์และการตลาด กิจกรรมเพื่อสังคมและนวัตกรรมจำนวนมาก หากมองในแง่ที่ว่า TRUE นั้นมีสาขาเปิดให้บริการกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ ภาพจำของ TRUE ในความคิดของใครหลายคนคงจะเป็นร้านค้าของ TRUE ที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า ทว่าการเติบโตของ TRUE ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่เพียงแค่นั้น เพราะในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ นับจากเกิดเหตุโรคระบาดโควิด-19 TRUE ก็ได้เปลี่ยนมาพัฒนาช่องทางออนไลน์สำหรับรองรับลูกค้าเป็นช่องทางหลักแทน TRUE Shop ที่ต้องปิดตัวลงชั่วคราว ถึงอย่างนั้นช่องทางออนไลน์ของ TRUE ก็ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลและยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ  TRUE ทำได้อย่างไร? กุญแจความสำเร็จด้านอีคอมเมิร์ซของ TRUE คืออะไรกันนะ? Demeter ICT ได้มีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์คุณณิชารีย์ Associate Director แผนก E-commerce & Retail Business ของ TRUE ที่ TRUE Digital Park ในบทความนี้จะขอมาสรุปให้ทุกคนได้อ่านกัน จุดเปลี่ยนด้านโซลูชันครั้งใหญ่ของ TRUE “ตอนแรกก็ต้องบอกว่าพอเป็นช่วงโควิด เราล็อคดาวน์ปิดกันทุกที่เลย เพราะฉะนั้น Shop TRUE...

Continue reading

4 วิธี เปลี่ยนแบรนด์ให้ยืนหนึ่งในหมวดธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซด้วย Zendesk

