ถอดกลยุทธ์ของ TRUE Corp เบื้องหลังความสำเร็จด้านการบริการที่ “ไร้ขีดจำกัด” ในช่องทางออนไลน์

“TRUE เองเวลาเราจะทำอะไรทีหนึ่ง เราจะมีความเร่งด่วนตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเราต้องหาอะไรที่ค่อนข้างพร้อมใช้ Zendesk เลยกลายเป็นตัวเลือกแทบจะเป็นอันดับหนึ่งเลยที่มาถึงปุ๊บ ปลั๊คได้เลย ใช้ได้เลย” ณิชารีย์ ชินวงศ์ Associate Director แผนก E-commerce & Retail Business – บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) https://www.youtube.com/watch?v=Q95E9lTfaNw หากเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้าสักแห่งในประเทศไทย ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเจอร้านค้าดีไซน์ทันสมัย ติดป้ายแถบสีแดงตัวอักษรสีขาวเป็นคำว่า “TRUE” อยู่ด้านบน TRUE Corporation หรือกลุ่มทรู เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 32 ปีแล้ว TRUE ได้มุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จนเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเครือข่ายที่ดีที่สุดในไทย การันตีความสำเร็จด้วยผลรางวัลทั้งด้านความเป็นเลิศทางธุรกิจ ด้านแบรนด์และการตลาด กิจกรรมเพื่อสังคมและนวัตกรรมจำนวนมาก หากมองในแง่ที่ว่า TRUE นั้นมีสาขาเปิดให้บริการกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ ภาพจำของ TRUE ในความคิดของใครหลายคนคงจะเป็นร้านค้าของ TRUE ที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า ทว่าการเติบโตของ TRUE ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่เพียงแค่นั้น เพราะในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ นับจากเกิดเหตุโรคระบาดโควิด-19 TRUE ก็ได้เปลี่ยนมาพัฒนาช่องทางออนไลน์สำหรับรองรับลูกค้าเป็นช่องทางหลักแทน TRUE Shop ที่ต้องปิดตัวลงชั่วคราว ถึงอย่างนั้นช่องทางออนไลน์ของ TRUE ก็ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลและยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ  TRUE ทำได้อย่างไร? กุญแจความสำเร็จด้านอีคอมเมิร์ซของ TRUE คืออะไรกันนะ? Demeter ICT ได้มีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์คุณณิชารีย์ Associate Director แผนก E-commerce & Retail Business ของ TRUE ที่ TRUE Digital Park ในบทความนี้จะขอมาสรุปให้ทุกคนได้อ่านกัน จุดเปลี่ยนด้านโซลูชันครั้งใหญ่ของ TRUE “ตอนแรกก็ต้องบอกว่าพอเป็นช่วงโควิด เราล็อคดาวน์ปิดกันทุกที่เลย เพราะฉะนั้น Shop TRUE...

Continue reading

4 วิธี เปลี่ยนแบรนด์ให้ยืนหนึ่งในหมวดธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซด้วย Zendesk

