Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

5 Marketing Trends สำหรับธุรกิจ Financial Services ในปี 2024 ที่น่าจับตามอง

ธุรกิจที่ให้บริการทางด้านการเงินกำลังได้รับประโยชน์จากการใช้กลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วยกลยุทธ์การตลาดที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งช่วยให้พวกเขาได้รับผลลัพธ์ที่โดดเด่น พวกเขาใช้การแบ่งกลุ่มลูกค้าที่ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่เก็บมาจากลูกค้าเองโดยตรง (Zero-Party Data) ในการวางแผนแคมเปญการตลาดที่เฉพาะตัว (Personalized Marketing) นอกจากนี้ธุรกิจเหล่านี้ยังทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดทั่วทั้งองค์กร ไม่ใช่แค่ฝ่ายการตลาดเท่านั้น แต่ทุกแผนกในองค์กรจะร่วมมือกันเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้า สำหรับปี 2024 มีแนวโน้มการตลาดในด้านการเงินที่น่าสนใจหลายอย่าง ซึ่งสรุปจากรายงาน Global Customer Engagement Review (CER) ของ Braze เราจะมาดูกันว่าเทรนด์การตลาดที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจที่ให้บริการด้านการเงินเหล่านี้มีอะไรบ้าง? และนักการตลาดสามารถสร้างความล้ำหน้าให้กับองค์กรของคุณให้เติบโตไปข้างหน้าได้อย่างไร? 5 Marketing Trends สำคัญสำหรับธุรกิจ Financial Services 1. จำเป็นต้องมีเครื่องมือและทักษะที่เหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ธุรกิจด้านการเงินจะได้ประโยชน์จากการที่ทีมการตลาดทำงานร่วมกับทีม Data Scientists และ BI (Business Intelligence) เพราะทีมเหล่านี้จะช่วยให้นักการตลาดเข้าใจข้อมูลลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และนำข้อมูลไปใช้ในการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำโปรโมชันที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้นหรือการสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การเพิ่มทักษะด้านข้อมูลให้กับนักการตลาดเองก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะทำให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาทีมอื่นมากเกินไป การให้เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและแนะนำการตลาด แก่นักการตลาดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้นักการตลาดทำงานได้ง่ายขึ้น และลดช่องว่างด้านทักษะในองค์กร 2. ใช้ช่องทางที่หลากหลายและเหมาะสมในการสื่อสารกับลูกค้า จะช่วยให้ลูกค้ามีส่วนร่วมและกลับมาใช้บริการบ่อยขึ้น ข้อมูลจาก Braze บอกว่า การส่งอีเมลหรือแจ้งเตือนผ่านมือถือ (Push notification) นั้นได้ผลดีในการดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้งานบนแอปพลิเคชัน นอกจากนี้ การใช้หลายช่องทางในการส่งแคมเปญไปพร้อม ๆ กัน ทั้งในแอปพลิเคชันและนอกแอปพลิเคชัน (เช่น อีเมล, SMS) ก็จะยิ่งทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมและอยู่กับเราได้นานขึ้นอีกด้วย 3. เริ่มให้ความสำคัญในด้านของความคิดสร้างสรรค์ของแคมเปญการตลาดที่มากขึ้น ปัญหาหลักของนักการตลาดของธุรกิจด้านการเงิน คือ ขาดเครื่องมือที่ทันสมัย ในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดให้เป็นไปตามที่ต้องการ นักการตลาดหลายคนในวงการด้านการเงินบอกว่า เครื่องมือที่พวกเขามีอยู่ตอนนี้ ไม่สามารถช่วยให้คิดไอเดียใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์ตามที่ตัวเองต้องการได้อย่างเต็มที่ ซึ่งสิ่งที่เป็นอุปสรรค ก็คือ เน้นผลลัพธ์ตัวเลขมากเกินไป: ธุรกิจประเภทนี้มักจะให้ความสำคัญกับตัวเลขต่าง ๆ เช่น ยอดขาย ยอดดาวน์โหลด มากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับไอเดียใหม่ ๆ ที่อาจจะยังวัดผลได้ยากในตอนแรก วัดผลความคุ้มค่าของไอเดียยาก: นักการตลาดไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนว่าไอเดียใหม่ ๆ ที่พวกเขาคิดขึ้นมานั้นจะสร้างผลกำไรให้กับองค์กรได้มากน้อยแค่ไหน 4. เป็นผู้นำเทรนด์ในการแบ่งกลุ่มลูกค้าแบบเรียลไทม์จากการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ในอดีตธุรกิจทางด้านการเงินอาจจะยังไม่เก่งเรื่องการทำการตลาดที่เข้าถึงลูกค้าแต่ละคนโดยตรง...