มีคำกล่าวเปรียบเทียบว่าการทำธุรกิจก็เหมือนกับการจับปลา ต้องมีการวางแผน หาเส้นทางเดินเรือ ทว่าแม้เส้นทางจะไม่ได้ราบรื่นโรยด้วยกลีบกุหลาบ หากเทียบกับยุคปัจจุบันแล้วก็ยังถือว่าง่ายกว่ามาก เพราะตอนนี้แม้ขนาดของมหาสมุทรจะยังคงเท่าเดิมแต่กลับเต็มไปด้วยเรือลำเล็กลำใหญ่มากมายลอยล่องอยู่เต็มทะเล ทั้งจุดหมายก็ยังเป็นปลาในแอ่งเดียวกัน คำว่า ‘ง่าย’ จึงแทบจะถูกลบออกไปจากนิยาม ดังนั้นสิ่งที่ควรทำในตอนนี้ก็คือการปรับเปลี่ยนแผนการขึ้นมาใหม่ จะต้องสร้างเรือที่เร็วกว่าใคร กระจายความเสี่ยงออกเรือแล่นไปตามแม่น้ำหลายสาย และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้ลูกค้าอยากที่จะจดจำแบรนด์ของเราและกลับมาซื้อซ้ำในบทความนี้เราจึงขอนำเสนอ 4 วิธี เปลี่ยนแบรนด์ให้ยืนหนึ่งในหมวดธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซด้วย Zendesk มาให้ทุกคนได้อ่านกัน ว่าแล้วก็มาเริ่มดูกันเลย 1. สร้างประสบการณ์ช็อปปิ้งที่ไร้รอยต่อ Seamless Shopping Experience หรือการสร้างประสบการณ์ช็อปปิ้งที่ไร้รอยต่อสำหรับลูกค้า ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์ค้าปลีกที่มีบทบาทสำคัญและช่วยดึงศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจของแบรนด์ให้ดีขึ้น ซึ่งการสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นให้ลูกค้านี้ไม่ได้เป็นแค่กระแสชั่วคราวที่เข้ามาแล้วผ่านไปเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซสมควรต้องให้ความสำคัญตั้งแต่วันนี้ตลอดจนอนาคตข้างหน้า แบรนด์ธุรกิจในหมวดค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซหลายแห่งได้นำ Zendesk เข้ามาช่วยในการสร้างประสบการณ์ลูกค้า เพื่อให้เข้าใจง่ายเราจะขอสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้ เชื่อมต่อช่องทางโซเชียลมีเดีย หน้าร้าน หรือช่องทางออนไลน์ให้มีข้อมูลที่ต่อเนื่องไร้รอยต่อ ทำให้ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อเข้ามาจากช่องไหนก็จะได้รับการตอบกลับที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมข้อมูลทุกส่วนของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นประวัติการสั่งซื้อ สิ่งที่ลูกค้าถูกใจ รายละเอียดการชำระเงิน ทำให้พนักงานเข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการและสร้างประสบการณ์ที่เฉพาะบุคคล (Personalized Experience) เชื่อมต่อ Zendesk กับแอปพลิเคชันที่มีให้เลือกกว่า 1,300 ตัวใน Zendesk Marketplace เพื่อสร้างระบบที่ยืดหยุ่น ตอบโจทย์ธุรกิจมากขึ้น “ไม่สำคัญแล้วว่าเจ้าหน้าที่จะต้องประจำการที่ไหน เพราะในตอนนี้เรามีเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนลูกค้าได้ไม่ว่าเขาจะเป็นใครหรือมาจากไหนก็ตาม เราทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้นแล้วก็พยายามปรับใช้โมเดลที่ให้ลูกค้าคือศูนย์กลางอย่างแท้จริง และเราก็หวังว่าจะให้บริการพวกเขาได้อย่างดีและรวดเร็วที่สุด Mark Rizza, Head of Supply Chain at Accent Group 2. ใช้ AI อำนวยความสะดวก ไร้กังวลว่าลูกค้าจะติดต่อเข้ามานอกเวลาทำการแล้วต้องเสียโอกาสปิดการขายไปอย่างน่าเสียดายด้วยระบบ AI ช่วยในการตอบคำถาม ถึงตรงนี้คงมีหลายคนที่กังวลว่าการใช้ AI หรือบอทเข้ามาช่วยจะพาลทำให้ลูกค้าไม่อยากสนทนาต่อหรือเปล่า ทว่าหากมองไปยังธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งที่ต้องรับเรื่องจากลูกค้าในปริมาณที่มากในแต่ละวัน เราจะเห็นว่าหลายแบรนด์ได้มีการนำ AI เข้ามาใช้ในการตอบคำถามกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ในการบริการลูกค้ายุคใหม่เลยก็ว่าได้ จากสิ่งที่ไม่คุ้นเคยก็เริ่มกลายเป็นความเคยชิน นอกจากนี้หากออกแบบ AI ดี ๆ แทนที่จะต้องรอพนักงานอย่างเดียว การใช้บอทตอบคำถามก็เป็นอีกทางเลือกให้ลูกค้าได้รับการบริการที่รวดเร็วและสร้างความประทับใจได้ไม่แพ้กัน ใช้ Answer bot ของ Zendesk ร่วมกับ Help Center เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าในการหาคำตอบด้วยตนเอง...