มีคำกล่าวเปรียบเทียบว่าการทำธุรกิจก็เหมือนกับการจับปลา ต้องมีการวางแผน หาเส้นทางเดินเรือ ทว่าแม้เส้นทางจะไม่ได้ราบรื่นโรยด้วยกลีบกุหลาบ หากเทียบกับยุคปัจจุบันแล้วก็ยังถือว่าง่ายกว่ามาก เพราะตอนนี้แม้ขนาดของมหาสมุทรจะยังคงเท่าเดิมแต่กลับเต็มไปด้วยเรือลำเล็กลำใหญ่มากมายลอยล่องอยู่เต็มทะเล ทั้งจุดหมายก็ยังเป็นปลาในแอ่งเดียวกัน คำว่า ‘ง่าย’ จึงแทบจะถูกลบออกไปจากนิยาม ดังนั้นสิ่งที่ควรทำในตอนนี้ก็คือการปรับเปลี่ยนแผนการขึ้นมาใหม่ จะต้องสร้างเรือที่เร็วกว่าใคร กระจายความเสี่ยงออกเรือแล่นไปตามแม่น้ำหลายสาย และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้ลูกค้าอยากที่จะจดจำแบรนด์ของเราและกลับมาซื้อซ้ำในบทความนี้เราจึงขอนำเสนอ 4 วิธี เปลี่ยนแบรนด์ให้ยืนหนึ่งในหมวดธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซด้วย Zendesk มาให้ทุกคนได้อ่านกัน ว่าแล้วก็มาเริ่มดูกันเลย 1. สร้างประสบการณ์ช็อปปิ้งที่ไร้รอยต่อ Seamless Shopping Experience หรือการสร้างประสบการณ์ช็อปปิ้งที่ไร้รอยต่อสำหรับลูกค้า ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์ค้าปลีกที่มีบทบาทสำคัญและช่วยดึงศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจของแบรนด์ให้ดีขึ้น ซึ่งการสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นให้ลูกค้านี้ไม่ได้เป็นแค่กระแสชั่วคราวที่เข้ามาแล้วผ่านไปเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซสมควรต้องให้ความสำคัญตั้งแต่วันนี้ตลอดจนอนาคตข้างหน้า แบรนด์ธุรกิจในหมวดค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซหลายแห่งได้นำ Zendesk เข้ามาช่วยในการสร้างประสบการณ์ลูกค้า เพื่อให้เข้าใจง่ายเราจะขอสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้ เชื่อมต่อช่องทางโซเชียลมีเดีย หน้าร้าน หรือช่องทางออนไลน์ให้มีข้อมูลที่ต่อเนื่องไร้รอยต่อ ทำให้ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อเข้ามาจากช่องไหนก็จะได้รับการตอบกลับที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมข้อมูลทุกส่วนของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นประวัติการสั่งซื้อ สิ่งที่ลูกค้าถูกใจ รายละเอียดการชำระเงิน ทำให้พนักงานเข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการและสร้างประสบการณ์ที่เฉพาะบุคคล (Personalized Experience) เชื่อมต่อ Zendesk กับแอปพลิเคชันที่มีให้เลือกกว่า 1,300 ตัวใน Zendesk Marketplace เพื่อสร้างระบบที่ยืดหยุ่น ตอบโจทย์ธุรกิจมากขึ้น “ไม่สำคัญแล้วว่าเจ้าหน้าที่จะต้องประจำการที่ไหน เพราะในตอนนี้เรามีเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนลูกค้าได้ไม่ว่าเขาจะเป็นใครหรือมาจากไหนก็ตาม เราทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้นแล้วก็พยายามปรับใช้โมเดลที่ให้ลูกค้าคือศูนย์กลางอย่างแท้จริง และเราก็หวังว่าจะให้บริการพวกเขาได้อย่างดีและรวดเร็วที่สุด Mark Rizza, Head of Supply Chain at Accent Group 2. ใช้ AI อำนวยความสะดวก ไร้กังวลว่าลูกค้าจะติดต่อเข้ามานอกเวลาทำการแล้วต้องเสียโอกาสปิดการขายไปอย่างน่าเสียดายด้วยระบบ AI ช่วยในการตอบคำถาม ถึงตรงนี้คงมีหลายคนที่กังวลว่าการใช้ AI หรือบอทเข้ามาช่วยจะพาลทำให้ลูกค้าไม่อยากสนทนาต่อหรือเปล่า ทว่าหากมองไปยังธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งที่ต้องรับเรื่องจากลูกค้าในปริมาณที่มากในแต่ละวัน เราจะเห็นว่าหลายแบรนด์ได้มีการนำ AI เข้ามาใช้ในการตอบคำถามกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ในการบริการลูกค้ายุคใหม่เลยก็ว่าได้ จากสิ่งที่ไม่คุ้นเคยก็เริ่มกลายเป็นความเคยชิน นอกจากนี้หากออกแบบ AI ดี ๆ แทนที่จะต้องรอพนักงานอย่างเดียว การใช้บอทตอบคำถามก็เป็นอีกทางเลือกให้ลูกค้าได้รับการบริการที่รวดเร็วและสร้างความประทับใจได้ไม่แพ้กัน ใช้ Answer bot ของ Zendesk ร่วมกับ Help Center เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าในการหาคำตอบด้วยตนเอง...