Continue reading

คู่มือฉบับเต็ม! สร้างกลยุทธ์ Email Marketing อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

การตลาดผ่านอีเมล (Email Marketing) เป็นหนึ่งในการส่งข้อความบนช่องทางดิจิทัลแบบดั้งเดิม ที่มีผลตอบแทนจากการลงทุนสูง เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นวิธีที่มีพลังในการเข้าถึง สร้างการมีส่วนร่วม และเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าได้ พวกเราส่วนใหญ่ส่งอีเมลเป็นประจำทุกวัน แม้ว่าแอปแชท โปรแกรมส่งข้อความบนมือถือรวมถึงโซเชียลมีเดียจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อีเมลยังคงได้รับความนิยมอย่างไม่น่าเชื่อ จากผลสำรวจในปี 2022 มีผู้ใช้อีเมล 4.26 พันล้านคนทั่วโลก และคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.73 พันล้านคนภายในปี 2026 แม้ว่าอีเมลจะมีความเรียบง่าย แต่ก็เถียงไม่ได้ว่าอีเมลเป็นช่องทางดิจิทัลที่แข็งแกร่งที่สุด: ที่อยู่ของอีเมลสามารถเข้าถึงผู้คนได้อย่างกว้างขวางและสร้างผลกำไรมหาศาล เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุผลหลายประการ (เช่น ข้อมูล ข้อเสนอ ชุมชน และการซื้อขาย) ดังนั้นธุรกิจจะใช้อีเมลในการเชื่อมต่อกับลูกค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร? บทความนี้จะกล่าวถึง ความสำคัญของการทำ Email Marketing วิธีการกำหนดกลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว วิธีวัดประสิทธิภาพและแสดงตัวอย่างแคมเปญเชิงกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจของคุณ เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! กลยุทธ์การตลาดผ่านอีเมล (Email Marketing) คืออะไร? กลยุทธ์การตลาดผ่านอีเมล (Email Marketing) คือ กระบวนการที่ช่วยให้นักการตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านช่องทางอีเมล โดยกลยุทธ์นี้จะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับอีเมลที่จะส่ง จำนวนอีเมลที่จะส่ง ส่งไปหาใครและส่งเมื่อไหร่ เพื่อให้กลยุทธ์นี้มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะต้องประกอบไปด้วย 1. การตั้งเป้าหมายและวิธีวัดผล การตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน เป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้นักการตลาดรู้ว่าเราจะต้องทำอะไร? และทำเพื่ออะไร? และเราจะวัดผลอย่างไร? เพื่อให้ง่ายต่อการดูว่าแคมเปญหรืออีเมลที่เราส่งไปหาลูกค้านั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ กลยุทธ์แบบใดที่ใช้ได้ผล อะไรที่ไม่ได้ผล ทำให้คุณสามารถสร้างกลยุทธ์ Email Marketing ที่มีประสิทธิภาพและแข็งแกร่งขึ้นได้ 2. ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของคุณ หากคุณต้องการให้ลูกค้ารักและภักดีกับแบรนด์ของคุณ การทำความเข้าใจถึงความต้องการและบุคลิกของลูกค้า คือ กุญแจสำคัญ ยิ่งถ้าคุณสามารถแบ่งกลุ่มอีเมลของลูกค้าตามความต้องการหรือบุคลิกของพวกเขาได้ละเอียดมากเท่าไหร่ คุณก็จะมีโอกาสในการสร้างประสบการณ์ที่ดีแบบ Personalized และความภักดีต่อแบรนด์ของคุณได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น เพราะลูกค้าจะรับรู้ได้ว่าคุณให้ความสำคัญกับพวกเขา รู้ว่าเขาต้องการอะไรและไม่ต้องการอะไรจากแบรนด์ของคุณ 3. การแบ่งกลุ่มลูกค้า เครื่องมือการสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าแบบเฉพาะตัว (Personalized Customer Engagement Platform) อย่าง Braze ช่วยให้นักการตลาดสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าและส่งข้อความที่มีความละเอียดและเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น เช่น ลูกค้าบางคนมักมีส่วนร่วมดีกับแบรนด์ในตอนเช้า ลูกค้าบางคนไม่ต้องการโฆษณาที่เกี่ยวกับการขายเลยหรือลูกค้าบางกลุ่มจะเปิดเฉพาะโปรโมชันที่เกี่ยวกับรองเท้าเท่านั้น พบว่ายิ่งคุณมีข้อมูลมากเท่าไร คุณก็ยิ่งสามารถส่ง Email Marketing ถึงกลุ่มลูกค้าได้ละเอียดและตรงกับความต้องการยิ่งขึ้นเท่านั้น 4. การผสาน Email...