Continue reading

8 Workflows การบริการลูกค้าที่สร้างได้โดย Answer bot จาก Zendesk

ผู้ที่ใช้งาน Zendesk คงคุ้นหูกับคำว่า Answer bot มาบ้างแล้ว แต่บางท่านอาจจะยังไม่เห็นภาพชัดมากนักว่าจริง ๆ แล้ว Answer bot ทำอะไรได้บ้าง? วันนี้ Demeter ICT มีรูปแบบ Workflows ของ Answer bot มาแชร์ให้กับลูกค้า Zendesk ทุกท่านจะมีอะไรบ้าง? ไปดูกัน สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า Answer bot คืออะไร? คลิก Answer bot คือ แชทบอทสำหรับการบริการลูกค้าอัตโนมัติรูปแบบหนึ่ง ถูกสร้างขึ้นและตั้งชื่อโดย Zendesk ซึ่งหน้าที่ของ Answer bot ไม่เพียงแต่ตอบแชทของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้าง Workflows การบริการลูกค้าอื่น ๆ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่องค์กรของคุณต้องการได้ 8 Workflows การบริการลูกค้าที่สร้างได้โดย Answer bot จาก Zendesk Send Message (ส่งข้อความอัตโนมัติหาลูกค้า) Present Options (เสนอตัวเลือกที่ใช่ให้กับลูกค้า) Show Help Center Articles (แสดงบทความบน Help center) Ask for Details (สอบถามรายละเอียด) Ask if Question Resolved (สอบถามสถานะการแก้ไขปัญหา) Make an API call (เสริมทัพการบริการลูกค้าของคุณด้วย API) Transfer to Agent (ส่งต่อการบริการสู่เจ้าหน้าที่) Add a Business hours Condition (เพิ่มเงื่อนไขเวลาทำการ) 1. Send Message ส่งข้อความอัตโนมัติหาลูกค้า Answer bot จะทำการส่งข้อความหาลูกค้าขึ้นอยู่กับ Workflow ที่คุณสร้างไม่ว่าจะเป็นคำทักทายพร้อมกับช่องทางที่ลูกค้าสามารถขอความช่วยเหลือได้เมื่อต้องการ หรือจะเป็นการตอบกลับอัตโนมัติเมื่อลูกค้าพิมพ์คำถามเข้ามา...

Continue reading

เผยที่มา Customer Service เกิดขึ้นได้อย่างไร? กลายเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องมีในปัจจุบัน!

Customer Service (การบริการลูกค้า) คือคำที่ทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้รู้จักกันอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า “Customer Service” มีที่มาจากที่ไหน? ใครเป็นคนที่คิดค้นคำนี้หรือตำแหน่งนี้ขึ้นมากันนะ..? ต้องขอย้อนไปถึงอดีตอันแสนยาวนานสมัย 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ที่เริ่มมีการค้าขายทางไกลเกิดขึ้น ด้วยแนวโน้มการค้าขายที่เพิ่มสูงขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อลูกค้าหรือที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า “การบริการ” นั้นมันก็เกิดขึ้นตามมาด้วย คำนิยามของการบริการหรือ Customer Service จาก Investopedia คือ “การโต้ตอบแบบตัวต่อตัวโดยตรงระหว่างผู้บริโภคที่ทำการซื้อกับตัวแทนของบริษัทที่ขายผลิตภัณฑ์นั้น” แต่จริง ๆ แล้วไม่มีบันทึกว่าใครเป็นผู้กำหนดคำว่า “การบริการลูกค้า” ขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เราเห็นว่าคำ ๆ นี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วยการขยายตัวของการค้า โดยที่จะมีการแบ่งเป็นช่วงของการบริการได้ดังต่อไปนี้ Stage 1 : Face to Face Service การบริการแบบตัวต่อตัว ในระยะแรก การบริการลูกค้าเกิดจากปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดด้วยตัวเองระหว่างผู้บริโภคกับผู้ค้าเนื่องจากยังเป็นช่วงที่ยังไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ จดหมายจึงเป็นหนึ่งช่องทางในการติดต่อของลูกค้า แต่มันก็ใช้เวลานานเกินไปกว่าจะได้รับการแก้ไขปัญหานั้น ค.ศ. 1760 – 1820 ได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก ทำให้ระบบเศรษฐกิจของยุโรปและอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการสร้างโรงงานใหม่ การผลิตที่รวดเร็ว รวมถึงทีมบริการลูกค้ากลุ่มแรกก็ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงสมัยนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งวิธีการบริการลูกค้าในช่วงนั้นยังเป็นแบบตัวต่อตัวเพื่อความสะดวกและรวดเร็วที่สุด ค.ศ. 1776 อดัม สมิธ ตีพิมพ์ The Wealth of Nations ซึ่งอธิบายถึงระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม วางรากฐานของการแข่งขันในตลาดและ Customer Service ก็ถูกนำมาเป็นหนึ่งเครื่องมือในการทำธุรกิจในตอนนั้น Original Edition of An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations ค.ศ. 1868 Watkins Liniment ซึ่งเป็นพนักงานขายแบบ door-to-door เป็นบริษัทแรกที่เสนอการรับประกันคืนเงิน เขาเสนอการคืนเงินเต็มจำนวนให้กับลูกค้าหากพวกเขาไม่พอใจในสินค้า Stage 2 : The invention of...