Continue reading

5 เครื่องมือห้ามพลาดใน Zendesk Marketplace ตัวช่วยให้ธุรกิจ Ecommerce ของคุณสุดยอดกว่าที่เคย

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซใช้ Zendesk ดีไหม? บทความนี้มีคำตอบ ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน โจทย์ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซคงจะเป็นเรื่องที่ว่าทำอย่างไรให้ผู้บริโภครู้สึกเชื่อมั่นและวางใจในสินค้า แต่ปัจจุบันที่ผู้บริโภคคุ้นชินกับการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ความท้าทายของแวดวงร้านค้าออนไลน์ก็ไม่ได้จบลงเพียงเรื่องของความไว้วางใจอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของประสิทธิภาพในการจัดส่งและประสบการณ์ทางออนไลน์ของลูกค้าที่ต้องทำให้ราบรื่นมากที่สุด ในบทความนี้เราจึงได้รวมโซลูชันอีคอมเมิร์ซสุดฮิตของ Zendesk มาให้ทุกคนได้รู้จักกัน ขอบอกเลยว่านอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้แล้ว ทางฝั่งผู้ขายเองก็ยังช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นสุด ๆ ไปเลยด้วย ว่าแล้วก็มาเริ่มดูกันเลย Zendesk + Ecommerce 01 ช่วยเหลือและบริการด้านการขายด้วย Ada กับ Certainly Ada คือระบบแชทบอทอัตโนมัติ ใช้เป็นแนวหน้าในการช่วยเหลือลูกค้า จากสถิติแล้วหากตั้งค่าการทำงานดี ๆ แล้วล่ะก็ Ada ก็สามารถปิดคำร้องได้ถึง 80% เลยทีเดียว การให้บริการที่รวดเร็วฉับไวยังช่วยเพิ่มคะแนน CSAT (คะแนนความพึงพอใจของลูกค้า) และยอดขายให้กับธุรกิจ จุดเด่นที่น่าสนใจของ Ada  เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดูการสนทนาระหว่างบอทกับลูกค้าได้โดยไม่รบกวนการทำงานของบอทเลยแม้แต่น้อย  สร้างและอัปเดต Ticket อัตโนมัติใน Zendesk  วัดผล CSAT ได้ชิว ๆ ช่วยเหลือลูกค้าได้ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทาง Website หรือ Facebook เชื่อมต่อเข้ากับ Zendesk Support ได้อย่างราบรื่น นอกจาก Ada แล้วแชทบอทอีกตัวที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ Certainly แตกต่างจาก Ada ที่เหมาะในการนำมาใช้ร่วมกับ Ticket แชทบอทของ Centainly จะสามารถใช้ได้กับฟีเจอร์ Live Chat & Messaging โดยจะทำหน้าที่เป็นแชทบอทโต้ตอบกับลูกค้าในเชิงรุก นำลูกค้าไปยังหน้าสินค้าที่ต้องการ และช่วยในการปิดการขายให้ง่ายขึ้น จุดเด่นที่น่าสนใจของ Certainly เข้าใจและตอบกลับลูกค้าได้มากกว่า 14 ภาษา พาลูกค้าไปยังแผนกที่ต้องการติดต่อได้ง่าย ตัวเลือก API ที่หลากหลายต่อการใช้งาน สามารถใช้ตัวหนังสือ ปุ่ม หรือรูปภาพสินค้าประกอบการสนทนาได้ ผลัดเปลี่ยนระหว่างแชทบอทกับเจ้าหน้าที่อย่างไร้รอยต่อ สามารถเปิด อัปเดต ปิด Ticket ได้ด้วยตนเอง ใช้ร่วมกับฟีเจอร์ Live Chat...

Continue reading

ข่าวดี! สำหรับแอดมิน Zendesk สร้างแหล่งข้อมูลการตั้งค่าบัญชีอย่างง่ายเพียงไม่กี่คลิก