Continue reading

ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์! สร้างการตลาดที่ตรงใจลูกค้าด้วย Sage AI จาก Braze

เมื่อปลายปี 2023 ที่ผ่านมา Braze แพลตฟอร์ม Martech ที่มุ่งเน้นในการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้เปิดตัว Sage AI by Braze™ ที่มาช่วยเสริมพลังให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ในการยกระดับการมีส่วนร่วมของลูกค้า ฟีเจอร์ของ Sage AI by Braze™ ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักการตลาดให้สามารถออกแบบแคมเปญการตลาดที่ตรงใจลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่หลากหลายและครอบคลุมแบบเรียลไทม์ ช่วยเร่งการตัดสินใจที่ชาญฉลาดในทุกการเดินทางของลูกค้า เช่น แนะนำสินค้าและบริการให้ตรงกับลูกค้าแต่ละคน การคาดการณ์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่มีความซับซ้อนระดับองค์กร การสร้างแรงบันดาลใจด้านความคิดสร้างสรรค์และการกระตุ้นให้ลูกค้ามีโอกาสและมูลค่าการซื้อที่สูงขึ้น ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแต่ละฟีเจอร์ให้ทุกท่านเห็นภาพกันมากขึ้นเริ่มกันที่ 1. แนะนำสินค้าและบริการที่ใช่สำหรับลูกค้าทุกคน (Recommend the right items for every customer) การเสนอสินค้าหรือบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับลูกค้า เป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้ลูกค้าสูญเสียความไว้วางใจและออกห่างจากแบรนด์ของเราไป ยิ่งเราอยู่ในยุคที่แบรนด์กำลังแข่งขันกันเพื่อสร้างความไว้วางใจและความภักดีให้กับลูกค้า แต่การที่แบรนด์จะสามารถแนะนำสินค้าและบริการให้กับลูกค้าทุกคน เป็นความท้าทายที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงลึกจำนวนมาก ที่มีความซับซ้อนและใช้เวลานาน Braze จึงได้พัฒนาฟีเจอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในการสร้างคำแนะนำสินค้าและบริการที่ส่งไปยังทุกช่องทางได้แบบเฉพาะตัว เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าแบบข้ามช่องทางได้ (Cross-channel Marketing) และยังใช้ในกรณีอื่น ๆ อย่างเช่น แนะนำสินค้าที่ได้รับความนิยมหรือสินค้าที่คุณสนใจล่าสุด โดยนักการตลาดสามารถ: นำเสนอสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าแต่ละรายได้ตรงใจมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและมูลค่าที่สูงขึ้น โปรแกรมถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและพร้อมใช้งานได้ทันที เพียงสร้างร่วมกับ Workflows ของคุณ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ยุ่งยากและซับซ้อน กระตุ้นผลลัพธ์ให้ดีขึ้นด้วยการแนะนำสินค้าหรือบริการที่ตรงใจลูกค้า ส่งผลให้เกิด Conversion สูงสุด แนะนำสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า บวกกับช่วงเวลาที่ใช่ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับการออกสินค้าใหม่ เพื่อต่อยอดและเพิ่มยอดขายจากลูกค้าเดิมอย่างต่อเนื่อง เพิ่มยอดขายจากลูกค้าใหม่และลดอัตราการสูญเสียลูกค้าให้น้อยลง 2. ปรับแต่งให้เฉพาะตัวในทุกก้าวของการเดินทาง (Personalize every step of every journey) เพื่อให้แบรนด์สามารถสร้างประสบการณ์ที่ตรงใจกับลูกค้าได้ ลูกค้าจะต้องรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่และแบรนด์รู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร ซึ่งการใช้เพียงข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ อายุ เพศหรือที่อยู่นั้น ไม่เพียงพอที่จะทำให้คุณโดดเด่นกว่าคู่แข่งได้อีกต่อไป ซึ่งฟีเจอร์ Braze Personalization Paths จะช่วยวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมเชิงลึกและการเดินทางของลูกค้าแต่ละคน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับแต่งแคมเปญการตลาดให้เหมาะกับแต่ละคนอย่างแท้จริง ทั้งข้อความ รูปภาพ โปรโมชัน เวลาในการส่งหรือช่องทางที่ส่งไปหาลูกค้า โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ใช้งานง่าย...