Continue reading

5 เครื่องมือห้ามพลาดใน Zendesk Marketplace ตัวช่วยให้ธุรกิจ Ecommerce ของคุณสุดยอดกว่าที่เคย

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซใช้ Zendesk ดีไหม? บทความนี้มีคำตอบ ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน โจทย์ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซคงจะเป็นเรื่องที่ว่าทำอย่างไรให้ผู้บริโภครู้สึกเชื่อมั่นและวางใจในสินค้า แต่ปัจจุบันที่ผู้บริโภคคุ้นชินกับการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ความท้าทายของแวดวงร้านค้าออนไลน์ก็ไม่ได้จบลงเพียงเรื่องของความไว้วางใจอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของประสิทธิภาพในการจัดส่งและประสบการณ์ทางออนไลน์ของลูกค้าที่ต้องทำให้ราบรื่นมากที่สุด ในบทความนี้เราจึงได้รวมโซลูชันอีคอมเมิร์ซสุดฮิตของ Zendesk มาให้ทุกคนได้รู้จักกัน ขอบอกเลยว่านอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้แล้ว ทางฝั่งผู้ขายเองก็ยังช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นสุด ๆ ไปเลยด้วย ว่าแล้วก็มาเริ่มดูกันเลย Zendesk + Ecommerce 01 ช่วยเหลือและบริการด้านการขายด้วย Ada กับ Certainly Ada คือระบบแชทบอทอัตโนมัติ ใช้เป็นแนวหน้าในการช่วยเหลือลูกค้า จากสถิติแล้วหากตั้งค่าการทำงานดี ๆ แล้วล่ะก็ Ada ก็สามารถปิดคำร้องได้ถึง 80% เลยทีเดียว การให้บริการที่รวดเร็วฉับไวยังช่วยเพิ่มคะแนน CSAT (คะแนนความพึงพอใจของลูกค้า) และยอดขายให้กับธุรกิจ จุดเด่นที่น่าสนใจของ Ada  เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดูการสนทนาระหว่างบอทกับลูกค้าได้โดยไม่รบกวนการทำงานของบอทเลยแม้แต่น้อย  สร้างและอัปเดต Ticket อัตโนมัติใน Zendesk  วัดผล CSAT ได้ชิว ๆ ช่วยเหลือลูกค้าได้ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทาง Website หรือ Facebook เชื่อมต่อเข้ากับ Zendesk Support ได้อย่างราบรื่น นอกจาก Ada แล้วแชทบอทอีกตัวที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ Certainly แตกต่างจาก Ada ที่เหมาะในการนำมาใช้ร่วมกับ Ticket แชทบอทของ Centainly จะสามารถใช้ได้กับฟีเจอร์ Live Chat & Messaging โดยจะทำหน้าที่เป็นแชทบอทโต้ตอบกับลูกค้าในเชิงรุก นำลูกค้าไปยังหน้าสินค้าที่ต้องการ และช่วยในการปิดการขายให้ง่ายขึ้น จุดเด่นที่น่าสนใจของ Certainly เข้าใจและตอบกลับลูกค้าได้มากกว่า 14 ภาษา พาลูกค้าไปยังแผนกที่ต้องการติดต่อได้ง่าย ตัวเลือก API ที่หลากหลายต่อการใช้งาน สามารถใช้ตัวหนังสือ ปุ่ม หรือรูปภาพสินค้าประกอบการสนทนาได้ ผลัดเปลี่ยนระหว่างแชทบอทกับเจ้าหน้าที่อย่างไร้รอยต่อ สามารถเปิด อัปเดต ปิด Ticket ได้ด้วยตนเอง ใช้ร่วมกับฟีเจอร์ Live Chat...