Zendesk ได้ทำการอัปเดตแหล่งข้อมูลใหม่สำหรับการตั้งค่าบัญชีของคุณให้ง่ายยิ่งขึ้น เพียงคลิกไอคอนความช่วยเหลือ (?) ที่มุมขวาของหน้าเพจ Admin center เพื่อเปิดแถบทางด้านขวาของหน้าจอ แถบเหล่านี้จะประกอบไปด้วย คลิปวิดีโอสาธิตการตั้งค่าอย่างง่าย (สามารถเลือกซับภาษาไทยได้ด้วยนะ) คำแนะนำและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด ลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลการเรียนรู้หรือบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หลักสูตรการฝึกอบรม (Training) และการค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ (Help center) 1. คลิปวิดีโอสาธิตการตั้งค่าอย่างง่าย (สามารถเลือกซับภาษาไทยได้ด้วยนะ) 2. คำแนะนำและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด 3. ลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลการเรียนรู้หรือบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม (Knowledge Base) 4. หลักสูตรการฝึกอบรม (Training) และการค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ (Help center) ตอนนี้เนื้อหาการตั้งค่าอาจจะมีเพียงบางส่วน แต่ในอนาคต Zendesk จะอัปเดตข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะ Zendesk ไม่เพียงแต่ที่จะคำนึงถึง Customer Experience (CX) หรือประสบการณ์ของลูกค้าเพียงเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึง Agent Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้งานเองอีกด้วย เพราะการทำงานที่มีประสิทธิภาพจะนำพามาซึ่งการบริการลูกค้าที่ดีตามไปด้วย ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner ซอฟต์แวร์เพื่อการซัพพอร์ตลูกค้าแบบ Omnichannel สำหรับทุกธุรกิจ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด – Your CX Transformation Partner ผู้ให้บริการ Zendesk ระดับ Premier Partner ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ 02 030 0066 แพ็กเกจและราคา...

ฟีเจอร์ยอดฮิต! ของ Zendesk ระหว่าง Automations VS Triggers ต่างกันอย่างไร?

วันนี้เราจะมาพูดถึงสิ่งที่ลูกค้า Zendesk หลาย ๆ ท่านสงสัยเกี่ยวกับสองฟีเจอร์ยอดนิยมของ Zendesk ที่ช่วยในเรื่องของการบริการลูกค้าอย่างฟีเจอร์ Automations และฟีเจอร์ Triggers ที่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? เริ่มจาก Automations จะทำงานเมื่อเข้า เงื่อนไขของเวลา (Time Based) Triggers จะทำงานเมื่อเข้า เงื่อนไขของการกระทำที่เกิด (Action Based) 1. Automations คือ ระบบที่ใช้เงื่อนไขของเวลาเป็นหลัก คุณสามารถตั้งค่าให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลาที่คุณได้กำหนดไว้ หรือก็คือให้ครบระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว Automations ค่อยทำงาน ยกตัวอย่างสำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Automations แบบง่าย ๆ แนะนำให้คุณระบุข้อกำหนดและกระบวนการทำงานด้านการบริการลูกค้าขององค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเวลาที่เฉพาะเจาะจงในขั้นตอนต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น องค์กรของคุณต้องการให้ระบบทำการส่งแบบสำรวจความพึงพอใจ (CSAT) ไปให้ลูกค้าหลังจากการแก้ปัญหาให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้วและ Ticket นั้น ๆ ได้ถูก Solved ไปแล้ว 24 ช.ม. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รอการตอบกลับจากลูกค้านานเกิน 3 วัน ให้ระบบ Automations ทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้า เป็นต้น วิธีการตั้งค่าระบบ Automations ให้เข้าไปหน้า Zendesk ของคุณและไปที่ Support (Agent Workspace) คลิกที่ไอคอน Admin ที่แถบด้านข้างเพื่อไปยัง Admin Center > คลิกที่หัวข้อ Objects & rules ที่แถบด้านซ้าย > เลื่อนไปที่หัวข้อ Business rules > คลิกที่ Automations เพื่อการตั้งค่า 2. Triggers คือ ระบบที่ใช้เงื่อนไขของการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นหลัก คุณสามารถตั้งค่าให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่คุณได้กำหนดไว้ หรือก็คือให้มีการกระทำหนึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้ว Triggers ค่อยทำงาน ยกตัวอย่างสำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Triggers แบบง่าย...