Continue reading

รู้จัก 4 วิธี เก็บข้อมูลลูกค้าแบบมืออาชีพ ขับเคลื่อนการตลาดให้ปัง!

ทุกวันนี้ ‘ข้อมูล’ เรียกได้ว่าเป็นขุมสมบัติอันล้ำค่าสำหรับการทำธุรกิจ เพราะธุรกิจในทุกวันนี้แทบจะต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ ถ้าหากธุรกิจของคุณไม่มีข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ นั่นอาจทำให้ธุรกิจของคุณสูญเสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์หรือเกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ธุรกิจหยุดชะงักจนไปถึงการปิดตัวลงไปเลยก็ได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลในปัจจุบันก็มีหลากหลายแบบหลากหลายวิธี และแต่ละวิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ที่แตกต่างกันออกไป โดยในบทความนี้เราจะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักการเก็บข้อมูลว่ามีกี่วิธี? อะไรบ้าง? พร้อมยกตัวอย่างการเก็บข้อมูลแต่ละวิธีให้ทุกท่านเห็นภาพกันแบบชัด ๆ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน! วิธีของการเก็บข้อมูลในปัจจุบันมี 4 ประเภทดังนี้ ภาพจาก Bloomreach Zero-Party Data (ข้อมูลศูนย์กลาง) เป็นการเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าที่เต็มใจมอบให้กับแบรนด์ผ่านการทำแบบสำรวจ แบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ การตอบคำถามจากการเล่นเกมที่ธุรกิจหรือแบรนด์จัดขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลลูกค้ามา การตั้งค่าความยินยอมก่อนที่จะสมัครเป็นสมาชิกบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชันหรือโปรแกรมสะสมคะแนนต่าง ๆ ตัวอย่าง Zero-Party Data ลูกค้าบอกไซส์และสไตล์เสื้อผ้าที่ต้องการตอนสมัครสมาชิกเพื่อสะสมคะแนนของร้านขายเสื้อผ้า ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องโปรดในช่องทางสตรีมมิ่ง การเลือกประเภทอาหาร “มังสวิรัติ” ในแอปพลิเคชันส่งอาหาร ข้อดีของ Zero-Party Data เป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความแม่นยำ เนื่องจากลูกค้าเป็นผู้ให้ข้อมูลโดยตรง จึงสะท้อนถึงความชอบและความสนใจที่แท้จริงของลูกค้าได้ ความปลอดภัยในการใช้งานสูง เพราะลูกค้ายินยอมและให้สิทธิ์ในการรวบรวมข้อมูลกับแบรนด์อย่างชัดเจน ข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจะช่วยให้คุณสามารถสร้างความไว้วางใจและความภักดีกับลูกค้าได้ง่ายและดียิ่งขึ้น ข้อมูลเชิงลึกจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ Personalized กับลูกค้า เป็นการยกระดับการมีส่วนร่วมให้ดีขึ้น และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดให้กับแบรนด์ของคุณ ข้อเสียของ Zero-Party Data เป็นข้อมูลที่ต้องอาศัยการให้ข้อมูลจากลูกค้า ซึ่งบางครั้งอาจจะได้มาไม่ครบถ้วน แบรนด์ต้องใช้ความพยายามและเวลาในการรวบรวมข้อมูล ต้องสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าแบ่งปันข้อมูลให้กับแบรนด์ให้ได้ คลิก เพื่ออ่านบทความทำความรู้จัก Zero-Party Data แบบเจาะลึก ได้ที่นี่  First-Party Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) เป็นการเก็บข้อมูลที่แบรนด์ได้รวบรวมมาจากลูกค้าโดยตรงผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีด้วยตัวเอง เพื่อให้แบรนด์สามารถระบุตัวตน พฤติกรรม ความต้องการ และประวัติของลูกค้า ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแต่ละคนได้ ตัวอย่าง First-Party Data ประวัติการซื้อสินค้า ยอดชำระ และวันที่ลูกค้าซื้อสินค้าบนช่องทางร้านค้าออนไลน์ พฤติกรรมการเข้าดูเว็บไซต์ ระยะเวลาที่อยู่ในหน้าจอของลูกค้าบนเว็บไซต์บริษัทจองตั๋วเครื่องบิน จำนวนครั้งที่ลูกค้าเปิดแอปฟิตเนสและการคลิกวิธีที่ต้องการออกกำลังกาย ข้อดีของ First-Party Data ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์และมีรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของลูกค้า แบรนด์เป็นเจ้าของข้อมูลนี้โดยตรง สามารถควบคุมวิธีการใช้ข้อมูลได้ตามความต้องการ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการได้รับข้อมูลเหล่านี้มา สามารถนำข้อมูลมาสร้างการตลาดที่เฉพาะตัว แบ่งกลุ่มลูกค้า เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานได้ ข้อเสียของ First-Party Data ต้องให้ความสำคัญกับมาตรการในการรวบรวมข้อมูลจะต้องมีความโปร่งใสและเป็นไปตามกฎระเบียบ แบรนด์ต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน...