Continue reading

ข่าวดี! สำหรับแอดมิน Zendesk สร้างแหล่งข้อมูลการตั้งค่าบัญชีอย่างง่ายเพียงไม่กี่คลิก

Zendesk ได้ทำการอัปเดตแหล่งข้อมูลใหม่สำหรับการตั้งค่าบัญชีของคุณให้ง่ายยิ่งขึ้น เพียงคลิกไอคอนความช่วยเหลือ (?) ที่มุมขวาของหน้าเพจ Admin center เพื่อเปิดแถบทางด้านขวาของหน้าจอ แถบเหล่านี้จะประกอบไปด้วย คลิปวิดีโอสาธิตการตั้งค่าอย่างง่าย (สามารถเลือกซับภาษาไทยได้ด้วยนะ) คำแนะนำและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด ลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลการเรียนรู้หรือบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หลักสูตรการฝึกอบรม (Training) และการค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ (Help center) 1. คลิปวิดีโอสาธิตการตั้งค่าอย่างง่าย (สามารถเลือกซับภาษาไทยได้ด้วยนะ) 2. คำแนะนำและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด 3. ลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลการเรียนรู้หรือบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม (Knowledge Base) 4. หลักสูตรการฝึกอบรม (Training) และการค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ (Help center) ตอนนี้เนื้อหาการตั้งค่าอาจจะมีเพียงบางส่วน แต่ในอนาคต Zendesk จะอัปเดตข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะ Zendesk ไม่เพียงแต่ที่จะคำนึงถึง Customer Experience (CX) หรือประสบการณ์ของลูกค้าเพียงเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึง Agent Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้งานเองอีกด้วย เพราะการทำงานที่มีประสิทธิภาพจะนำพามาซึ่งการบริการลูกค้าที่ดีตามไปด้วย ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner ซอฟต์แวร์เพื่อการซัพพอร์ตลูกค้าแบบ Omnichannel สำหรับทุกธุรกิจ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด – Your CX Transformation Partner ผู้ให้บริการ Zendesk ระดับ Premier Partner ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ 02 030 0066 แพ็กเกจและราคา...

ฟีเจอร์ยอดฮิต! ของ Zendesk ระหว่าง Automations VS Triggers ต่างกันอย่างไร?

วันนี้เราจะมาพูดถึงสิ่งที่ลูกค้า Zendesk หลาย ๆ ท่านสงสัยเกี่ยวกับสองฟีเจอร์ยอดนิยมของ Zendesk ที่ช่วยในเรื่องของการบริการลูกค้าอย่างฟีเจอร์ Automations และฟีเจอร์ Triggers ที่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? เริ่มจาก Automations จะทำงานเมื่อเข้า เงื่อนไขของเวลา (Time Based) Triggers จะทำงานเมื่อเข้า เงื่อนไขของการกระทำที่เกิด (Action Based) 1. Automations คือ ระบบที่ใช้เงื่อนไขของเวลาเป็นหลัก คุณสามารถตั้งค่าให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลาที่คุณได้กำหนดไว้ หรือก็คือให้ครบระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว Automations ค่อยทำงาน ยกตัวอย่างสำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Automations แบบง่าย ๆ แนะนำให้คุณระบุข้อกำหนดและกระบวนการทำงานด้านการบริการลูกค้าขององค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเวลาที่เฉพาะเจาะจงในขั้นตอนต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น องค์กรของคุณต้องการให้ระบบทำการส่งแบบสำรวจความพึงพอใจ (CSAT) ไปให้ลูกค้าหลังจากการแก้ปัญหาให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้วและ Ticket นั้น ๆ ได้ถูก Solved ไปแล้ว 24 ช.ม. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รอการตอบกลับจากลูกค้านานเกิน 3 วัน ให้ระบบ Automations ทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้า เป็นต้น วิธีการตั้งค่าระบบ Automations ให้เข้าไปหน้า Zendesk ของคุณและไปที่ Support (Agent Workspace) คลิกที่ไอคอน Admin ที่แถบด้านข้างเพื่อไปยัง Admin Center > คลิกที่หัวข้อ Objects & rules ที่แถบด้านซ้าย > เลื่อนไปที่หัวข้อ Business rules > คลิกที่ Automations เพื่อการตั้งค่า 2. Triggers คือ ระบบที่ใช้เงื่อนไขของการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นหลัก คุณสามารถตั้งค่าให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่คุณได้กำหนดไว้ หรือก็คือให้มีการกระทำหนึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้ว Triggers ค่อยทำงาน ยกตัวอย่างสำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Triggers แบบง่าย...