Continue reading

ถอดบทเรียนแก้ปัญหาและสร้างการบริการให้ชนะใจลูกค้า จากงานสัมมนา Quickstart to Customer Service Success

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมาทาง Demeter ICT ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ ‘Quickstart to Customer Service Success: สร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จด้านการบริการ เจาะปัญหาพาธุรกิจพิชิตใจลูกค้าด้วย Zendesk’ เนื้อหาภายในงานเป็นอย่างไรนั้น ในบทความนี้เราก็ได้นำมาสรุปให้ทุกคนได้อ่านกัน ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลย Session 01: A Guide To Customer Service Success เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน จะบริการลูกค้าให้ดีก็ต้องปรับตัวตาม นับตั้งแต่ COVID-19 พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปหลายอย่าง ดังที่เรามักจะได้เห็นแนวคิดเรื่องเทรนด์ผู้บริโภคหรือการสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) ปรากฏตามหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้ง สิ่งหนึ่งที่ตรงกันไม่ว่าจะเป็นรายงานไหนคือลูกค้ามีความคาดหวังต่อแบรนด์สูงขึ้น และเรื่องของการบริการลูกค้าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีน้ำหนักมากขึ้นเช่นกันในการที่ลูกค้าจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ ลูกค้าหันมาติดต่อกับองค์กรธุรกิจผ่านช่องทางที่ลูกค้าใช้ในการคุยกับเพื่อนหรือครอบครัว นั่นก็คือช่องทาง Social Messaging เช่น Whatsapp, LINE, Facebook Messenger, Twitter ฯลฯ เป็นเหตุทำให้ธุรกิจเพิ่มช่องทาง Social Messaging มากขึ้น เพื่อรองรับการติดต่อเข้ามาของลูกค้า เมื่อลูกค้าออนไลน์มากขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะติดต่อกับภาคธุรกิจนอกเวลาทำงาน โดยผ่านช่องทางออนไลน์หรือ Social Messaging เพราะลูกค้าคาดหวังข้อมูลหรือคำตอบในเวลาที่คิดออก แต่พบว่าหลายธุรกิจไม่ได้รองรับวิธีการในการรับมือลูกค้าหลังเวลาเลิกงาน ซึ่งหลายธุรกิจแก้ปัญหาด้วยการนำเอาเครื่องมือที่สามารถให้ลูกค้า Self Service ได้ ไม่ว่าจะเป็น Help Center หรือแชทบอทเข้ามาให้บริการมากขึ้น ทว่าจากแนวโน้มนี้เององค์กรจึงประสบปัญหา (Pain Points) ด้านการบริการลูกค้าหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้าเข้ามาหลายช่องทาง แม้องค์กรจะเพิ่มช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึงลูกค้า แต่ก็ยังไม่สามารถให้บริการลูกค้าแบบเฉพาะบุคคลหรือแบบ Personalized ได้ เนื่องจากไม่มีระบบเก็บข้อมูลลูกค้าหรือต้องทำงานหลายระบบ ทำให้ข้อมูลกระจัดกระจายกัน ยกตัวอย่างเช่น นายเอต้องการติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของแบรนด์แห่งหนึ่ง จึงได้ทักแชทไปในไลน์ เมื่อเล่าปัญหาของตนจบกลับพบว่าเจ้าหน้าที่แจ้งว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตให้บริการ ต้องส่งอีเมลไปแจ้งฝ่ายซัพพอร์ตทางอีเมล นายเอจึงต้อง ‘เล่าปัญหาซ้ำอีกรอบ’ ทางอีเมล รอจนกระทั่งมีการตอบกลับถึงจะได้ในสิ่งที่ต้องการ  Pain Points ของนายเอที่เป็นลูกค้า คือการที่ต้องเล่าปัญหาซ้ำ ๆ และต้องรอเจ้าหน้าที่ตอบกลับนาน ซึ่งอ้างอิงจากเทรนด์ของลูกค้ายุคปัจจุบันที่กว่า 61% ของลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นทันทีหากได้รับประสบการณ์ย่ำแย่แม้เพียงครั้งเดียว และสิ่งที่ลูกค้ามองว่าเป็นประสบการณ์แย่มากที่สุดก็คือการเล่าปัญหาซ้ำ...

Continue reading

รวมสุดยอดเคล็ดลับสร้าง Help center อย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ!