Continue reading

รู้จัก Zero-Party Data กลยุทธ์เก็บข้อมูลลูกค้าด้วยความเต็มใจ

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Zero-Party Data คืออะไร? Zero-Party Data คือ ข้อมูลที่ลูกค้าหรือผู้ใช้งานจงใจและเต็มใจแบ่งปันให้กับธุรกิจหรือแบรนด์โดยตรง ทาง Forrester ให้คำจำกัดความไว้แบบนี้ ซึ่งในบางกรณีลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากธุรกิจหรือแบรนด์เพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยนกัน ข้อมูลเหล่านี้สามารถเก็บได้จากการทำแบบสำรวจต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ การทำแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ หรืออาจเป็นคำตอบจากลูกค้าที่ตอบมาเพื่อเล่นเกมที่ธุรกิจหรือแบรนด์นั้น ๆ จัดขึ้น ภาพจาก stackadapt ความสำคัญของ Zero-Party Data ด้วยความที่ในปัจจุบันมีกฏหมายหรือข้อบังคับมากมายเกี่ยวกับการป้องกันหรือความปลอดภัยของข้อมูล เช่น GDPR, CCPA หรือที่ในบ้านเรารู้จักกันในชื่อ PDPA ข้อบังคับเหล่านี้ทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้ามีความยุ่งยากกว่าเมื่อก่อน หรือถ้าคุณต้องการมองหาข้อมูลจากบุคคลที่สามก็ทำให้มีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้หลาย ๆ ธุรกิจ เริ่มหันมาทำ Zero-Party Data กันมากยิ่งขึ้น Zero-Party Data ไม่เพียงแต่จะสร้างความปลอดภัยทางด้านข้อมูลให้กับธุรกิจหรือแบรนด์เท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความภักดีให้กับลูกค้าของคุณอีกด้วย เพราะพวกเขาเชื่อใจได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นสิ่งที่พวกเขาอนุญาตและเต็มใจที่มอบให้คุณแล้ว เพื่อให้คุณมอบประสบการณ์ที่ Personalized กับพวกเขาได้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิด Conversion หรือการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับลูกค้าไปพร้อม ๆ กันได้อีกด้วย ประโยชน์ของ Zero-Party Data มีอะไรบ้าง? 1. ประสบการณ์ที่เฉพาะตัวขั้นสูง (Hyper-Personalized Experiences) จากข้อมูล Zero-Party Data แบรนด์สามารถนำข้อมูลมาต่อยอดในการสร้าง Personalized Marketing โดยปรับแต่งคำแนะนำของสินค้า ข้อความทางการตลาด หรือแม้แต่เนื้อหาต่าง ๆ ให้มีความเฉพาะตัวและเหมาะกับลูกค้าแต่ละคน 2. แคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Effective Marketing Campaigns) เมื่อคุณทำความรู้จักลูกค้าและมีข้อมูลที่เชิงลึกมากขึ้น ช่วยให้คุณสามารถสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้มีผลลัพธ์และมี Conversion ที่สูงขึ้นตามไปด้วย 3. การมีส่วนร่วมของลูกค้าที่ดีขึ้น (Improve Customer Engagement) จากผลสำรวจพบว่า หากแคมเปญการตลาดหรือเนื้อหาของคุณมีความเฉพาะตัวและตรงใจกับลูกค้า ทำให้ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมหรือแบ่งปันข้อมูลให้กับแบรนด์ของคุณมากขึ้นเช่นกัน จุดเด่นของ Zero-Party Data คืออะไร? อยู่บนพื้นฐานความยินยอม (Consent Based) ลูกค้าเต็มใจให้ข้อมูลนี้แก่แบรนด์ของคุณ โดยมักจะคาดหวังถึงประสบการณ์ที่ดีขึ้นหรือผลประโยชน์ส่วนบุคคล มีความแม่นยำสูง...