Continue reading

ถอดบทเรียนแก้ปัญหาและสร้างการบริการให้ชนะใจลูกค้า จากงานสัมมนา Quickstart to Customer Service Success

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมาทาง Demeter ICT ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ ‘Quickstart to Customer Service Success: สร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จด้านการบริการ เจาะปัญหาพาธุรกิจพิชิตใจลูกค้าด้วย Zendesk’ เนื้อหาภายในงานเป็นอย่างไรนั้น ในบทความนี้เราก็ได้นำมาสรุปให้ทุกคนได้อ่านกัน ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลย Session 01: A Guide To Customer Service Success เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน จะบริการลูกค้าให้ดีก็ต้องปรับตัวตาม นับตั้งแต่ COVID-19 พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปหลายอย่าง ดังที่เรามักจะได้เห็นแนวคิดเรื่องเทรนด์ผู้บริโภคหรือการสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) ปรากฏตามหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้ง สิ่งหนึ่งที่ตรงกันไม่ว่าจะเป็นรายงานไหนคือลูกค้ามีความคาดหวังต่อแบรนด์สูงขึ้น และเรื่องของการบริการลูกค้าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีน้ำหนักมากขึ้นเช่นกันในการที่ลูกค้าจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ ลูกค้าหันมาติดต่อกับองค์กรธุรกิจผ่านช่องทางที่ลูกค้าใช้ในการคุยกับเพื่อนหรือครอบครัว นั่นก็คือช่องทาง Social Messaging เช่น Whatsapp, LINE, Facebook Messenger, Twitter ฯลฯ เป็นเหตุทำให้ธุรกิจเพิ่มช่องทาง Social Messaging มากขึ้น เพื่อรองรับการติดต่อเข้ามาของลูกค้า เมื่อลูกค้าออนไลน์มากขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะติดต่อกับภาคธุรกิจนอกเวลาทำงาน โดยผ่านช่องทางออนไลน์หรือ Social Messaging เพราะลูกค้าคาดหวังข้อมูลหรือคำตอบในเวลาที่คิดออก แต่พบว่าหลายธุรกิจไม่ได้รองรับวิธีการในการรับมือลูกค้าหลังเวลาเลิกงาน ซึ่งหลายธุรกิจแก้ปัญหาด้วยการนำเอาเครื่องมือที่สามารถให้ลูกค้า Self Service ได้ ไม่ว่าจะเป็น Help Center หรือแชทบอทเข้ามาให้บริการมากขึ้น ทว่าจากแนวโน้มนี้เององค์กรจึงประสบปัญหา (Pain Points) ด้านการบริการลูกค้าหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้าเข้ามาหลายช่องทาง แม้องค์กรจะเพิ่มช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึงลูกค้า แต่ก็ยังไม่สามารถให้บริการลูกค้าแบบเฉพาะบุคคลหรือแบบ Personalized ได้ เนื่องจากไม่มีระบบเก็บข้อมูลลูกค้าหรือต้องทำงานหลายระบบ ทำให้ข้อมูลกระจัดกระจายกัน ยกตัวอย่างเช่น นายเอต้องการติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของแบรนด์แห่งหนึ่ง จึงได้ทักแชทไปในไลน์ เมื่อเล่าปัญหาของตนจบกลับพบว่าเจ้าหน้าที่แจ้งว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตให้บริการ ต้องส่งอีเมลไปแจ้งฝ่ายซัพพอร์ตทางอีเมล นายเอจึงต้อง ‘เล่าปัญหาซ้ำอีกรอบ’ ทางอีเมล รอจนกระทั่งมีการตอบกลับถึงจะได้ในสิ่งที่ต้องการ  Pain Points ของนายเอที่เป็นลูกค้า คือการที่ต้องเล่าปัญหาซ้ำ ๆ และต้องรอเจ้าหน้าที่ตอบกลับนาน ซึ่งอ้างอิงจากเทรนด์ของลูกค้ายุคปัจจุบันที่กว่า 61% ของลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นทันทีหากได้รับประสบการณ์ย่ำแย่แม้เพียงครั้งเดียว และสิ่งที่ลูกค้ามองว่าเป็นประสบการณ์แย่มากที่สุดก็คือการเล่าปัญหาซ้ำ...