Help center หรือศูนย์ช่วยเหลือที่หลาย ๆ คนเคยพบเจอบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ คือการบริการลูกค้าแบบ Self-service รูปแบบหนึ่งที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมมากของลูกค้าในต่างประเทศ แต่ทำไมในประเทศไทยลูกค้าถึงไม่ค่อยนิยมใช้ระบบ Help center กัน ทุกคนเคยสงสัยไหมครับ? ทุกคนรู้หรือไม่ว่าจากผลสำรวจของ Zendesk (CX Trends) พบว่าลูกค้ากว่า 69% ชอบช่วยเหลือหรือหาคำตอบด้วยตนเอง (Self-service) เพราะว่ามันรวดเร็วและสะดวกที่สุด ฉะนั้นหรือจริง ๆ แล้วเรามีอะไรที่ทำพลาดไป ทำให้ระบบ Help center หรือการบริการลูกค้าแบบ Self-service ไม่ค่อยเป็นที่นิยมสำหรับบริษัทและลูกค้าในประเทศไทยมากนัก อาจจะเป็นเพราะว่าระบบ Help center ของคุณยังไม่น่าสนใจพอหรือยังไม่ตอบโจทย์ของลูกค้ารึเปล่า? ซึ่งวันนี้ Demeter ICT มีเคล็ดลับวิธีการสร้างระบบ Help center ให้ประสบความสำเร็จ พร้อมกับภาพตัวอย่างระบบ Help center ของบริษัทที่ประสบความสำเร็จมาฝากทุกคนกัน เคล็ดลับสร้างระบบ Help center ให้ประสบความสำเร็จ! 1. วางแผนกำหนดเป้าหมาย การวางแผนและกำหนดเป้าหมายจะช่วยบอกคุณได้ว่า คุณต้องการ Help center ไปช่วยในเรื่องใดของธุรกิจ? หากคุณกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนก็จะช่วยให้การสร้างระบบ Help center ง่ายยิ่งขึ้น เช่น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ชอบการบริการตนเองและต้องการแบ่งเบาปริมาณงานของทีม Customer Service หรือไม่? หรือต้องการระบบฐานความรู้ของบริษัทหรือ Knowledge base ที่เก็บรวบรวมข้อมูลของบริษัทเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้พนักงานในองค์กรสืบหาข้อมูลเป็นต้น 2. มุ่งเน้นที่ประสบการณ์และสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการ สิ่งที่คุณต้องคำนึงต่อมาหลังจากการกำหนดเป้าหมายแล้ว คือ ผู้ใช้งานต้องการอะไรบนระบบ Help center ของคุณบ้าง? เช่น คำตอบหรือวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เข้าใจง่ายและทำได้เอง การจัดระเบียบเนื้อหาให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนค้นหาได้ง่าย มีช่องการค้นหาบทความได้ทุกเรื่องที่ต้องการ เป็นต้น ทำอย่างไรก็ได้ให้การใช้ Help center เป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยากเพราะถ้าหากว่า Help center ของคุณไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้งานได้ อาจจะทำให้เขาเข้ามาเพียงครั้งเดียวเท่านั้นแล้วไม่เข้ามาอีก 3. ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วม โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่ได้พบเจอกับลูกค้า มักจะเข้าใจถึงความต้องการและปัญหาที่ลูกค้าพบเจอมากที่สุด...

Continue reading

Zendesk Package for Starter แพ็กเกจสุดคุ้มให้คุณพร้อมใช้ Zendesk ใน 5 วัน ประหยัด 30%

การจะนำซอฟต์แวร์สักตัวมาปรับใช้ในองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย ไหนจะออกแบบ ขึ้นระบบ ศึกษาการใช้งาน แถมยังไม่แน่ใจอีกว่า ซอฟต์แวร์ตัวนั้น ๆ จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้จริงไหม จะช่วยแก้ปัญหาในการทำงานของพนักงานได้จริงหรือเปล่า หรือคุ้มค่ามากแค่ไหน? Demeter ICT ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการ Zendesk เข้าใจในปัญหานี้ดี เราจึงได้ออกแบบแพ็กเกจใหม่สุดคุ้มสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน Zendesk เรียกได้ว่าหากคุณกำลังมองหาระบบสำหรับการบริการลูกค้า แต่ไม่อยากกังวลในเรื่องกระบวนการดำเนินงานที่ยาวนานล่ะก็ คุณได้มาถูกทางแล้ว เพราะแพ็กเกจนี้ คุณจะได้ Zendesk ไปพร้อมใช้งานใน 5 วัน โดยที่คุณแทบไม่ต้องทำอะไรเลย ฟังดูน่าสนใจใช่ไหมล่ะ? ในบทความนี้เราจะมาดูรายละเอียดของ ‘Zendesk Package for Starter’ หรือ ‘Zendesk แพ็กเกจสำหรับผู้เริ่มต้น’ กัน ทำไม Zendesk Package for Starter ถึงพิเศษ? ต้องขอเกริ่นก่อนว่า แพ็กเกจ Zendesk โดยทั่วไปจะมีด้วยกับ 2 แพ็กเกจ ได้แก่ Zendesk for service หรือ Zendesk สำหรับบริการ และ Zendesk for sell ซึ่งก็คือ Zendesk สำหรับการขาย และใน 2 แพ็กเกจนี้ก็จะแยกออกไปอีก 4 ระดับตามรายละเอียดฟีเจอร์ ได้แก่ Suite Team, Suite Growth, Suite Professional และ Suite Enterprise เรียกได้ว่าแบ่งแพ็กเกจตามประเภทการใช้งานชัดเจนเลยก็ว่าได้ สำหรับแพ็กเกจ Zendesk Package for Starter นี้จะเน้นไปที่จุดประสงค์ด้านการบริการเช่นเดียวกับแพ็กเกจ Zendesk for service ทว่าก็ยังมีส่วนที่แตกต่างกัน 1. Zendesk Package for starter มัดรวมทั้ง License และการบริการของ Demeter ICT...