Continue reading

สรุป 10 Marketing Trends in 2024 จาก Forbes

โลกการตลาดกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ปี ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น และอื่น ๆ  อีกมากมาย ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวทางการทำการตลาดทั้งสิ้น ซึ่งในปี 2024 นี้ ทาง Forbes ได้รวบรวม Marketing Trends ใหม่ ๆ รวมถึงเทรนด์ที่ยังคงได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน ๆ ในการช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจของคุณ และเป็นกลยุทธ์ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับธุรกิจ เพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขันในปี 2024 นี้ได้ จะมีอะไรบ้าง? ไปดูกัน! เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! 1. AI Marketing Automation การผสานเอา AI มาปรับเข้ากับการตลาดหรือที่เรียกว่า AI Marketing จะช่วยยกระดับวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ปรับแต่งประสบการณ์ของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญการตลาดต่าง ๆ ของบริษัท ตัวอย่างเช่น แชทบอทรับส่งข้อความที่ขับเคลื่อนด้วย AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการโต้ตอบกับลูกค้าด้วยการมอบประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัว (Personalization) ซึ่งช่วยสร้างการเชื่อมต่อกับลูกค้าที่แท้จริงมากขึ้น เท่ากับว่านักการตลาดในปี 2024 จะต้องมีทักษะด้าน AI Management ต้องเป็น AI Manager หรือ AI Director ทำหน้าที่บริหารจัดการ AI ในฐานะเป็นหัวหน้าของ AI เพื่อจัดการกระบวนการทำงานระหว่างมนุษย์กับ AI ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด 2. Augmented Reality (AR) & Virtual Reality (VR) เทคโนโลยีสมจริงอย่าง AR และ VR ช่วยให้การเล่าเรื่องแบรนด์สมจริงมากยิ่งขึ้น และเพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ในปี 2024 นี้ คาดหวังว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะประสานเข้ากับความพยายามทางการตลาดเชิงกลยุทธ์ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ร้านค้าแนวเทคโนโลยีสามารถยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าได้ และเพิ่มมูลค่าให้แก่แบรนด์ของพวกเขาได้โดยการเสนอประสบการณ์การลองใช้งานสินค้าแบบเสมือนจริงแก่ลูกค้า 3. Hyper-Personalization ด้วยความก้าวหน้าของ AI และการเรียนรู้ความสามารถของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลให้นักการตลาดสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าจำนวนมากได้ และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงประสบการณ์และปรับแต่งเนื้อหาคอนเทนต์ แคมเปญการตลาด และออกแบบข้อเสนอให้กับลูกค้าได้ตรงใจมากยิ่งขึ้น เช่น มีลูกค้าชื่อว่า...