Continue reading

รวมสุดยอดเคล็ดลับสร้าง Help center อย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ!

Help center หรือศูนย์ช่วยเหลือที่หลาย ๆ คนเคยพบเจอบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ คือการบริการลูกค้าแบบ Self-service รูปแบบหนึ่งที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมมากของลูกค้าในต่างประเทศ แต่ทำไมในประเทศไทยลูกค้าถึงไม่ค่อยนิยมใช้ระบบ Help center กัน ทุกคนเคยสงสัยไหมครับ? ทุกคนรู้หรือไม่ว่าจากผลสำรวจของ Zendesk (CX Trends) พบว่าลูกค้ากว่า 69% ชอบช่วยเหลือหรือหาคำตอบด้วยตนเอง (Self-service) เพราะว่ามันรวดเร็วและสะดวกที่สุด ฉะนั้นหรือจริง ๆ แล้วเรามีอะไรที่ทำพลาดไป ทำให้ระบบ Help center หรือการบริการลูกค้าแบบ Self-service ไม่ค่อยเป็นที่นิยมสำหรับบริษัทและลูกค้าในประเทศไทยมากนัก อาจจะเป็นเพราะว่าระบบ Help center ของคุณยังไม่น่าสนใจพอหรือยังไม่ตอบโจทย์ของลูกค้ารึเปล่า? ซึ่งวันนี้ Demeter ICT มีเคล็ดลับวิธีการสร้างระบบ Help center ให้ประสบความสำเร็จ พร้อมกับภาพตัวอย่างระบบ Help center ของบริษัทที่ประสบความสำเร็จมาฝากทุกคนกัน เคล็ดลับสร้างระบบ Help center ให้ประสบความสำเร็จ! 1. วางแผนกำหนดเป้าหมาย การวางแผนและกำหนดเป้าหมายจะช่วยบอกคุณได้ว่า คุณต้องการ Help center ไปช่วยในเรื่องใดของธุรกิจ? หากคุณกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนก็จะช่วยให้การสร้างระบบ Help center ง่ายยิ่งขึ้น เช่น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ชอบการบริการตนเองและต้องการแบ่งเบาปริมาณงานของทีม Customer Service หรือไม่? หรือต้องการระบบฐานความรู้ของบริษัทหรือ Knowledge base ที่เก็บรวบรวมข้อมูลของบริษัทเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้พนักงานในองค์กรสืบหาข้อมูลเป็นต้น 2. มุ่งเน้นที่ประสบการณ์และสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการ สิ่งที่คุณต้องคำนึงต่อมาหลังจากการกำหนดเป้าหมายแล้ว คือ ผู้ใช้งานต้องการอะไรบนระบบ Help center ของคุณบ้าง? เช่น คำตอบหรือวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เข้าใจง่ายและทำได้เอง การจัดระเบียบเนื้อหาให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนค้นหาได้ง่าย มีช่องการค้นหาบทความได้ทุกเรื่องที่ต้องการ เป็นต้น ทำอย่างไรก็ได้ให้การใช้ Help center เป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยากเพราะถ้าหากว่า Help center ของคุณไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้งานได้ อาจจะทำให้เขาเข้ามาเพียงครั้งเดียวเท่านั้นแล้วไม่เข้ามาอีก 3. ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วม โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่ได้พบเจอกับลูกค้า มักจะเข้าใจถึงความต้องการและปัญหาที่ลูกค้าพบเจอมากที่สุด...

Continue reading