Continue reading

KEEN แบรนด์รองเท้าชื่อดังจากอเมริกา ต่อยอดการบริการลูกค้าให้เติบโต 200% ด้วย Zendesk

ขึ้นภูเขา สัมผัสหาดทราย โอบกอดทะเล หากจะมีไอเทมรองเท้าคู่ใจที่ช่วยให้ทุกการเดินทางเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดแล้วล่ะก็ เชื่อว่าแบรนด์ ‘KEEN’ คงจะเป็นคำตอบในใจของใครหลายคน จุดเริ่มต้นของ KEEN เริ่มขึ้นในปี 2003 โดย Martin Keen ชายจากเมืองพอร์ตแลนด์คนหนึ่งที่ต้องการรองเท้าดี ๆ ใส่ขณะพายเรือ และหลังจากนั้นในปี 2011 บริษัทจากรัฐโอเรกอนแห่งนี้ก็ทำเงินได้มากกว่า 200 ล้านดอลลาร์ต่อปี ตั้งแต่แตะขอบฟ้าจรดทราย รองเท้าของ KEEN จึงเรียกได้ว่าแทบจะครอบคลุมกิจกรรม outdoor ทุกอย่าง หากจำกัดความธุรกิจของ KEEN คงจะเป็นกลุ่ม Retail หรือ E-commerce ประเภท B2C อย่างไม่ต้องสงสัย แต่รู้หรือไม่? นอกจาก B2C แล้ว KEEN ก็ยังมี ‘KEEN Partners Service’ ที่เป็นบริการอนุญาตให้พาร์ทเนอร์ขายสินค้าตนเองผ่านฐานลูกค้าของ KEEN ได้อีกด้วยนะ? การจะทำธุรกิจทั้งสองส่วนให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากนี้ KEEN ยังพบว่าเครื่องมือที่ใช้อยู่อย่าง Cisco กับ Desk.com ไม่สามารถวัดผลที่ต้องการได้ แต่ก็เป็นตรงนี้เองที่ทำให้ KEEN อยากจะยกระดับการสนับสนุนด้าน E-commerce โดยการรวมช่องทางโทรศัพท์และอีเมลเข้าด้วยกัน รวมถึงยังต้องการระบบรีพอร์ตด้วย Keen จึงได้เจอกับ Zendesk เครื่องมือที่รองรับความต้องการของ KEEN ได้ทุกอย่าง แรกเริ่มใช้งาน Zendesk “Zendesk อยู่ระดับ Gold สำหรับกลุ่มธุรกิจแบบนี้ จริงอยู่ว่ามันเป็นโปรเจคใหญ่ แต่เรื่องการติดตั้งระบบ การใช้งานต่าง ๆ ก็ราบรื่นมากเทียบกับที่อื่นในรอบ 2-3 ปีของเราเลย” – Evan Israel, Operations Specialist & Project Liaison at KEEN กล่าว ข้อดีของ Zendesk เห็นได้ชัดเจนในทันที อย่างการเพิ่มโน๊ตสำหรับใช้ภายในด้วย Zendesk Support...

Continue reading