Continue reading

6 Steps สร้าง Data-Driven Marketing ให้ประสบความสำเร็จ

บทความก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงนิยามของการทำ Data-Driven รวมถึงความสำคัญและข้อดีของการทำ Data-Driven Marketing ไปแล้ว ใครอยากอ่านบทความ ‘ไขกุญแจสู่ความสำเร็จ สร้างการตลาดที่ตรงใจลูกค้าด้วยกลยุทธ์ Data-Driven’ สามารถคลิก ที่นี่ ในวันนี้เราจะมาบอกขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์ Data-Driven Marketing แบบ Step by Step ที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงใจและยังช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อีกด้วย ซึ่งการสร้างกลยุทธ์ Data-Driven Marketing มีด้วยกัน 6 ขั้นตอนดังนี้ เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! 1. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Culture) ก่อนอื่นการที่องค์กรจะสามารถสร้างกลยุทธ์ Data-Driven Marketing ได้นั้น สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับข้อมูล (Data-Driven Organization) ทุกคนในองค์กรต้องตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและเห็นประโยชน์ของการใช้ข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจหรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ การจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลนั้น ต้องได้รับการส่งเสริมจาก CEO หรือฝ่ายบริหาร ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้และวิเคราะห์ข้อมูลในการทำงาน รวมถึงแสดงประสิทธิภาพของการทำ Data-Driven โดยอาจจะเริ่มจากสิ่งที่ทำได้ง่าย รวดเร็วและเห็นผลลัพธ์ได้เร็วที่สุด เพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นว่าการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานด้วยข้อมูลนั้นมีประโยชน์อย่างแท้จริง 2. การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย (Data Objectives) การกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำ Data-Driven Marketing เพื่อให้นักการตลาดทราบว่าเราต้องการใช้ข้อมูลอะไรบ้าง? และเราจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำอะไร? พร้อมกับการตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPIs) เพื่อติดตามความคืบหน้าและประเมินความสำเร็จของการทำ Data-Driven Marketing ว่าตรงกับเป้าหมายที่องค์กรต้องการหรือไม่? ยิ่งเป็นการช่วยให้นักการตลาดสามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยเป้าหมายของการใช้ Data-Driven Marketing สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ เป็นเป้าหมายระยะยาว เช่น การเพิ่มยอดขาย การเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ หรือการลดต้นทุนให้องค์กร เป้าหมายเชิงปฏิบัติการ เป็นเป้าหมายระยะสั้น เช่น การเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ การส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดีย หรือการกระตุ้นยอดขายจากแคมเปญการตลาด 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำ Data-Driven Marketing สามารถเก็บได้จากหลากหลายแหล่ง เช่น ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าที่เราเก็บมาเอง ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ข้อมูลจากอีเมลหรือข้อความบนมือถือ ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย...

Continue reading

กลยุทธ์ Data-Driven สร้างการตลาดที่ตรงใจลูกค้า

ยุคดิจิทัลเป็นยุคที่ข้อมูลเข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนธุรกิจในตอนนี้ (Data-Driven) ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไร? เล็กใหญ่แค่ไหน? คุณก็จำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลเพื่อมาประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการดำเนินการบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ธุรกิจของคุณนั้นเติบโตขึ้น เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Data-Driven คืออะไร ? Data-Driven (การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล) คือ การทำหรือตัดสินใจบางสิ่งบางอย่าง โดยการอ้างอิงและวิเคราะห์จากข้อมูลเป็นหลัก เพื่อให้เราสามารถตัดสินใจหรือได้รับผลลัพธ์ที่ดีขึ้นนั่นเอง การที่ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของลูกค้าเป็นหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงความเอาใจใส่ลูกค้า เพราะว่าคุณให้ความสำคัญและพยายามที่จะเข้าใจลูกค้าของคุณว่าเขาต้องการอะไร ไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่ม ROI ให้กับบริษัท แต่การทำ Data-Driven ยังช่วยให้ธุรกิจทำ Trend Forecasting ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย Data-Driven มีความสำคัญกับนักการตลาดอย่างไร ? Data-Driven เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่นักการตลาดเลือกใช้ข้อมูลจากหลากหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรงหรือผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึกและช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด รวมถึงการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตหรือที่เรียกว่า Data-Driven Marketing นั่นเอง เพราะการที่นักการตลาดจะปล่อยแคมเปญการตลาดออกไปนั้น คงไม่ใช่ลองปล่อยไปก่อนแล้วค่อยมาดูว่าลูกค้าสนใจไหม? แต่ธุรกิจจะต้องศึกษาถึงพฤติกรรม ความต้องการ ปัญหาของลูกค้าของตัวเองให้ดีเสียก่อน ยิ่งถ้าคุณเป็นธุรกิจระดับกลางถึงใหญ่การจะปล่อยแคมเปญการตลาดออกไปสักชิ้น จะต้องใช้ทั้งเวลา แรงและเงินทุนที่มหาศาล ถ้าแคมเปญการตลาดนั้นไม่ตอบโจทย์ลูกค้า คุณอาจจะไม่ได้เสียแค่แรง เวลาและเงินทุนเพียงเท่านั้น แต่อาจจะสูญเสียลูกค้าคนสำคัญไปด้วย นี่คือสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าทำไมการทำ Data-Driven Marketing จึงมีความสำคัญกับนักการตลาดและธุรกิจของคุณ ข้อมูล Data-Driven Marketing มีอะไรบ้าง ? 1. ข้อมูลจากเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน (Web & Mobile App Analytics) คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์และแอปพลิเคชันจากการติดตาม MAU (Monthly Active User) ว่ามีลูกค้าเข้าชมเว็บไซต์หรือเข้าแอปของคุณต่อเดือนกี่คน และสามารถเจาะลึกลงไปได้ว่าลูกค้าของคุณมาจากช่องทางไหน หน้าเพจใดที่ลูกค้าใช้เวลามากที่สุด และเมื่อใดที่พวกเขาออกจากหน้าเว็บไซต์และแอปของคุณ 2. ข้อมูลจากอีเมลและข้อความบนมือถือ (Email & Mobile Messaging Analytics) คือ การเก็บข้อมูลลูกค้าจากการส่งข้อความโดยตรงถึงลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการติดต่อกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ เพราะปรับแต่งข้อความให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น Email, Message หรือ Push Notification ที่จะช่วยระบุแนวโน้มความสนใจของลูกค้าได้จาก Open rates, Click-through rates, Conversion...

Continue reading

เจาะลึก Framework ของ Braze ซอฟต์แวร์ Martech หนึ่งเดียวที่ได้อยู่ใน Nasdaq

Braze แพลตฟอร์มการตลาด (Martech) แบบครบวงจรที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วมของลูกค้า รวมถึงสร้างแคมเปญการตลาดแบบไร้รอยต่อได้ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะบนมือถือ (แอป) เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย อีเมล ข้อความและอื่น ๆ ด้วยเครื่องมือและฟีเจอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ทีมการตลาดโดยเฉพาะ ดังนั้นแคมเปญการตลาดของคุณจะมีประสิทธิภาพและเพิ่มการมีส่วนร่วมกับลูกค้าของคุณได้ดียิ่งขึ้น โดยในบทความนี้เราจะพาทุกท่านมาเจาะลึกถึงกระบวนการทำงาน Marketing Journey Framework ของ Braze ว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไร? และจะช่วยตอบโจทย์การทำงานของทีมการตลาดอย่างไรได้บ้างแบบ Step by step แพลตฟอร์ม Braze จะแบ่ง Marketing Journey ของลูกค้าเป็น 3 ส่วน ด้วยกัน ได้แก่ https://www.dmit.co.th/wp-content/uploads/2022/11/Screen-Recording-2565-11-23-at-09.56.56-1.mov 1. Listen (รับฟังข้อมูลลูกค้า) รับฟังข้อมูลลูกค้าพร้อมสร้างฐานข้อมูล First Party Data ที่มาจากธุรกิจของคุณเองโดยตรง ซึ่งสามารถติดตามและเก็บข้อมูลของลูกค้าได้จากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะบนมือถือ (แอป) เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย อีเมล และอื่น ๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคนได้แบบเรียลไทม์ Integrations : ผสานฐานข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ ที่คุณมารวมไว้ในที่เดียวและสามารถแชร์ข้อมูลระหว่างแพลตฟอร์มกันได้อย่างอิสระ APIs และ SDKs : ช่วยในการติดตามและรวบรวมข้อมูลของลูกค้าขณะเวลาใช้งานแบบเรียลไทม์และเชื่อมต่อข้อมูลลูกค้ากับแพลตฟอร์มที่ใช้งานอยู่ 2. Understand (ทำความเข้าใจลูกค้า) นำข้อมูลจากฐานข้อมูล First Party Data ที่เราเก็บมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าและความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทีมการตลาดสามารถสร้างแคมเปญการตลาดที่ใช่และตรงใจลูกค้ามากที่สุด Dynamic Segmentation : สามารถแบ่งและจัดกลุ่มลูกค้าอัตโนมัติโดยอิงจากฐานข้อมูล เพื่อสร้างกลุ่มลูกค้าที่มีคุณสมบัติหรือพฤติกรรมที่เหมือนกัน โดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ ที่คุณสามารถกำหนดได้เอง Journey Orchestration (Canvas Flow) : ฟีเจอร์ที่ช่วยให้ทีมการตลาดสร้างและออกแบบแคมเปญการตลาดแบบอัตโนมัติตาม Customer Journey ได้แบบง่าย ๆ ใน ในรูปแบบของ Multi-Channel Campaign พร้อมทั้งยังมีฟีเจอร์ที่ทีมการตลาดต้องการอย่าง A/B Testing...

Continue reading